จูบแรกของคู่สามีภรรยา
การแสดงความรักในที่สาธารณะ (อังกฤษ : public displays of affection, PDA ) เป็นการแสดงความใกล้ชิดทางกายให้คนอื่นเห็น ความเหมาะสมในการแสดงความรักแตกต่างกันไปในแต่ละบริบทและวัฒนธรรม การแสดงความรักในที่สาธารณะ เช่น บนถนน มีโอกาสถูกวิจารณ์มากกว่าการกระทำแบบเดียวกันในพื้นที่ส่วนตัวที่มีแต่คนจากวัฒนธรรมเดียวกัน บางองค์กรมีกฎจำกัดหรือห้ามการแสดงความรักในที่สาธารณะ
การแสดงความรักทางกาย (physical affection) ถูกให้ความหมายว่าเป็น "การแตะต้องเพื่อแสดงความรู้สึกรักหรือเพื่อให้ผู้รับรู้สึกถึงความรัก"[ 1]
ธรรมเนียม
Get a room (ไปเปิดห้องเถอะ ) เป็นประโยคที่มักถูกใช้เมื่อคนไม่ยอมรับหลังเห็นสิ่งที่พวกเขาคิดว่าเป็นการแสดงความรักในที่สาธารณะที่มากเกินไป[ 2]
ผลกระทบต่อความสัมพันธ์
นักแสดงชาวบราซิล Bruno Gagliasso และ Giovanna Ewbank คูสามีภรรยากอดและจูบกันในที่สาธารณะขณะเต้น พ.ศ. 2553
หลายงานวิจัยพบว่าการแสดงความรักในที่สาธารณะเชื่อมโยงกับผลบวกในความสัมพันธ์แบบโรแมนติก ตัวอย่างเช่น มีการเชื่อมโยงกับการก่อให้เกิดความสัมพันธ์แบบโรแมนติกและความใกล้ชิดทางจิต[ 3] [ 4] การแสดงความรักทางกายถูกแยกเป็นเจ็ดประเภท รวมถึง การจับมือ การโอบ การนวด การสัมผัสด้วยความรักใคร่ การจูบบนหน้า การกอด และการจูบปาก[ 1] ห้าในเจ็ดพฤติกรรมนี้ ยกเว้น การสัมผัสและการจับมือถูกเชื่อมโยงอย่างมีนัยสำคัญกับความพอใจในความสัมพันธ์และในคู่ครอง
สื่อสังคม
การแสดงความรู้สึกต่อคนอื่นเคยจำกัดอยู่เพียงการเขียนจดหมาย การคุยทางโทรศัพท์ หรือการพูดคุยตัวต่อตัว ในโลกปัจจุบัน เว็บไซต์สื่อสังคม เช่น เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ กำลังเติบโต โดยเฟสบุ๊กมีผู้ใช้จำนวน 1.7 พันล้าน และทวิตเตอร์มีราวห้าร้อยล้านผู้ใช้[ 5] งานวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ผ่านเฟสบุ๊กพบว่า เมื่อคนสองคนที่สนใจในกันและกันใช้เฟสบุ๊กเป็นประจำทั้งคู่ ความสัมพันธ์ของทั้งสองเติบโตอย่างรวดเร็วมากกว่าหากไม่ใช่สื่อสังคม หลังคนสองคนพบกันและสนใจกันและกัน คนหนึ่งหรือทั้งสองอาจไปที่หน้าเฟสบุ๊กของอีกคนเพื่อหาข้อมูล เช่น รูปถ่าย สถานภาพทางความสัมพันธ์ และความสนใจ เมื่อความสัมพันธ์เริ่มขึ้น คู่รักบางคู่อาจเผยแพร่ความสัมพันธ์โดยการโพสข้อความหรือรูป รวมทั้งการตั้งเปลี่ยนสถานะความสัมพันธ์ของตน[ 6]
วิธีที่คนแสดงความรักผ่านเว็บสื่อสังคมอาจเป็นตัวชี้ความมั่นคงของความสัมพันธ์และบุคลิกภาพ การสื่อสารอย่างสม่ำเสมอกับคู่รักผ่านสื่อสังคมรูปแบบต่าง ๆ เป็นตัวชี้ถึงความก้าวหน้าในความสัมพันธ์ ในขณะที่ความจำกัดในการสื่อสารเป็นตัวชี้ของความเหินห่างและความสัมพันธ์ที่ถดถอย[ 7] อีกงานวิจัยแสดงว่าคนที่เปิดเผยสถานะความสัมพันธ์และแสดงความรักโดยการโพสเกี่ยวกับกิจกรรมร่วมกับคู่รักของตนหรือความรู้สึกที่มีต่อเขา/เธอ มักชอบแสดงความเป็นเจ้าของกับคู่ของตน[ 8]
