วิธีการพัฒนามนุษย์
แผนการพัฒนาอย่างยั่งยืนประกอบด้วยสามส่วน คือ สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
การพัฒนาอย่างยั่งยืน (อังกฤษ : sustainable development ) เป็นหลักการจัดองค์การเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนามนุษย์ พร้อมกับยังรักษาความสามารถของระบบธรรมชาติไว้เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติ และบริการระบบนิเวศซึ่งเศรษฐกิจและสังคมต้องพึ่งพา โดยผลที่คาดหวังคือ สภาพสังคมที่มีการใช้ภาวะการครองชีพและทรัพยากรเพื่อบรรลุความต้องการของมนุษย์โดยไม่บ่อนทำลายบูรณภาพ และเสถียรภาพของระบบธรรมชาติ การพัฒนาอย่างยั่งยืนยังนิยามได้ว่าเป็นการพัฒนาที่บรรลุความจำเป็นในปัจจุบันโดยไม่ลดทอนความสามารถของชนรุ่นหลังในการบรรลุความจำเป็นของพวกเขา เป้าหมายความยั่งยืน เช่น เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระดับสหประชาชาติ ปัจจุบัน จัดการกับความท้าทายทั่วโลก รวมทั้งความยากจน ความเหลื่อมล้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเสื่อมโทรมของธรรมชาติ สันติภาพ และความยุติธรรม
มโนทัศน์การพัฒนาอย่างยั่งยืนสมัยใหม่ส่วนใหญ่รับมาจากรางานบรุนดท์ลันด์ ค.ศ. 1987 แต่ยังมีรากในความคิดก่อนหน้านั้นเกี่ยวกับการจัดการป่าอย่างยั่งยืนและความกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อการพัฒนามโนทัศน์การพัฒนาอย่างยั่งยืนดำเนินไป มันได้เลื่อนความมุ่งสนใจต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการปกป้องสิ่งแดวล้อมสำหรับชนรุ่นหลังมากขึ้น ๆ เศรษฐกิจสมัยใหม่กำลังต่อสู้เพื่อประนีประนอมระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างทะเยอทะยานและข้อผูกมัดในการสงวนทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ ซึ่งปกติทั้งสองประเด็นนี้มักมองว่ามีสภาพขัดแย้งกัน
มโนทัศน์การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องที่ถูกวิจารณ์มาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวมทั้งปัญหาว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นจะให้อะไรยั่งยืน มีการให้เหตุผลว่าการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแบบใช้แล้วหมดไปอย่างยั่งยืนไม่มีอยู่จริง เพราะการสำรวจขุดเจาะใด ๆ สุดท้ายจะทำให้ปริมาณที่มีอยู่จำกัดในโลกหมดไปอยู่ดี เมื่อใใช้ทัศนะดังนี้แล้วทำให้การปฏิวัติอุตสาหกรรม ทั้งหมดไม่ยั่งยืนตามไปด้วย[ 1] : 20f [ 2] : 61–67 [ 3] : 22f มีการให้เหตุผลว่าความหมายของมโนทัศน์ดังกล่าวถูกฉวยโอกาสขยายจาก "การจัดการอนุรักษ์" มาสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ และรายงานบุรนดท์ลันด์ส่งเสริมยุทธศาสตร์ธุรกิจแบบเดิม ๆ สำหรับการพัฒนาโลก โดยแนบมโนทัศน์ที่กำกวมและไม่มีแก่นสารไปด้วยเพื่อใช้เป็นการประชาสัมพันธ์[ 4] : 48–54 [ 5] : 94–99
Viable - ปฏิบัติได้ : สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ก่อให้เกิดผลเชิงบวกทั้งต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
Bearable - รับได้ : สภาพแวดล้อมเกิดสมดุล โดยใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและธรรมชาติสามารถแบกรับได้ ส่วนในด้านสังคม มีการพัฒนาในเชิงบวกด้านสิทธิเสรีภาพและโอกาสของเด็ก สตรี และผู้ด้อยโอกาสอื่นๆ และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ชุมชนยอมรับ
Equitable - ยุติธรรม : การพัฒนาก่อให้เกิดความเท่าเทียมทางด้านเศรษฐกิจและโอกาสของทุกคนในสังคม
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น