การปฏิรูปดินแดนในเยอรมนี

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1789 เป็นภาพของรัฐจำนวนมาก

การปฏิรูปดินแดนในเยอรมนี (อังกฤษ: German Mediatisation) เป็นการปฏิรูปอาณาเขตการปกครองทั้งทางฆราวัสจักรและสังฆาจักร (Mediatisation และ Secularisation) ในเยอรมนีที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1795 จนถึงปี ค.ศ. 1814 ระหว่างปลายสมัยการปฏิวัติฝรั่งเศสสมัยนโปเลียน

“Mediatisation” คือกระบวนการในการผนวกดินแดนของเจ้าผู้ครององค์หนึ่งให้แก่เจ้าผู้ครองนครอีกองค์หนึ่ง ที่มักจะยังคงทิ้งให้สิทธิบางอย่างไว้ให้แก่ผู้ที่ถูกผนวก

“Secularisation” เป็นการเวนคืนดินแดนที่เดิมอยู่ภายใต้การปกครองของสงฆ์เช่นอาณาจักรสังฆราชหรือสำนักสงฆ์มาเป็นของฆราวาส

หลังจากจักรวรรดิการอแล็งเฌียง (Carolingian Empire) ล่มสลายลงเนื่องมาจากกฎการแบ่งดินแดนให้แก่ผู้สืบตระกูลแต่ละคนเท่า ๆ กันตามที่ระบุไว้ในกฎบัตรซาลลิคและการขยายตัวของระบบศักดินา ยุโรปก็กลายเป็นอาณาจักรอิสระเล็กอาณาจักรน้อย พระเจ้าแผ่นดินเยอรมันและจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์องค์ต่อ ๆ มาก็ทรงมอบอำนาจการปกครองให้แก่อาณาจักรสังฆราช, แอบบีและคอนแวนต์ และมอบฐานะให้หลายนครหรือหมู่บ้านทั่วเยอรมนีมีฐานะเป็นเสรีนครจักรวรรดิ[1] (Free imperial city) การปกครองในเยอรมนีไม่เหมือนกับในอังกฤษหรือฝรั่งเศสตรงที่พระมหากษัตริย์เยอรมันไม่ทรงสามารถรวบรวมอำนาจการปกครองเข้ามาเป็นอาณาจักรที่มีศูนย์กลางร่วมกัน ฉะนั้นในช่วงเวลาหลายร้อยปีของการปกครองภายใต้จักรวรรดิการอแล็งเฌียง เยอรมนีก็ประกอบด้วยอาณาจักรอิสระเล็กอาณาจักรน้อยกว่า 300 อาณาจักร

อ้างอิง

  1. Britannica online encyclopedia article on imperial city[1]

ดูเพิ่ม

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!