การยึดติดหน้าที่

การยึดติดหน้าที่ (อังกฤษ: functional fixedness) เป็นความลำเอียงการรู้ (cognitive bias) อย่างหนึ่งซึ่งจำกัดบุคคลให้ใช้วัตถุเฉพาะในวิถีที่ใช้กันแต่เดิม มโนทัศน์การยึดติดหน้าที่กำเนิดในจิตวิทยาเกสทัลท์ ขบวนการในวิชาจิตวิทยาซึ่งเน้นการประมวลลัทธิองค์รวม คาร์ล ดุนค์เคอร์นิยามการยึดติดหน้าที่ว่าเป็น "สิ่งขัดขวางจิตต่อการใช้วัตถุในวิถีใหม่ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขปัญหา" ซึ่ง "สิ่งขัดขวาง" นี้จำกัดความสามารถของปัจเจกบุคคลในการใช้องค์ประกอบที่กำหนดให้เพื่อทำงานให้ลุล่วง เพราะไม่สามารถก้าวข้ามความมุ่งหมายดั้งเดิมขององค์ประกอบเหล่านั้นได้ ตัวอย่างเช่น หากผู้หนึ่งต้องการที่ทับกระดาษ แต่เขามีเพียงค้อน เขาอาจไม่เห็นว่าค้อนสามารถใช้เป็นที่ทับกระดาษได้อย่างไร การยึดติดหน้าที่เป็นความไร้สามารถเห็นการใช้ค้อนเป็นอื่นนอกเหนือจากตอกตะปูนี้เอง คือ บุคคลไม่สามารถคิดใช้ค้อนในวิถีอื่นนอกจากหน้าที่ดั้งเดิมของมัน

เมื่อทดสอบ เด็กวัย 5 ขวบไม่มีสัญญาณของการยึดติดหน้าที่ มีการแย้งว่าเป็นเพราะเมื่ออายุ 5 ขวบ ทุกเป้าหมายที่บรรลุด้วยวัตถุเทียบเท่ากับเป้าหมายอื่นทั้งหมด ทว่า เมื่ออายุได้ 7 ขวบ เด็กได้รับแนวโน้มถือความมุ่งหมายที่ตั้งใจไว้เดิมของวัตถุหนึ่งเป็นพิเศษ

การแก้ความลำเอียงโดยทำให้เป็นชิ้นส่วนทั่วไป

สำหรับวัตถุแต่ละอย่าง ให้แยกหน้าที่จากรูปแบบของมัน นักจิตวิทยาชาวนิวซีแลนด์ได้อธิบายเทคนิกการทำอย่างนี้ที่ได้ผลดี[1] คือเมื่อแยกวัตถุหนึ่ง ๆ ออกเป็นชิ้นส่วน ให้ตั้งคำถามสำหรับตนเอง 2 คำถาม (1) "สามารถแยกส่วนนี้ออกเป็นชิ้นส่วนย่อย ๆ อีกไหม" ถ้าทำได้ ให้ทำเช่นนั้น (2) "ชื่อเรียก/รายละเอียดของส่วนนี้เป็นการระบุการใช้หรือไม่" ถ้าใช่ ให้หารายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับรูปร่างและวัสดุของชิ้นส่วนมาใช้แทน

ยกตัวอย่างเช่น เบื้องต้น ให้แบ่งเทียนออกเป็น 2 ส่วนคือไส้เทียนและขี้ผึ้งเทียน คำว่า "ไส้เทียน" ระบุการใช้ คือเพื่อจุดไฟให้มีแสง ดังนั้น ให้เรียกว่า "ด้าย" แต่คำว่า "ด้าย" ก็ยังระบุการใช้ ให้เรียกมันอย่างทั่ว ๆ ไปยิ่งขึ้นคือ เส้นไฟเบอร์ที่นำมาพันเกี่ยวกัน ซึ่งทำให้คิดได้ว่า สามารถนำ "ไส้เทียน" มาทำเป็นขนปลอมสำหรับหนูเลี้ยงได้ เพราะคำว่า "เส้นไฟเบอร์ที่นำมาพันเกี่ยวกัน" ไม่ได้ระบุการใช้ จึงไม่ต้องหาคำอื่นมาแทนใช้อีก

คนที่ฝึกใช้เทคนิกนี้สามารถแก้ปัญหาได้ 67% มากกว่าคนที่ยึดติดในหน้าที่ดังที่งานวิจัยพบในกลุ่มควบคุม เพราะเทคนิกนี้จะกำจัดความรู้สึกว่า ส่วนต่าง ๆ ของวัตถุสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง[2]

อ้างอิง

  1. McCaffrey, Tony (2012-02-07). "Innovation Relies on the Obscure". Psychological Science. SAGE Publications. 23 (3): 215–218. doi:10.1177/0956797611429580. ISSN 0956-7976.
  2. "McCaffrey Develops Toolkit for Boosting Problem-solving Skills - Mechanical and Industrial Engineering - UMass Amherst". mie.umass.edu.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!