การแสดงความรักในที่สาธารณะของวัยรุ่น
เป็นที่รู้กันว่าความสัมพันธ์นอกเหนือครอบครัวมีความสำคัญมากขึ้นในช่วงวัยรุ่น แม้นักสังคมวิทยาจะทำการวิจัยเกี่ยวกับพื้นฐานของกระบวนการ[ 9] [ 10] งานวิจัยและการตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของวัยรุ่นส่วนใหญ่กระทำโดยนักจิตวิทยาพัฒนาการ
ตารางด้านล่าง[ 11] แสดงถึงคุณภาพและบริบทของการแสดงความรักในที่สาธารณะในวัยรุ่นซึ่งอยู่ในความสัมพันธ์กับผู้เชื้อชาติเดียวกันและต่างเชื้อชาติ
พฤติกรรม
อัตราร้อยละ
จับมือ
89.90
บอกว่าพวกเขาเป็นคู่รัก
85.76
ออกไปข้างนอกตามลำพัง
78.00
ออกไปข้างนอกเป็นกลุ่ม
78.40
พบผู้ปกครองของกันและกัน
75.91
ให้ของขวัญกันและกัน
72.08
ได้รับของขวัญจากคู่
76.25
บอกรัก
82.05
ถูกบอกรัก
79.69
คิดว่าพวกเขาเป็นคู่รักกัน
90.88
จูบ
91.56
สัมผัสร่างกายใต้เสื้อผ้าหรือขณะเปลือย
62.78
สัมผัสอวัยวะเพศของกันและกัน
53.68
ร่วมเพศ
42.40
การแสดงความรักในที่สาธารณะระหว่างคนต่างเชื้อชาติ
ทัศนคติทางตรงละทางอ้อมต่อความสัมพันธ์ต่างเชื้อชาติมีผลกระทบอย่างมากต่อการตีความเกี่ยวกับการแสดงความรักในที่สาธารณะในบริบทนี้ ทัศนคติเหล่านี้เกิดมาจากหลายปัจจัยรวมทั้งการติดต่อสื่อสารทางสังคม ตัวอย่างเช่น การมีส่วนร่วมโดยส่วนตัวและการติดต่อแบบขยาย (ตัวแทนสื่อ) กับความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติและระหว่างคนผิวขาวและผิวสีถูกโยงเข้ากับมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติ[ 12] ดังนั้น ประสบการณ์ส่วนตัวและการสัมผัสกับคู่รักต่างเชื้อชาติมักเกี่ยวข้องกับทัศนคติที่ดี ผลการวิจัยนี้สนับสนุนสมมติฐานการสัมผัส (contact hypothesis) ซึ่งกล่าวว่าความสัมผัสระหว่างกลุ่มต่างเชื้อชาติจะลดความเอนเอียงและส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างเชื้อชาติ[ 13]
เนื่องด้วยแนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติที่คนอื่นมีต่อความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติ คู่รักต่างเชื้อชาติหลายคู่อาจมีกลยุทธ์บางอย่างเพื่อลดการถูกประนามและการเหยียด งานวิจัยชี้ว่าคู่รักวัยรุ่นต่างเชื้อชาติมักไม่ค่อยร่วมกิจกรรมทั้งในที่ส่วนตัวและในที่สาธารณะเมื่อเทียบกับคู่รักที่มีเชื้อชาติเดียวกัน[ 14] พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสองกลุ่มนี้ในการจับมือในที่สาธารณะซึ่งคู่รักต่างเชื้อชาติไม่ค่อยทำกัน ทว่าไม่พบความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบการแสดงความรักในที่ส่วนตัว สิ่งนี้ชี้ว่าคู่รักต่างเชื้อชาติอาจกลัวที่จะโดนตัดสินด้านลบในที่สาธารณะ ทำให้พวกเขายับยั้งที่จะแสดงความรักเมื่อเทียบกับคู่รักที่มีเชื้อชาติเดียวกัน[ 15]
การแสดงความรักในที่สาธารณะระหว่างคนเพศเดียวกัน
ภาพบน: หญิงเปลือยช่วงบนสองคนกอดและจูบกันในที่สาธารณะระหว่าง
Dyke March ของหญิงรักร่วมเพศใน
นครนิวยอร์ก .
