การสังหารหมู่ที่ดัยร์ยาซีน
การสังหารหมู่ที่ดัยร์ยาซีน (อังกฤษ : Deir Yassin massacre ) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 1948 เมื่อกลุ่มนักสู้ชาวยิวราว 130[ 1] คนจากกองกำลังกึ่งกอทัพยิว อีร์กูน และ เลฮี ฆาตกรรมชาวบ้านอย่างน้อย 107 ราย เหยื่อทั้งหมดเป็นชาวอาหรับปาเลสไตน์ รวมถึงเด็กและสตรี ในหมู่บ้านดัยร์ยาซีน ซึ่งมีขนาดประชากรราว 600 ใกล้กับนครเยรูซาเลม แม้ว่าหมู่บ้านจะบรรลุข้อตกลงในการอยู่โดยสันติก็ตาม การโจมตีนี้เกิดขึ้นขณะกองกำลังชาวยิวพยายามจะหาทางผ่อนปรนการล้อมนครเยรูซาเลม ในระหว่างสงครามกลางเมืองปาเลสไตน์ในอาณัติ ที่เกิดขึ้นก่อนสิ้นสุดการปกครองในภูมิภาคปาเลสไตน์ ของเจ้าอาณานิคมอังกฤษ [ 4]
ชาวบ้านในดัยร์ยาซีนมีความพยายามต้านทานกองกำลังยิวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้และกองกำลังยิวเองก็มีรายงานผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเช่นกัน ท้ายที่สุด ดัยร์ยาซีนก็ถูกยึดได้หลังการต่อสู้รายบ้านสิ้นสุด ชาวอาหรับปาเลสไตน์บางส่วนเสียชีวิตระหว่างการโจมตี ในขณะที่บางส่วนถูกสังหารชณะพยายามหลบหนีหรือแสดงการยอมจำนนแล้วก็ตาม มีนักโทษจำนวนหนึ่งถูกสังหาร บางส่วนหลังถูกนำไปขึ้นขบวนแห่ในเยรูซาเลมตะวันตก เพื่อถูกประชาชนถ่มถุย ขว้างปาหินใส่ ก่อนที่จะถูกสังหาร[ 1] [ 5] [ 6] นอกจากการฆาตกรรมแล้ว อาชญากรรมอื่น ๆ ที่ก่อในระหว่างการสังหารหมู่ยังมีการปล้นสะดมของมีค่า และมีความเป็นไปได้ว่าเกิดการข่มขืนและทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความพิการ แม้ตอนแรก กองกำลังยิวจะประกาศชัยชนะและรุบว่าได้สังหารเหยื่อไปรวม 254 ราย แต่นักวิชาการในปัจจุบันระบุยอดเสียชีวิตอยู่ที่ต่ำกว่านั้น นักประวัติศาสตร์ชาวปาเลสไตน์ อาเรฟ อัลอาเรฟ นับเหยื่อได้รวม 117 ราย, เจ็ดรายในระหว่างการต่อสู้ และที่เหลือในบ้าน[ 8] จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บมีประมาณอยู่ระหว่าง 12 ถึง 50 นอกจากนี้ ฝั่งผู้โจมตีมีรายงานเสียชีวิตห้าราย บาดเจ็บอีกนับสิบคน[ 1]
การสังหารหมู่นี้ถูกประณามโดยผู้นำของฮากานะฮ์ ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งกองทัพหลักของชุมชนชาวยิว และชาวยิวซึ่งรวมถึงหัวหน้าแรบไบ ประจำพื้นที่สองคน ไปจนถึงอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ , เยสซูรูน การ์โดโซ , ฮันนะฮ์ อาเรนดต์ , ซิดนีย์ ฮุก เป็นต้น องค์การชาวยิวเพื่อปาเลสไตน์ ยังได้ส่งจดหมายขอโทษอย่างเป็นทางการแด่กษัตริย์อับดุลละฮ์แห่งจอร์แดน แต่ถูกปัดตกไป[ 4] และถือว่าคนยิวมีส่วนรับผิดชอบต่อเหตุการณ์นี้ รวมถึงยังเตือนถึง "ผลสืบเนื่องอย่างร้ายแรง" หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ที่ใดอีก[ 10]
เหตุสังหารหมู่นี้กลายมาเป็นเหตุการณ์จุดเปลี่ยนในความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับโลกอาหรับ มีวาทกรรมเกิดขึ้นจากหลายฝ่ายเพื่อใช้โจมตีกันและกัน เช่น วาทกรรมจากชาวปาเลสไตน์พุ่งเป้าโจมตีอิสราเอล, โดยกลุ่มฮากานะฮ์เพื่อลดทอนบทบาทตัวเองในเหตุการณ์นี้ลง และโดยชาวอิสราเอลเพื่อกล่าวโทษกลุ่มอีร์กูนกับเลฮีว่าทำให้ชื่อของอิสราเอลต้องหม่นหมองผ่านการละเมิดซึ่งหลักการยิวว่าด้วยความเป็นบริสุทธิ์จากอาวุธ [ 11]
