กองพลทหารราบที่ 2 (อังกฤษ : 2nd Infantry Division ; อักษรย่อ : 2ID, 2nd ID หรือ Second D) หรือสมญานาม "หัวอินเดียนแดง"[ 1] เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพบกสหรัฐ ซึ่งภารกิจหลักในปัจจุบันคือการป้องกันประเทศเกาหลีใต้ ในกรณีที่มีการรุกรานจากประเทศเกาหลีเหนือ มีทหารประมาณ 17,000 นายในกองทหารราบที่ 2 โดยมี 10,000 นายประจำการในเกาหลีใต้[ 3] คิดเป็นประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ของกำลังพลกองทัพสหรัฐในเกาหลี
กองพลทหารราบที่ 2 มีลักษณะเฉพาะตรงที่เป็นกองพลกองทัพบกสหรัฐเพียงกองเดียวที่ประกอบขึ้นจากทหารเกาหลีใต้บางส่วน เรียกว่าโครงการเสริมกำลังทหารของเกาหลีในกองทัพสหรัฐ (KATUSA) โครงการนี้เริ่มใน ค.ศ. 1950 โดยข้อตกลงกับอี ซึง-มัน ผู้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของเกาหลีใต้ ทหารของโครงการเสริมกำลังทหารของเกาหลีในกองทัพสหรัฐประมาณ 27,000 นายเข้าประจำการกับกองกำลังสหรัฐเมื่อสิ้นสุดสงครามเกาหลี ส่วนในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 ทหารโครงการเสริมกำลังทหารของเกาหลีในกองทัพสหรัฐประมาณ 1,100 นายได้เข้าประจำการกับกองพลทหารราบที่ 2 นอกจากนี้ ยังมีทหารดัตช์มากกว่า 4,748 นายที่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมกองพลนี้ระหว่าง ค.ศ. 1950 ถึง 1954[ 4] [ 5]
หมายความว่าเป็นกองพลทหารราบที่ 2-กองพลผสมสาธารณรัฐเกาหลี/สหรัฐ ซึ่งกองพลนี้เสริมด้วยกองพลน้อยชุดรบแบบหมุนเวียนจากกองพลที่เหลือของกองทัพสหรัฐ[ 6]
ประวัติ
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เพรสตัน บราวน์ ขณะประดับเครื่องหมายกองพลทหารราบที่ 2
เอ็ดเวิร์ด แมนน์ ลูวิส พร้อมเครื่องอิสริยาภรณ์
กองพลทหารราบที่ 2 ได้รับการจัดตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1917 ในกองทัพประจำการ [ 7] [ 8] [ 9] [ 10] และได้รับการจัดวางเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1917 ที่บูร์มอ จังหวัดโอต-มาร์น ประเทศฝรั่งเศส[ 11]
การจัดขบวนรบ
กองบัญชาการ กองพลทหารราบที่ 2
กองพลน้อยทหารราบที่ 3
กองพลน้อยนาวิกโยธินที่ 4
กองพลน้อยทหารปืนใหญ่สนามที่ 2
กองพันปืนกลที่ 4
กรมทหารช่างที่ 2
กองพันทหารสื่อสารภาคสนามที่ 1
กองร้อยบังคับการ กองพลทหารราบที่ 2
กองบัญชาการแถวและสารวัตรทหารที่ 2
ชุดอมภัณฑ์ที่ 2
ชุดพลาธิการที่ 2
ชุดทหารช่างที่ 2
ชุดสุขาภิบาลที่ 2
กองร้อยรถพยาบาลที่ 1, 15, 16 และ 23 รวมถึงโรงพยาบาลสนาม[ 12] [ 13]
แหล่งที่มา
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 "Special Unit Designations" . United States Army Center of Military History . 21 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 31 May 2009. สืบค้นเมื่อ 23 June 2010 .
↑ "Commanding General, 2ID/RUCD" . สืบค้นเมื่อ 2021-05-26 .
↑ Tan, Michelle. "Army bans alcohol for 2nd ID in South Korea" . Army Times . สืบค้นเมื่อ 5 April 2013 .
↑ Defensie, Ministerie van (13 January 2016). "Korea-oorlog - Historische missies - Defensie.nl" . www.defensie.nl .
↑ Defensie, Ministerie van (13 January 2016). "Nederlands aandeel Korea-oorlog - Historische missies - Defensie.nl" . www.defensie.nl .
↑ Rotational units join 2ID/RUCD, ensure continued Fight Tonight readiness accessdate=2016-10-28
↑ "Lineage and Honors Information: 2nd Infantry Division" . United States Army Center of Military History . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-09-17. สืบค้นเมื่อ 3 November 2009 .
↑ In World War I, there was only one type of division in the US Army, the infantry division, and all divisions were called simply "Division".
↑ Rinaldi, Richard A. (2004). The U. S. Army in World War I: Orders of Battle . General Data LLC. pp. 29–30. ISBN 0-9720296-4-8 .
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ stanton2006
↑ "2nd Infantry Division Homepage: History" . 2nd Infantry Division. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 7 July 2012. สืบค้นเมื่อ 4 November 2009 .
↑ McClellan, Major Edwin N. (1920). The United States Marine Corps in the World War . Washington D.C.: U.S. Marine Corps History Division. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2017-08-29. สืบค้นเมื่อ 23 February 2017 .
↑ McGrath, John J. (2004). The Brigade: A History: Its Organization and Employment in the US Army . Combat Studies Institute Press. p. 165. ISBN 978-1-4404-4915-4 .
แหล่งข้อมูลอื่น
ทางอากาศ หุ้มเกราะ ทหารม้า ทหารราบ ภูเขา