ภาพล่าง: หญิงสองคนจาก
กองทัพเรือสหรัฐ ซึ่งอยู่ในความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกำลังจูบกันหลังไม่ได้พบกันเป็นเวลานาน
การแสดงความรักระหว่างคนเพศเดียวกันอาจสื่อหรือไม่สื่อถึงรักร่วมเพศตามแต่บริบททางวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น การแสดงความรักระหว่างคนเพศเดียวกันเป็นที่ยอมรับทางสังคมในวัฒนธรรมแอฟริกันจำนวนหนึ่ง[ 16] ทว่าในประเทศอื่น เช่น สหรัฐอเมริกา และโปรตุเกส อาจถือว่าเป็นตัวบ่งชี้ของรักร่วมเพศ การแสดงความรักในที่สาธารณะมักขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมซึ่งมีผลต่อมุมมองเกี่ยวกับการแสดงความรักในที่สาธารณะระหว่างคนเพศเดียวกัน
การแสดงความรักร่วมเพศในที่สาธารณะไม่เป็นที่ยอมรับในหลายวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น ในประเทศโปรตุเกส บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) จะกระทำตามแบบที่เป็นที่ยอมรับในอุดมคติร่วมสมัยและกำหนดการทางการเมืองและเศรษฐกิจเท่านั้น คนรักร่วมเพศ ไม่ค่อยแสดงความรักในที่สาธารณะเนื่องจากสังคมของพวกเขาวิจารณ์การกระทำเหล่านั้นอย่างรุนแรง พวกเขาคิดว่าการที่พวกเขาทำตามสิ่งที่สังคมยอมรับเป็นการป้องกันตนเองจากการถูกจัดว่าเป็นพวกไม่ปกติ แปลก หรือนอกคอก[ 17] แม้ประเทศโปรตุเกสจะอนุญาตให้คนเพศเดียวกันแต่งงานกันได้ตามกฎหมายตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 ส่วนใหญ่เหล่าชาว LGBT ก็ยังมักไม่แสดงความรักในที่สาธารณะ รายละเอียดนี้อาจสื่อว่าการยอมรับการแต่งงานเพศเดียวกันของประเทศโปรตุเกสเป็นผลมาจากการที่ชาว LGBT ไม่เผยแพร่เรื่องทางเพศของพวกเขา ไม่ใช่เพราะว่ามหาชนในโปรตุเกสยอมรับสิ่งเหล่านี้มากกว่าที่อื่น แม้บุคคลรักร่วมเพศจะดูเหมือนรู้สึกครึ่ง ๆ กลาง ๆ กับการที่ต้องถูกจำกัดให้แสดงความรักในที่ส่วนตัวเท่านั้น สิ่งเหล่านี้เหมือนเกิดขึ้นจากความกลัวที่จะถูกมองว่าแปลกมากกว่าที่จะเกิดจากความเคารพต่อความเชื่อและทัศนคติทางการเมืองของสังคม
หลายงานวิจัยศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติทางสังคมต่อรักร่วมเพศ ในหลายปัจจัย งานวิจัยหนึ่งพบว่าบุคคลรักต่างเพศมีทัศนคติเชิงลบต่อบุคคลรักร่วมเพศซึ่งมีเพศเดียวกันมากกว่า นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ชายมีทัศนคติทางลบต่อผู้หญิงรักร่วมเพศน้อยกว่า และผู้หญิงรักร่วมเพศมักได้รับการยอมรับโดยรวมและทางหน้าที่ในสังคมมากกว่า[ 18]
ทั่วโลก
ความเลื่อมใสในลัทธิหรือศาสนา