สี่วันถัดมา ในวันที่ 13 เมษายน มีการโจมตีเพื่อล้างแค้นในเยรูซาเลม โดยการโจมตีขบวนความช่วยเหลือทางการแพทย์ฮาดัสซะฮ์ นี้เป็นผลให้มีชาวยิวถูกสังหาร 78 ราย ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรทางการแพทย์[ 12] [ 13] ส่วนแหล่งข้อมูลในหอจดหมายเหตุของกองทัพอิสราเอลที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการสังหารหมู่ที่ดัยร์ยาซีนยังคงมีสถานะเป็นความลับ[ 14]
อ้างอิง
↑ Gelber claims 35 wounded which Morris sees as an exaggeration.
↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Benny Morris (2005). "The Historiography of Deir Yassin". The Journal of Israeli History . 24 (1): 79–107. doi :10.1080/13531040500040305 . S2CID 159894369 .
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ hogan
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ saga
↑ 4.0 4.1 Morris 2008, pp. 126–128.
↑ Kana'ana and Zeitawi, The Village of Deir Yassin , Destroyed Village Series, Berzeit University Press, 1988.
↑ Yavne to HIS-ID, April 12, 1948, IDFA 5254/49//372 in Morris 2008, p. 127.
↑ Henry Laurens , La Question de Palestine , Fayard Paris 2007 vol.3 p.75
↑ Benny Morris, The Road to Jerusalem: Glubb Pasha, Palestine and the Jews , p. 128.
↑ Gelber 2006 เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 27, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , p. 307.*For "purity of arms", see Walzer, Michael. "War and Peace in the Jewish Tradition", and Nardin, Terry. "The Comparative Ethics of War and Peace", in Nardin, Terry (ed.). The Ethics of War and Peace . Princeton University Press, pp. 107–108, 260.
↑ Siegel-Itzkovich, Judy (April 7, 2008). "Victims of Hadassah massacre to be memorialized" . The Jerusalem Post . สืบค้นเมื่อ December 2, 2013 .
↑ Larry Collins and Dominique Lapierre, O Jerusalem! , 1972, pp. 284–285, Simon & Schuster, New York; ISBN 0-671-66241-4
↑ Sela, Rona (March 2018). "The Genealogy of Colonial Plunder and Erasure – Israel's Control over Palestinian Archives" . Social Semiotics . 28 (2): 201–229. doi :10.1080/10350330.2017.1291140 . S2CID 149369385 – โดยทาง ResearchGate . p.209.
บรรณานุกรม
Banks, Lynne Reid (1982). A Torn Country: An Oral History of the Israeli War of Independence . New York: Franklin Watts.
BBC and PBS (1998). "The Arab Israeli Conflict – part 2 : Israeli massacres 1948" , The Fifty Years War , accessed August 12, 2010.
Begin, Menachem (1977): The Revolt . Dell Publishing.
Collins, Larry and Lapierre, Dominique (1972): O Jerusalem! , Simon and Schuster.
Eban, Abba (1969). Background Notes on Current Themes – No.6: Dir Yassin . Jerusalem: Ministry for Foreign Affairs, Information Division, March 16, 1969.
Ellis, Marc H. (1999). O, Jerusalem!: the contested future of the Jewish covenant . Fortress Press. ISBN 0-8006-3159-5 , 978-0-8006-3159-8
Gelber, Yoav (2006). Palestine 1948 . "Propaganda as History: What Happened at Deir Yassin?" เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 27, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . Sussex Academic Press.
