การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563 โดยได้รับการยืนยันว่าเริ่มต้นขึ้นที่ประเทศมองโกเลีย เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563
ภูมิหลัง
เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2563 องค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยทางเดินหายใจในกลุ่มคนในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน ซึ่งรายงานต่อองค์การอนามัยโลกในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562[2][3]
อัตราป่วยตายของผู้ป่วยสำหรับโควิด-19 นั้นต่ำกว่าโรคซาร์ส พ.ศ. 2546 มาก[4][5] แต่การแพร่เชื้อมีความหมายมากกว่า ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตที่มีนัยสำคัญ[4][6]
เส้นเวลา
รายงานผู้ติดเชื้อ
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563 รองนายกรัฐมนตรีมองโกเลียแถลงการณ์พบผู้ติดเชื้อเป็นรายแรก ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสโดยเข้ามายังเมืองอูลานบาตาร์ผ่านทางเที่ยวบินที่ท่าอากาศยานเมืองมอสโก ประเทศรัสเซีย[7][8]
ผู้ติดเชื้อเป็นชายอายุ 57 ปี แสดงอาการป่วยเป็นไข้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มีนาคม จากการนำผลเลือดไปตรวจพบผลเป็นบวกต่อการพบโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ และได้รับการนำไปกักกันตัวที่ดอร์โนโกวี[7] แต่การไม่ปฏิบัติตาม ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเพิกเฉยกับการกักกันตัวต่อคำแนะนำ ในเวลาเดียวกัน ผู้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อสองรายได้เดินทางออกจากดอร์โนโกวี แม้จะมีคำเตือนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำจังหวัด ให้อยู่กักกันตัวภายในเมืองเท่านั้น คณะกรรมการเหตุการณ์ฉุกเฉินประจำรัฐ ได้ออกมากล่าวว่า ทั้งคู่จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายจากการกระทำไม่กักกันตนเองอย่างแน่นอน[7] มี 120 รายมีความเกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้อภายในจังหวัดต้องถูกกันตัวเป็นการด่วน และอีก 500 ราย เป็นผู้ติดต่อโดยทางอ้อม อยู่ภายใต้การสังเกตการณ์ของแพทย์[9]
รัฐบาลได้แถลงประกาศมาตรการควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ประกาศนี้ส่งผลให้มีการระงับการเข้าถึงพรมแดนการเข้า-ออกระหว่างประเทศมองโกเลียและประเทศจีน ทั้งทางบกและทางอากาศ นับตั้งแต่วันที่ 27 มกราคมจนกว่าจะมีมาตรการใหม่อีกครั้ง และระงับการเข้ถึงเที่ยวบินของอากาศยาน และรถไฟโดยสาร จนถึงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 งานกิจกรรมทางสาธารณะ อาทิ การประชุม การแข่งขันกีฬา และเทศกาลได้ถูกจัดการยกเลิกทุกงานทั้งหมดทั่วประเทศ และสถานศึกษาทุกแห่งภายในประเทศมองโกเลียได้ถูกสั่งระงับการศึกษา จนถึงวันที่ 30 เมษายน ประชาชนไม่มีสิทธิ์เดินทางออกจากนอกประเทศที่ถูกประกาศว่าเป็นประเทศกลุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ถ้าหากกลับมาจากประเทศอันเป็นกลุ่มเสี่ยงที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะต้องกักกันตนเองภายในสถานที่ปลอดเชื้อเป็นระยะเวลา 14 วัน อันบุคคลใดที่ถูกสอบสอนโรค แต่มีพฤติการณ์หลี่ยงเลี่ยงและ/หรือปิดบังข้อมูล จะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง[10]