ความเลื่อมใสในลัทธิหรือศาสนาเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อรูปแบบการพัฒนาความสัมพันธ์แบบโรแมนติกในแต่ละประเทศ[ 19] รายงานจากผู้ตอบแบบสอบถามพบว่าระดับความเลื่อมใสที่มากขึ้นไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับจำนวนคู่ครอง อย่างไรก็ตามผู้ตอบที่มีความเลื่อมใสในศาสนารายงานความใกล้ชิดต่อคู่ครองในระดับต่ำกว่า เห็นได้ว่าความเลื่อมใสในศาสนามีผลต่อการแสดงความรักโดยทั่วไป นอกจากนี้ศาสนายังเชื่อมโยงกับค่านิยมแบบอนุรักษ์นิยมที่อาจมีผลต่อการแสดงความรักในที่สาธารณะของผู้เยาว์
ความเลื่อมใสอาจส่งผลในสองทาง ชุมชนที่มีความเลื่อมใสในศาสนามักแบ่งแยกออกเป็นกลุ่ม ๆ ทั่วโลก และคนที่มีความเชื่ออันแรงกล้าในศาสนามักไม่ร่วมเพศหรือดูใจกับคนอื่นเพราะศีลธรรมทางศาสนา ในหลายศาสนาทั่วโลก ศาสนาเป็นตัวนำมุมมองทางวัฒนธรรมของการแสดงความรักในที่สาธารณะ และอาจทำให้เกิดการประณามบนฐานของกฎหมายศาสนา เช่น กฎชะรีอะฮ์ ชุดความคิดอิสลามแบบอนุรักษ์นิยม โดยเฉพาะที่อยู่บนฐานของ Salafism ห้ามไม่ให้แสดงความรักในที่สาธารณะ[ 20]
ยุโรปและอเมริกาเหนือ
ในโลกตะวันตกส่วนใหญ่ เช่น ทวีปยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา และสหรัฐอเมริกา เป็นปกติที่จะเห็นผู้คนจับมือ กอด และบางครั้งจูบกันในที่สาธารณะ ทว่ามักไม่เป็นที่ยอมรับในการแสดงที่มากเกินไป เช่น การร่วมเพศ การจูบพบมักพบได้ทั่วไปในสถานที่เที่ยวกลางคืนของผู้ใหญ่ เช่น ไนท์คลับ[ 21]
จีน
ในขนบธรรมเนียมแบบจีน ย่าหรือยาย แม่ และพี่สาวอมอวัยวะเพศ เพื่อทำให้ทารกชายสงบลง[ 22] [ 23] นอกจากนี้ยังมีการรายงานว่าแม่ชาวจีนสมัยใหม่อมอวัยวะเพศของลูกชายที่กำลังใกล้ตายเพื่อเป็นการแสดงความรักและเป็นการพยายามช่วยชีวิต เพราะพวกเขาเชื่อว่าคนเหล่านั้นจะตายเมื่อองคชาตแตะกับลำตัว[ 24] [ 25] [ 26]
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 มารดาจากชนเผ่าชาวแมนจู เหนือแถบแม่น้ำอามูร์ เคยแสดงความรักต่อลูกชายด้วยการอมอวัยวะเพศของทารกชาย ขณะคิดว่าการจูบกันในที่สาธารณะเป็นสิ่งน่าขยะแขยง[ 27]
อินเดีย
การแสดงความรักในที่สาธารณะไม่เป็นที่ยอมรับในประเทศอินเดีย การจูบและการกอดเป็นสิ่งต้องห้าม อย่างไรก็ตามการสัมผัสทางกายโดยเพศเดียวกันนั้นไม่เป็นไร ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญาอินเดียหมวดที่ 294 (section 294 of the Indian Penal Code) การทำให้ผู้อื่นรำคาญโดย "การกระทำอนาจาร" นับเป็นความผิดอาญา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน เสียค่าปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ[ 28] ด้วยความที่กฎข้อนี้ไม่ได้ให้ความหมายของ "การกระทำอนาจาร" อย่างละเอียด ทำให้ตำรวจและศาลขั้นต้นมักใช้เพื่อคุกคามคู่รัก เช่น ใน พ.