Hirst, David (2003). The Gun and the Olive Branch . Faber and Faber (first published 1977).
Holmes, Paul (1998) for Reuters, published in the Middle East Times , April 20, 1998, cited in Comay, Naomi. Arabs speak frankly on the Arab-Israeli conflict . Printing Miracles Limited, 2005, p. 16.
Kagan, Binyamin (1966). The Secret Battle for Israel . The World Publishing Co.
Kananah, Sharif and Zaytuni, Nihad (1988). Deir Yassin القرى الفلسطينية المدمرة (Destroyed Palestinian Villages), Birzeit University Press.
Khalidi, Walid (1992). All That Remains: The Palestinian Villages Occupied and Depopulated by Israel in 1948 . Institute for Palestine Studies.
LaGuardia, Anton (2003). War Without End: Israelis, Palestinians, and the Struggle for a Promised Land . St. Martin's Griffin.
Lapidot, Yehuda (1992). Besieged, Jerusalem 1948: Memories of an Irgun Fighter . See part II, Jerusalem , for the section on Deir Yassin .
Levi, Yitzhak (1986). Nine Measures (ภาษาฮิบรู). Maarachot.
Levin, Harry (1950). I Saw the Battle of Jerusalem . Schocken Books.
Lorch, Netanel (1981). The Edge of the Sword . Easton Press.
Madsen, Ann Nicholls (2003). Making Their Own Peace: Twelve Women of Jerusalem . Lantern Books.
Martin, Ralph G (1982). Golda: Golda Meir – The Romantic Years . New York: Charles Scribner's Sons.
Meltzer, Julian Louis (1948). "Jerusalem truce halts Israeli push to retake old city" , The New York Times , July 18, 1948.
McGowan, Daniel and Ellis, Marc. (eds.) (1998). Remembering Deir Yassin: The Future of Israel and Palestine . Interlink Publishing Group.
Milstein, Uri (1998). History of Israel's War of Independence: Out of Crisis Came Decision . Vol. 4. University Press of America.
Milstein, Uri (1991). History of Israel's War of Independence: Out of Crisis Came Decision . Vol. 4. แปลโดย Ami Isseroff. Zmora-Bitan.
Milstein, Uri (1970). Genesis 1948 . The New American Library.
Morris, Benny (1 October 2008). 1948: A History of the First Arab-Israeli War (ภาษาอังกฤษ). Yale University Press. ISBN 978-0-300-14524-3 .
Morris, Benny (2005). "The Historiography of Deir Yassin". Journal of Israeli History . Informa UK Limited. 24 (1): 79–107. doi :10.1080/13531040500040305 . ISSN 1353-1042 . S2CID 159894369 .
Morris, Benny (2004). The Birth of the Palestinian Refugee Problem Revisited . Cambridge University Press.
Morris, Benny (2001). Righteous Victims: A History of the Zionist-Arab Conflict, 1881–2001 . Vintage Books.
Morris, Benny (1987). The Birth of the Palestinian Refugee Problem, 1947–1949 . Cambridge University Press. ISBN 9780521330282 .
Pa'il, Meir and Isseroff, Ami (1998). "Meir Pail's Eyewitness Account" , October 1, 1998, accessed November 18, 2010.
Pappe, Ilan (2006). The Ethnic Cleansing of Palestine . Oneworld Publications. ISBN 9781851684670 .
Reynier, Jacques de (1950). A Jerusalem un Drapeau flottait sur la Ligne de Feu . Editions de la Baconnière, Neuchâtel.
Rodinson, Maxime (1968). Israel and the Arabs , Penguin Books
Schmidt, Dana Adams (1948). 200 Arabs killed, stronghold taken , The New York Times , April 9, 1948.
Segev, Tom (1998). 1949: The First Israelis . Holt Paperbacks.
Shaltiel, David (1981). Jerusalem 1948 (ภาษาฮิบรู). Tel Aviv.
Silver, Eric (1984). Begin: A Biography .
Silver, Eric (1998). Arab witnesses admit exaggerating Deir Yassin massacre เก็บถาวร 2012-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , The Jerusalem Report , April 2, 1998, accessed June 11, 2009.