หลังจากที่ทางการทำการอพยพประชาชนนำอากาศยานขนส่งไปรับประชาชนที่มีลักษณะ "สุ่มเสี่ยง" ต่อการติดไวรัสจากพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ในพื้นที่ทวีปยุโรป ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้ โดยมีรายงานจากสื่อสิ่งพิมพ์ว่า พบผู้ติดเชื้อสามราย หนึ่งในนั้นอาการรุนแรงอย่างมาก อีกเก้ารายจำเป็นที่จะถูกแยกตัวมากักกันโรค[10]
วันที่ 27 มีนาคม พบหนึ่งในผู้ที่ถูกกักกันโรคติดเชื้อจากการหาเชื้อแล้วพบว่าผลเป็นบวก โดยคนนี้เป็นหนึ่งในสองร้อยยี่สิบเอ็ดราย ที่ถูกนำไปตรวจไวรัสจากเลือด ขณะกำลังถูกกักกันตัว โดยเที่ยวบินจากเมืองอิสตันบูล-อูลานบาตาร์ จัดสรรโดยคณะกรรมการเหตุการณ์ฉุกเฉินประจำรัฐ[11] ในวันเดียวกัน มูลนิธิโอนอม ได้ท้วงติงถึงรัฐบาลมองโกเลียปัญหาของเครื่องช่วยหายใจที่มีเพียง 160 เครื่อง (1 เครื่อง ต่อ 20,000 ราย สหรัฐ: 1 เครื่อง ต่อ 2,000 ราย) และถ้าหากมีผู้ติดเชื้อรายใหม่มารักษา จะเกิดปัญหากับระบบบุคลากรที่ต้องเผชิญกับการขาดเครื่องช่วยหายใจอย่างแน่นอน[12]
การอพยพประชาชนจากพื้นที่เสี่ยง
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม คณะกรรมการเหตุการณ์ฉุกเฉินประจำชาติ ได้แถลงการณ์ว่า ระหว่างการอพยพผู้คนจากพื้นที่เสี่ยง (หลักพันราย) ไปยังการกักกันตัว โดยอากาศยานขนส่ง รัฐบาลใช้งบประมาณในการจ่ายค่าอาหารแก่ประชาชนที่ถูกกักกันตัวเป็นเงิน 500 ล้านทูกรุกมองโกเลีย (180 แสนดอลลาร์สหรัฐ) แต่ละคนจะแยกกักกันคนละห้องกัน นั้นหมายความว่า ผู้ที่ถูกกักตัวในเมืองอูลานบาตาร์จะถูกปล่อยตัวในวันที่ 2-3 เมษายน[13] โดยรองผู้อำนวยการสำนักงานจัดการเหตุการณ์ฉุกเฉินแห่งชาติ (NEMA) บอกว่า พอกเขาได้รับคำแนะนะให่ห่งจากบ้านเป็นระยะเวลา 14 วัน มีการให้เพื่อนบ้านช่วยดูแล และมีการวางกำลังเจ้าหน้าที่คอยตรวจตราเพื่อการไม่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019[14][15]
สถิติ
แผนภูมิ
แผนภูมิจะได้รับการปรับปรุงทุกวันจากการแถลงข่าวของกระทรวงสาธารณสุขมองโกเลียผ่านสื่อใหญ่ภายในประเทศ:[11][16]
- รายงานการติดเชื้อและเสียชีวิตต่อวัน
อ้างอิง
|
---|
|
|
|
|
สถาบัน |
---|
ศูนย์ควบคุม และป้องกันโรค | |
---|
โรงพยาบาล และสิ่งเกี่ยวข้อง | |
---|
องค์กร | |
---|
|
|
|
บุคคล |
---|
แพทย์ผู้นำ การปฏิบัติ | |
---|
นักวิจัย | |
---|
เจ้าหน้าที่ | จีน | |
---|
อิตาลี | |
---|
สหราชอาณาจักร | |
---|
สหรัฐ | |
---|
|
---|
อื่น ๆ | |
---|
ผู้เสียชีวิต | |
---|
|
|
ข้อมูล (แม่แบบ) |
---|
ทั่วโลก | |
---|
แอฟริกา | |
---|
เอเชีย | |
---|
ยุโรป (แผนภูมิ) | |
---|
อเมริกาเหนือ | |
---|
โอเชียเนีย | |
---|
อเมริกาใต้ | |
---|
|
|
|