ศ. 2550 เมื่อนักแสดง ริชาร์ด เกียร์ จูบ ศิลปา เศฏฏี ในกิจกรรมเพิ่มความตระหนักโรคเอดส์ที่เมืองนิวเดลี เขาได้โดนแจ้งจับโดยศาลอินเดีย ผู้คนเผาหุ่นจำลองของเกียร์และเศฏฏีเพราะพวกเขาโอบกอดกันในลักษณะ "ยั่วยุทางเพศ" ในที่สาธารณะ[ 29] กรณีการคุกคามคู่รักเหล่านี้ถูกวิจารณ์อย่างหนักโดยวัยรุ่นอินเดียที่รู้สึกว่าควรเปลี่ยนแปลงแนวคิดของการคบหาและแสดงความรักในที่สาธารณะ ในอดีตกลุ่มที่ทำตัวเป็นศาลเตี้ยอาจเป็นอันตรายต่อคู่รักที่ฉลองวันวาเลนไทน์ อย่างไรก็ตาม จำนวนคู่รักที่ฉลองวันวาเลนไทน์ได้เพิ่มขึ้นอย่างมากทำให้การโจมตีเหล่านี้ไม่ได้ผลในการกีดกันคู่รักอีกต่อไป[ 30] ความผ่อนผันในบรรทัดฐานทางสังคมของคนยุคก่อนทำให้การแสดงความรักในที่สาธารณะเป็นเรื่องปกติมากขึ้นในคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ในรัฐเกรละ มีการรณรงค์การกอดและจูบในที่สาธารณะ (ภายใต้ชื่อ Kiss Of Love) เปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เพื่อประท้วงต่อต้านตำรวจทางศีลธรรม (moral police)[ 31]
อินโดนีเซีย
ประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศซึ่งมีพลเมืองมุสลิมหนาแน่นที่สุดในโลก ข้อปฏิบัติของมุสลิมและประเพณีอิสลามขยายตัวขึ้นในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้การแสดงความรักในที่สาธารณะเป็นดั่งข้อห้าม การจูบอย่างลึกซึ้งหรือรุนแรงอาจเป็นผลให้จำคุกถึงห้าปีหรือปรับสูงสุด 250 ล้านรูเปีย (29,000 ดอลลาร์สหรัฐ)[ 32]
ญี่ปุ่น
โดยทั่วไป การแสดงความรักในที่สาธารณะพบได้ไม่บ่อยนักในประเทศญี่ปุ่น นับเป็นปกติสำหรับครอบครัวญี่ปุ่นที่จะก้มหัวให้กันและกันเป็นการทักทายหรือบอกลา วัฒนธรรมญี่ปุ่นมักมีความอับอายเป็นส่วนประกอบหลักที่ส่งผลต่อพฤติกรรม และคนมักพยายามไม่ให้เสียหน้า ด้วยเหตุนี้ทำให้คนญี่ปุ่นสนใจอย่างลึกซึ้งว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรกับตน รวมถึงเพื่อน เพื่อนร่วมงาน คนในครอบครัว หรือแม้กระทั้งคนแปลกหน้า วัฒนธรรมมีผลกระทบโดยตรงต่อการแสดงความรักในที่สาธารณะ ทำให้ไม่บ่อยนักที่จะมีการแสดงความรักมากกว่าการจับมือในที่สาธารณะ[ต้องการอ้างอิง ]
ตะวันออกกลาง
ประเทศตะวันออกกลาง เช่น อิหร่าน อิรัก ซาอุดีอาระเบีย ซูดาน จอร์แดน และอียิปต์ มีวัฒนธรรมมุสลิมเป็นหลัก แม้การแสดงความรักในที่สาธารณะจะถือว่าไม่เหมาะสมในวัฒนธรรมและประเพณีพื้นเมือง แต่ก็แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ กฏความเหมาะสมไม่ยอมรับการแสดงความรักในที่สาธารณะ บทลงโทษอาจสาหัสขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ นักท่องเที่ยวไปยังดูไบเคยถูกจำคุกเป็นเวลานานจากการจูบในที่สาธารณะ ใน พ.ศ. 2552 คู่รักชาวอังกฤษถูกจำคุกเป็นเวลาสามเดือนและส่งกลับประเทศหลังจูบในที่สาธารณะ คู่รักที่ยังไม่แต่งงานชาวอินเดียถูกจำคุกเป็นเวลาหนึ่งปีหลังกอดและจูบในรถแท็กซี่[ 33] คนขับรถแท็กซี่ขับพาคู่รักตรงไปยังสถานีตำรวจ การจูบถือเป็น "การกระทำผิดต่อความหมาะสมในที่สาธารณะ"
