ข้อถกเถียงเรื่องวัคซีน

James Gillray, The Cow-Pock—or—the Wonderful Effects of the New Inoculation! (1802)

ความลังเลในการรับวัคซีน (อังกฤษ: vaccine hesitancy) หมายถีงความลังเลไม่แน่ใจ หรือการต่อต้านการรับวัคซีน และรวมไปถึงการลังเลหรือต่อต้านไม่ให้เด็กในความดูแลของตัวเองรับวัคซีนด้วย องค์การอนามัยโลกได้ประกาศเมื่อ พ.ศ. 2562 ว่าความลังเลในการรับวัคซีนเป็นภัยคุกคามระดับโลกทางสาธารณสุขในสิบอันดับแรก[1][2] ข้อถกเถียงใดๆ ที่ต่อต้านการเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนนั้นถูกแย้งตกไปหมดแล้วด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีความเห็นพ้องกันอย่างท่วมท้นว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ[3][4][5][6]

ความลังเลนี้เป็นผลมาจากการถกเถียงกันในสังคมเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้วัคซีน ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้านจริยธรรม และด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ความลังเลนี้มีมาตั้งแต่สมัยที่มีการคิดค้นวัคซีนขึ้นเป็นครั้งแรก และมีขึ้นมาตั้งแต่ก่อนจะมีคำว่าวัคซีนถึงประมาณ 80 ปี สมมติฐานที่ถูกยกขึ้นมาเป็นเหตุผลโดยกลุ่มต่อต้านการใช้วัคซีนนั้นแตกต่างไปตามแต่ยุคสมัย[7] การลังเลที่จะรับวัคซีนนี้บ่อยครั้งกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และทำให้มีผู้เสียชีวิต[8][9][10][11][12][13]

มีการเสนอข้อกฎหมายที่สนับสนุนการบังคับให้บุคคลต้องรับวัคซีนอยู่เป็นระยะๆ ตัวอย่างเช่น California Senate Bill 277 ของรัฐแคลิฟอร์เนีย และโครงการ No Jab No Pay ของประเทศออสเตรเลีย ทั้งหมดนี้ล้วนถูกคัดค้านอย่างต่อเนื่องโดยกลุ่มนักเคลื่อนไหวต่อต้านการใช้วัคซีน[14][15][16] ซึ่งอาจออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการบังคับให้รับวัคซีนด้วยเหตุผลเกี่ยวกับผลเสียของการใช้วัคซีน ต่อต้านด้วยเหตุผลเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ หรือต้องการลดความน่าเชื่อถือของการใช้วัคซีนในสายตาของสังคมส่วนใหญ่ก็ได้[10][17][18][19]

อ้างอิง

  1. "Ten health issues WHO will tackle this year". Who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-01-19.
  2. PM, Aristos Georgiou (2019-01-15). "The anti-vax movement has been listed by WHO as one of its top 10 health threats for 2019" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-01-16.
  3. "Communicating science-based messages on vaccines". Bulletin of the World Health Organization. 95 (10): 670–71. October 2017. doi:10.2471/BLT.17.021017. PMC 5689193. PMID 29147039.
  4. "Why do some people oppose vaccination?". Vox. สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.
  5. Ceccarelli L. "Defending science: How the art of rhetoric can help". The Conversation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.
  6. U.S. Department of Health and Human Services. "Vaccines.gov". Vaccines.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-08-05.
  7. Gerber JS, Offit PA (February 2009). "Vaccines and autism: a tale of shifting hypotheses". Clinical Infectious Diseases. 48 (4): 456–61. doi:10.1086/596476. PMC 2908388. PMID 19128068.
  8. "Frequently Asked Questions (FAQ)". Boston Children's Hospital. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2013. สืบค้นเมื่อ February 11, 2014.
  9. Phadke VK, Bednarczyk RA, Salmon DA, Omer SB (March 2016). "Association Between Vaccine Refusal and Vaccine Preventable Diseases in the United States: A Review of Measles and Pertussis". JAMA. 315 (11): 1149–58. doi:10.1001/jama.2016.1353. PMC 5007135. PMID 26978210.
  10. 10.0 10.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ wolfesharp
  11. Poland GA, Jacobson RM (January 2011). "The age-old struggle against the antivaccinationists". The New England Journal of Medicine. 364 (2): 97–99. doi:10.1056/NEJMp1010594. PMID 21226573.
  12. Wallace A (2009-10-19). "An epidemic of fear: how panicked parents skipping shots endangers us all". Wired. สืบค้นเมื่อ 2009-10-21.
  13. Poland GA, Jacobson RM (March 2001). "Understanding those who do not understand: a brief review of the anti-vaccine movement". Vaccine. 19 (17–19): 2440–45. doi:10.1016/S0264-410X(00)00469-2. PMID 11257375.
  14. "The Long History of America's Anti-Vaccination Movement". DiscoverMagazine.com. สืบค้นเมื่อ 2019-02-02.
  15. Young Z (2018-11-21). "How anti-vax went viral". สืบค้นเมื่อ 2019-02-02.
  16. "How the anti-vaxxers are winning in Italy" (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-28. สืบค้นเมื่อ 2019-02-02.
  17. Chang J (12 July 2017). "'Civil liberties' at center of vaccination debate in Texas". Mystatesman. Austin American-Statesman. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-13. สืบค้นเมื่อ 2019-07-27.
  18. Elliman D, Bedford H (23 March 2014). "In Britain, Vaccinate With Persuasion, not Coercion". The New York Times.
  19. "Anti-vaxxers have embraced social media. We're paying for fake news with real lives" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2017-06-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-05. สืบค้นเมื่อ 2019-02-02.

แม่แบบ:Conspiracy theories

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!