การวางนัยทั่วไปเร็วเกินไป[1] (อังกฤษ: Hasty generalization) เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัย (informal fallacy) ที่มีการวางนัยทั่วไปอย่างผิดพลาด คือมีการวางนัยทั่วไปโดยอุปนัยอาศัยหลักฐานที่ไม่เพียงพอ
กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นการสรุปประเด็นเร็วเกินไปโดยที่ไม่ได้พิจารณาองค์ประกอบทั้งหมด
ในสถิติศาสตร์ นี้อาจหมายถึงการทำการสรุปโดยทั่วไปโดยใช้สถิติที่มาจากการสำรวจด้วยตัวอย่างที่ไม่สามารถเป็นตัวแทนของประชากรทั้งสิ้น[2]
เหตุผลวิบัติชนิดนี้เป็นประเภทตรงกันข้ามกับเหตุผลวิบัติที่มีชื่อว่า slothful induction ซึ่งเป็นการปฏิเสธผลสรุปที่สมควรตามเหตุผลโดยอุปนัย เช่นโดยอ้างว่า "เป็นเพียงเรื่องบังเอิญ"
ตัวอย่าง
การวางนัยทั่วไปเร็วเกินไปมักจะมีรูปแบบดังต่อไปนี้
- ห เป็นจริงสำหรับ ก
- ห เป็นจริงสำหรับ ข
- ห เป็นจริงสำหรับ ค
- ห เป็นจริงสำหรับ ง
- และดังนั้น ห จึงเป็นจริงด้วยสำหรับ จ, ฉ, ช, ฯลฯ
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบุคคลหนึ่งเดินเข้าไปในหมู่บ้านเป็นครั้งแรกแล้วเห็นคน 10 คน ล้วนแต่เป็นเด็กทั้งสิ้น
เขาอาจจะสรุปอย่างผิด ๆ ว่าไม่มีผู้ใหญ่ในหมู่บ้านนี้
หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือ ถ้าคนหนึ่งกำลังดูเลขชุดหนึ่ง
เลข 1 เป็นเลขยกกำลังสอง 3 เป็นจำนวนเฉพาะ 5 เป็นจำนวนเฉพาะ 7 เป็นจำนวนเฉพาะ
9 เป็นเลขยกกำลังสอง 11 เป็นจำนวนเฉพาะ และ 13 เป็นจำนวนเฉพาะ
ดังนั้น บุคคลนั้นจึงกล่าวว่า เลขคี่ถ้าไม่เป็นเลขจำนวนเฉพาะก็จะเป็นเป็นเลขยกกำลังสอง
ชื่ออื่น ๆ
เหตุผลวิบัตินี้มีชื่ออื่น ๆ ว่า
- Fallacy of insufficient statistics (เหตุผลวิบัติโดยมีสถิติไม่เพียงพอ)
- Fallacy of insufficient sample (เหตุผลวิบัติโดยมีตัวอย่างไม่พอ)
- Generalization from the particular (การวางนัยทั่วไปจากข้อมูลเฉพาะ)
- Leaping to a conclusion (การกระโดดสรุป)
- Hasty induction (การสรุปเชิงอุปนัยเร็วเกินไป)
- Law of small numbers (กฎการมีตัวอย่างน้อย)
- Unrepresentative sample (ตัวอย่างที่ไม่เป็นตัวแทน)
- Secundum quid
เชิงอรรถและอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น