ในประเทศอิหร่าน การจับมือพบได้บ่อยขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่และในหมู่คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่[ 34]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 Gulledge, A. K.; Gulledge, M. H.; Stahmann, R. F. (2003). "Romantic physical affection types and relationship satisfaction". The American Journal of Family Therapy . 31 (4): 233–242. doi :10.1080/01926180390201936 .
↑ The Michigan Journal - Volume 25, Issue 18 - Page 7, 1996
↑ Diamond, L. M. (2000). "Are friends as good as lovers? Attachment, physical affection, and effects on cardiovascular arousal in young women's closest relationships". Dissertation Abstracts International, Section B the Sciences and Engineering . 60 : 4272.
↑ Mackey, R. A.; Diemer, M. A.; O'Brien, B. A. (2000). "Psychological intimacy in the lasting relationships of heterosexual and same-gender couples". Sex Roles . 43 (3/4): 201–227. doi :10.1023/A:1007028930658 .
↑ "STATS | Twitter Company Statistics – Statistic Brain" . www.statisticbrain.com . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-08-31. สืบค้นเมื่อ 2018-02-04 .
↑ Fox, J.; Warber, K. M.; Makstaller, D. C. (2013). "The role of Facebook in romantic relationship development: An exploration of Knapp's Relational Stage Model". Journal of Social and Personal Relationships . 30 (6): 771–794. doi :10.1177/0265407512468370 .
↑ Sosik, V. S.; Bazarova, N. N. (2014). "Relational maintenance on social network sites: How Facebook communication predicts relational escalation". Computers in Human Behavior . 35 : 124–131. doi :10.1016/j.chb.2014.02.044 .
↑ Bowe, G. (2010). "Reading romance: The impact Facebook rituals can have on a romantic relationship". Journal of Comparative Research in Anthropology and Sociology . 1 : 61–77.
↑ Coleman, J. S. (1961). The Adolescent Society: The Social Life of the Teenager and its Impact on Education . Westport, CT: Greenwood.
↑ Waller, W. (1937). "The rating and dating complex" . American Sociological Review . 2 (5): 727–734. doi :10.2307/2083825 . JSTOR 2083825 .
