ในปี ค.ศ. 1956 โมเช ดายัน ซึ่งเป็นเสนาธิการทหารบกชาวอิสราเอล ได้ให้คำสรรเสริญแก่รอย รอตเบิร์ก ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในคิบบุตซ์ที่ถูกฆ่าตายใกล้กับฉนวนกาซา[1] โดยเรียกร้องให้อิสราเอลค้นหาวิญญาณของตนและสำรวจความคิดของชาติ คำสรรเสริญของดายันถือได้ว่าเป็นสุนทรพจน์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของอิสราเอล[2] และมีความสำคัญในความทรงจำของกลุ่มชาวอิสราเอล ดุจเกตตีสเบิร์กแอดเดรสที่มีอยู่ในความทรงจำของชาวอเมริกัน
ภูมิหลัง
นาฮาล ออซ กลายเป็นคิบบุตซ์ในปี ค.ศ. 1953 และมักมีความขัดแย้งกับชาวอาหรับที่เดินข้ามเขตสงบศึกจากกาซา เพื่อเก็บเกี่ยวพืชผลและดำเนินการลักขโมย[3] โดยช่วงสองสามเดือนก่อนหน้านี้มีความเงียบสงบในพรมแดนของอิสราเอลร่วมกับอียิปต์และกาซา แต่บานปลายขึ้นด้วยการยิงข้ามพรมแดนหลายครั้งในช่วงต้นเดือนเมษายน[3] เมื่อวันที่ 4 เมษายน ทหารอิสราเอลสามคนถูกสังหารโดยกองกำลังอียิปต์ที่ชายแดนกาซา[3] ฝ่ายอิสราเอลจึงตอบโต้ในวันรุ่งขึ้นโดยการโจมตีใจกลางกาซาซิตี ซึ่งได้สังหารพลเรือนชาวอียิปต์และปาเลสไตน์ 58 คน รวมทั้งทหารอียิปต์อีก 4 คน[3] ส่วนฝ่ายอียิปต์ตอบโต้ด้วยการกลับมาโจมตีแบบเฟดายีนข้ามพรมแดน โดยสังหารชาวอิสราเอลไป 14 คนในช่วงวันที่ 11–17 เมษายน[3][4]
รอย รอตเบิร์ก เกิดในเทลอาวีฟในปี ค.ศ. 1935 เขาทำหน้าที่เป็นเด็กส่งสารสำหรับกองกำลังป้องกันอิสราเอลในช่วงสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948 หลังจากเรียนที่โรงเรียนเกษตรมิกเวห์อิสราเอล และโรงเรียนอาชีวะเชวาห์โมเฟต เขาได้เข้าเป็นทหารในกองกำลังป้องกันอิสราเอลและเข้าร่วมทหารราบ หลังจากจบหลักสูตรของทหารแล้ว เขาเข้ามาอยู่ที่เมืองนาฮาล ออซ ซึ่งเป็นครั้งแรกของการตั้งถิ่นฐานนาฮาล โดยเขาได้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของนาฮาล ออซ[3][5][6][7] และมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอในการไล่จับผู้แทรกซึม บางครั้งมีการใช้กำลังถึงตาย[3] รอตเบิร์กแต่งงานกับอมิรา กริกสัน และมีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนคือโบอาส ที่ยังเป็นเด็กทารกในช่วงเวลาที่เขาเสียชีวิต
เมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1956 เขาถูกจับในการเตรียมซุ่มโจมตี ซึ่งแรงงานเก็บเกี่ยวชาวอาหรับได้เริ่มเก็บเกี่ยวข้าวสาลีในพื้นที่ของคิบบุตซ์ หลังจากที่รอตเบิร์กได้เห็นพวกเขา เขาได้ขี่ม้าไล่ตาม ขณะที่เขาเข้าใกล้ ได้มีคนอื่น ๆ โผล่ออกมาจากการซ่อนตัวเพื่อโจมตี[3][8] เขาถูกยิงจนตกหลังม้า มีการตี และยิงอีกครั้ง แล้วศพของเขาก็ถูกลากเข้าสู่ฉนวนกาซา[3] ซึ่งผู้ทำร้ายรอตเบิร์ก ได้แก่ ตำรวจชาวอียิปต์และชาวนาปาเลสไตน์[9] ศพของเขาถูกส่งกลับมาในช่วงบ่ายวันเดียวกัน โดยการแทรกแซงของสหประชาชาติ สภาพศพเสียหายแบบงอมพระราม[3][10][11]
