แผนที่ต้นฉบับของจอห์น สโนว์แสดงให้เห็นถึงการกระจุก ของบริเวณที่เกิดอหิวาตกโรค (ระบุด้วยสัญลักษณ์รูปสีเหลี่ยมผืนผ้าทึบ) ในลอนดอนซึ่งระบาดใน ค.ศ. 1854 ปั้มที่ปนเปื้อนเชื้อโรคตั้งอยู่บริเวณจุดแยกของถนนบรอดและถนนเคมบริดจ์ (ถนนเลกซิงตันในปัจจุบัน) จนไปถึงถนนลิตเติลวินด์มิลล์
การระบาดของอหิวาตกโรคในถนนบรอด (อังกฤษ : Broad Street cholera outbreak ) หรือ การระบาดในโกลเดนสแควร์ (Golden Square outbreak ) คือการระบาด ของอหิวาตกโรค อย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1854 ใกล้เคียงกับถนนบรอด (ถนนบรอดวิค ในปัจจุบัน) ในเขตโซโฮ ของนครเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ และเกิดขึ้นในช่วงที่มีการระบาดของอหิวาตกโรคทั่วโลกในระหว่าง ค.ศ. 1846–1860 การระบาดนี้มีผู้เสียชีวิต 616 คน และเป็นที่รู้จักจากการศึกษาของนายแพทย์จอห์น สโนว์ ถึงสาเหตุของการระบาดและสมมติฐานว่าน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เป็นแหล่งกำเนิดของอหิวาตกโรคมากกว่าที่จะเป็นอนุภาคในอากาศ (อ้างอิงจาก "ภาวะอากาศเป็นพิษ ")[ 1] [ 2] การค้นพบนี้มีอิทธิพลต่อทางสาธารณสุข และวางรากฐานในการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทางสุขาภิบาล ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 หลังจากนั้นคำศัพท์คำว่า "จุดแหล่งโรคของการติดเชื้อ " (focus of infection ) ได้ถูกนำมาใช้ในการอธิบายที่เกิดเหตุ อาทิ เครื่องสูบน้ำในถนนบรอดเป็นปัจจัยสำคัญในการแพร่เชื้อ ความพยายามของสโนว์ในการค้นหาสาเหตุของการแพร่เชื้อยังส่งผลให้เขาสร้างการทดลองแบบอำพรางสองฝ่าย (double-blind experiment ) โดยไม่รู้ตัว
อ้างอิง
บรรณานุกรม
อ่านเพิ่มเติม
แหล่งข้อมูลอื่น