↑ Vaquera, E.; Kao, G. (2005). "Private and Public Displays of Affection Among Interracial and Intra-Racial Adolescent Couples". Social Science Quarterly . 86 (2): 484–508. doi :10.1111/j.0038-4941.2005.00314.x .
↑ Lienemann, B. A.; Stopp, H. T. (2013). "The association between media exposure of interracial relationships and attitudes toward interracial relationships". Journal of Applied Social Psychology . 43 : 398–415. doi :10.1111/jasp.12037 .
↑ Allport, G. W. (1954). The nature of prejudice . Reading: Addison-Wesley.
↑ Vaquera, E.; Kao, G. (2005). "Private and public displays of affection among interracial and intra-racial adolescent couples". Social Science Quarterly . 86 (2): 484–508. doi :10.1111/j.0038-4941.2005.00314.x .
↑ Datzman, J.; Gardner, C. B. (2008). "In My Mind, We Are All Humans". Marriage and Family Review . 30 : 5–24.
↑ Peek, Philip M. (2011). Twins in African and Diaspora Cultures: Double Trouble, Twice Blessed . Indiana University Press. p. 221. ISBN 0253223075 .
↑ de Oliveira, J. M.; Costa, C. G.; Nogueira, C. (2013). "The Workings of Homonormativity: Lesbian, Gay, Bisexual, and Queer Discourses on Discrimination and Public Displays of Affections in Portugal". Journal of Homosexuality . 60 (10): 1475–1493. doi :10.1080/00918369.2013.819221 .
↑ Whitley, B. E. (1988). "Sex Differences in Heterosexuals' Attitudes Toward Homosexuals: It Depends Upon What You Ask" . Journal of Sex Research . 24 : 287–291. doi :10.1080/00224498809551426 .
↑ Bearman, P. S.; Bruckner, H. (2001). "Promising the Future: Virginity Pledges and First Intercourse" . American Journal of Sociology . 106 (4): 859–912. doi :10.1086/320295 .
↑ Etzioni, Amitai (2012). Hot Spots . p. 152 .
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-07-05. สืบค้นเมื่อ 2018-02-04 .
↑ Avodah K. Offit (1995). Night Thoughts: Reflections of a Sex Therapist . Jason Aronson, Incorporated. p. 63. ISBN 1461629756 .
↑ Irwin M. Marcus; John J. Francis (1975). Masturbation: from infancy to senescence . International Universities Press. p. 371. ISBN 9780823631506 .
↑ A. Kleinman; T.Y. Lin (2013). Normal and Abnormal Behavior in Chinese Culture: Volume 2 of Culture, Illness and Healing . Springer Science & Business Media. p. 375. ISBN 9789401749862 .
↑ C. Michele Thompson (2015). Vietnamese Traditional Medicine: A Social History . NUS Press. p. 375. ISBN 9971698358 .
↑ Martin Roth; Russell Noyes (1988). Handbook of Anxiety: Biological, clinical, and cultural perspectives . Elsevier. p. 314. ISBN 9780444904751 .
↑ Shirokogorov, Sergeĭ Mikhaĭlovich (1924). Social Organization of the Manchus: A Study of the Manchu Clan Organization . Royal Asiatic Society. p. i, 1-6, 122.
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-01-05. สืบค้นเมื่อ 2018-02-04 .
↑ "Kiss a miss: How much display of public affection is too much?" . economictimes.indiatimes.com .
↑ Farmer, Ben (February 3, 2009). "Hindu extremists 'will attack Valentine's Day couples' " . Telegraph, UK . London. สืบค้นเมื่อ October 16, 2010 .
↑ B, Viju. " 'Kiss of love' movement: They came, dared the mob, did it" . The Times of India . สืบค้นเมื่อ 3 November 2014 .
↑ "Indonesia bans kissing in public" .
↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" . Going to Dubai . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-06-26. สืบค้นเมื่อ 2018-02-04 .
↑ "Iran Safety and Security For Tourists" . Let's Go Iran (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2016-06-04 .