การล้อมสถานทูตอิหร่าน

การล้อมสถานทูตอิหร่าน (ปฏิบัติการนิมรอด)
ส่วนหนึ่งของ ลัทธิแยกดินแดนอาหรับในฆูเซสถาน
Photograph
สถานทูตอิหร่านได้รับความเสียหายอย่างหนักจากเหตุเพลิงไหม้หลังการล้อม
วันที่30 เมษายน – 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1980
สถานที่
16 พรินซ์เกต เซาท์เคนซิงตัน ลอนดอน
51°30′5.5″N 0°10′19.9″W / 51.501528°N 0.172194°W / 51.501528; -0.172194
ผล ยึดสถานทูตคืนได้หลังจากปิดล้อมหกวัน
คู่สงคราม
 สหราชอาณาจักร แนวร่วมปฏิวัติประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยอาราบิสถาน (DRFLA)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
โอน อะลี โมฮัมเหม็ด
กำลัง
ทหารหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ 30–35 นาย, เจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลอังกฤษจำนวนมาก สมาชิกแนวร่วมปฏิวัติประชาธิปไตยเพื่อการปลดปล่อยอาราบิสถาน 6 คน
ความสูญเสีย
ตัวประกันสองคนถูกสังหาร (ก่อนการจู่โจมหนึ่งคน, ระหว่างการจู่โจมหนึ่งคน); ตัวประกันสองคนได้รับบาดเจ็บระหว่างการจู่โจม; ทหารหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศหนึ่งนายได้รับบาดเจ็บ ถูกสังหารห้าคน, ถูกจับกุมหนึ่งคน

การล้อมสถานทูตอิหร่าน (อังกฤษ: Iranian Embassy siege) เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 30 เมษายนถึง 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 หลังจากกลุ่มชายติดอาวุธหกคนบุกโจมตีสถานทูตอิหร่านที่พรินซ์เกตในเซาท์เคนซิงตัน ลอนดอน มือปืนชาวอาหรับเชื้อสายอิหร่านที่รณรงค์เพื่ออำนาจอธิปไตยจังหวัดฆูเซสถานได้จับ 26 คนเป็นตัวประกัน ได้แก่เจ้าหน้าที่สถานทูต, อาคันตุกะหลายคน และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่คอยคุ้มกันสถานทูต พวกเขาเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษในฆูเซสถานและทางที่ปลอดภัยของพวกเขาเองออกจากสหราชอาณาจักร รัฐบาลอังกฤษได้ตัดสินใจอย่างรวดเร็วว่าจะไม่ให้ทางผ่านอย่างปลอดภัยและเกิดการปิดล้อมตามมา ต่อจากนั้น ผู้เจรจาของตำรวจได้ปล่อยตัวตัวประกันห้าคนเพื่อแลกกับข้อยินยอมเล็กน้อย เช่น การแพร่ภาพความต้องการของผู้จับตัวประกันทางโทรทัศน์ของอังกฤษ

เมื่อถึงวันที่หกของการปิดล้อมเหล่ามือปืนต่างรู้สึกหงุดหงิดมากขึ้นที่ไม่มีความคืบหน้าในการปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของพวกเขา เย็นวันนั้นเอง พวกเขาได้ฆ่าตัวประกันและโยนศพออกจากสถานทูต จนในที่สุด หน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ (SAS) ซึ่งเป็นหน่วยรบพิเศษของกองทัพบกสหราชอาณาจักร ได้ริเริ่ม "ปฏิบัติการนิมรอด" เพื่อช่วยเหลือตัวประกันที่เหลือ โดยการโรยตัวจากหลังคาและใช้กำลังเข้าทางหน้าต่าง ในระหว่างการล้อม 17 นาทีพวกเขาได้ช่วยตัวประกันที่เหลือทั้งหมดยกเว้นหนึ่งในตัวประกัน และได้สังหารผู้จับตัวประกันห้าในหกคน การไต่สวนการกระทำผิดใด ๆ ของหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศได้รับการเคลียร์ โดยมือปืนที่เหลือเพียงคนเดียวติดคุก 27 ปีในเรือนจำอังกฤษ

สงครามอิรัก–อิหร่าน ได้เกิดขึ้นในปลายปีนั้น และวิกฤตการณ์ตัวประกันในเตหะรานยังคงดำเนินต่อไปจนถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 1981 อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการดังกล่าวได้นำหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศออกสู่สายตาสาธารณชนเป็นครั้งแรก รวมถึงได้สนับสนุนชื่อเสียงของรัฐบาลแทตเชอร์ หน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศได้รับการแสดงความจำนงจากผู้คนอย่างล้นหลามที่ได้รับแรงบันดาลใจจากปฏิบัติการ และความต้องการความเชี่ยวชาญจากรัฐบาลต่างประเทศมากขึ้น อาคารที่ได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ระหว่างการจู่โจมไม่ได้เปิดใหม่จนถึงปี ค.ศ. 1993 การตีโฉบฉวยของหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศได้รับการถ่ายทอดสดในช่วงเย็นวันหยุดธนาคารได้กลายเป็นช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์อังกฤษ และพิสูจน์ให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพของนักข่าวในวันหยุดพักหลายคน ซึ่งมันได้กลายเป็นสารคดีและนิยายต่าง ๆ รวมถึงภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายเรื่อง

อ้างอิง

บรรณานุกรม

การอ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!