หกเดือนหลังจากที่เขาเสียชีวิต วิกฤตการณ์คลองสุเอซเริ่มต้นด้วยการบุกของอิสราเอลสู่ฉนวนกาซาและคาบสมุทรไซนาย หลังจากครอบครองฉนวนกาซา สองผู้ต้องสงสัยในคดีฆาตกรรมของรอตเบิร์ก สิบตำรวจเอกจามิล อวัด อัล-กาซิม อัล-วาดีห์ และชาวนาชื่อมาห์มูด โมฮัมเหม็ด ยูเซฟ อัล-มาซิอาร์ ได้ถูกจับกุมและถูกนำตัวมายังอิสราเอลเพื่อพิจารณาคดี ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1959 พวกเขาถูกตัดสินว่าได้กระทำการฆาตกรรมรอตเบิร์กและถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต โดยการอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาแห่งประเทศอิสราเอลได้รับการปฏิเสธในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1960 [12][13]
คำสรรเสริญ
อ้างอิงจากฌ็อง-ปีแยร์ ฟีลียู เผยว่า หลังจากการลอบสังหาร อารมณ์สะเทือนใจในประเทศอิสราเอลอยู่ในระดับสูง และมีการเชิญดายันไปยังคิบบุตซ์เพื่อแสดงสุนทรพจน์ในงานศพ[9]
- "เช้าวานนี้ รอยถูกฆาตกรรม เวลาที่เงียบงันในช่วงเช้าของฤดูใบไม้ผลิ ได้ทำให้เขาตื่นตระหนกและเขาไม่เห็นคนที่รอซุ่มโจมตีเขาที่ริมทาง อย่าให้เราโยนความผิดเกี่ยวกับฆาตกรในวันนี้ ทำไมเราควรประกาศความเกลียดชังการเผาไหม้ของพวกเขาสำหรับเรา ? เป็นเวลาแปดปีที่พวกเขานั่งอยู่ในค่ายผู้อพยพในฉนวนกาซา และก่อนปรากฏสู่สายตาของพวกเขา พวกเราได้ทำการเปลี่ยนแผ่นดินและหมู่บ้านต่าง ๆ ที่ซึ่งพวกเขาและบรรพบุรุษของพวกเขาอาศัยอยู่ มาเป็นที่ดินของเรา ไม่ใช่ในหมู่อาหรับในกาซา หากแต่ในท่ามกลางเราเองที่ต้องแสวงหาการนองเลือดของรอย เราปิดตาของเราและปฏิเสธที่จะมองตรงไปที่ชะตากรรมของเรา และเห็นในทุกความโหดร้าย กับโชคชะตาของคนรุ่นเราได้อย่างไร ? เราลืมไปแล้วหรือว่ากลุ่มคนหนุ่มสาวที่อาศัยอยู่ที่เมืองนาฮาล ออซ จะแบกประตูของฉนวนกาซาไว้บนไหล่ ? ไกลจากเส้นขอบชายแดน ทะเลแห่งความเกลียดชังและความปรารถนาที่จะแก้แค้นซึ่งขยายตัว กำลังรอวันที่สงบ สำหรับวันที่เราจะเอาใจใส่ทูตเจ้าเล่ห์ซึ่งคิดร้ายที่เรียกร้องให้เราวางอาวุธ เลือดของรอยกำลังร้องไห้ออกมาให้แก่เราและเฉพาะกับเรา จากร่างกายที่ฉีกขาดของเขา แม้ว่าเราจะสาบานว่าเลือดของเราจะไม่ไหลแบบสูญเปล่า เมื่อวานนี้เราถูกล่อลวง พวกเราได้ฟัง และพวกเราเชื่อ
- เราจะทำการคำนวณกับตัวเราเองในวันนี้ เราเป็นคนรุ่นที่ปักหลักอยู่ในแผ่นดินโดยไม่มีหมวกนิรภัยและกระสุนปืนใหญ่ ซึ่งเราจะไม่สามารถปลูกต้นไม้และสร้างบ้านได้ อย่าให้เรามองไม่เห็นความเกลียดชังที่ลุกเป็นไฟรวมถึงชีวิตชาวอาหรับนับแสนที่อาศัยอยู่รอบตัว อย่าหลีกเลี่ยงสายตาเพื่อไม่ให้อาวุธของเราอ่อนลง นี่คือชะตากรรมของคนรุ่นเรา นี่คือทางเลือกในชีวิตของเรา - ที่จะเตรียมพร้อมและมีกำลังอาวุธ, ความแข็งแรง และมุ่งมั่น เพื่อไม่ให้ดาบหลุดจากมือของเราและไม่ให้ชีวิตของเราลดลง ชายหนุ่มที่ชื่อรอยได้ทิ้งเทลอาวีฟไปสร้างบ้านที่ประตูเมืองกาซาเพื่อเป็นกำแพงสำหรับพวกเราได้ตาบอดลงโดยแสงในหัวใจของเขา และเขาไม่ได้เห็นแสงประกายของดาบ ความโดยหาสันติภาพทำให้เขาไม่ได้ยินเสียงฆาตกรที่รอคอยซุ่มโจมตี ประตูของฉนวนกาซาหนักเกินไปบนไหล่ของเขา และได้ทำให้เขาหมดกำลัง"[8][14][15]
อ้างอิง
- ↑ Shalev, Chemi (20 July 2014). "Moshe Dayan's enduring Gaza eulogy: This is the fate of our generation". Haaretz.
- ↑ Kochin, Michael (2009). Five Chapters on Rhetoric, Character, Action, Things, Nothing, & Art. College Station, PA, USA: Penn State University Press. pp. 160–164. ISBN 978-0-271-03456-0.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 Benny Morris (1993). Israel's Border Wars. Oxford University Press. pp. 393–396.
- ↑ Stein, Leslie (2014). The Making of Modern Israel; 1948-1967. John Wiley & Sons. pp. 171–172.
- ↑ MorrisB, Benny (2011). Righteous Victims: A History of the Zionist-Arab Conflict, 1881-1998. Knopf Doubleday Publishing Group. pp. 286–9.
- ↑ Bar-On, Mordecai (2010). Moshe Dayan: Israel's Controversial Hero. Yale University Press.
- ↑ Levitas, Gidon (1967). Naḥal: Israel's Pioneer Fighting Youth. Youth and Hechalutz Department of the World Zionist Organization. pp. 38–39.
- ↑ 8.0 8.1 Shapira, Anita. Israel; A History. p. 271. สืบค้นเมื่อ 23 September 2014.
- ↑ 9.0 9.1 Filiu, Jean-Pierre (2014). Gaza: A History. Oxford University Press. p. 92.
- ↑ Aloni, Udi (2011). "Samson the Non-European". Studies in Gender and Sexuality. 12 (2): 124–133. doi:10.1080/15240657.2011.559441. สืบค้นเมื่อ 20 October 2014.
- ↑ Shapira, Anita (2012). Israel: A History. UPNE. p. 271.
- ↑ http://jpress.org.il/Olive/APA/NLI_Heb/SharedView.Article.aspx?parm=%2FHJYmaMuW0OIYAMoUfYvr1QGYWbJBm8bXNIlf0THcM6rJ9v8Dg5BB%2FqBPEuEh3YSYw%3D%3D&mode=image&href=MAR%2f1959%2f01%2f06&page=4&rtl=true
- ↑ http://jpress.org.il/Olive/APA/NLI_Heb/SharedView.Article.aspx?parm=C2wkgkt6BMUdKsxrJxfFi5o11NF9NNhFdCzb%2Bcoodp8IsnzWRZtVpMG2b5NpYK7ZYw%3D%3D&mode=image&href=MAR%2f1960%2f05%2f19&page=1&rtl=true
- ↑ Friedman, Matti (8 August 2012). "In the Border Kibbutz Brushed by Terror, An Understated Resiliance". Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 14 October 2014.
- ↑ "Moshe Dayan's Eulogy for Roi Rutenberg - April 19, 1956". www.jewishvirtuallibrary.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-13.