เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563 ในระหว่างการประชุมทางวีดิทัศน์ของผู้นำของรัฐและรัฐบาลของประเทศสมาชิกสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (SAARC) นายกรัฐมนตรี นเรนทระ โมที ของอินเดีย ได้เสนอจัดตั้งกองทุนฉุกเฉิน เพื่อตอบสนองต่อการระบาดทั่วของโรคติดเชื้อจากไวรัสโคโรนา[1] โครงการดังกล่าวพยายามที่จะลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของโรคในภูมิภาคเอเชียใต้ สมาชิกประเทศอื่น ๆ ของ SAARC แสดงความสนับสนุนต่อนายโมที และข้อเสนอของเขาสำหรับกองทุนดังกล่าว[2]
การบริจาค
อินเดียประกาศว่าประเทศได้บริจาคเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าว นเรนทระ โมที ระบุว่าเงินบริจาคสำหรับกองทุนจากประเทศสมาชิกจะเป็นไปโดยสมัครใจ[3] จนถึงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2563 กองทุนฉุกเฉินมีเงินทุน 21.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้รับเงินบริจาคจากประเทศสมาชิกแล้วเจ็ดประเทศ[4]
วันที่ 21 มีนาคม 2563 มัลดีฟส์ประกาศว่าจะมีส่วนร่วมบริจาค 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ และภูฏานประกาศว่าจะบริจาค 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ[5] ในวันที่ 22 มีนาคม บังคลาเทศประกาศว่าจะบริจาคเงิน 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนปาลและอัฟกานิสถานประกาศว่าจะบริจาคเงินประเทศละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยสมัครใจ[6] วันที่ 23 มีนาคม ศรีลังกาประกาศว่าจะมีส่วนร่วม 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] และวันที่ 9 เมษายน ปากีสถานซึ่งแสดงท่าทีไม่เข้าร่วมในตอนแรกจากประเด็นความขัดแย้งในดินแดนชัมมูและกัศมีร์ ได้ประกาศว่าจะมีส่วนร่วมบริจาค 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[8]
อ้างอิง
|
---|
|
|
|
|
สถาบัน |
---|
ศูนย์ควบคุม และป้องกันโรค | |
---|
โรงพยาบาล และสิ่งเกี่ยวข้อง | |
---|
องค์กร | |
---|
|
|
|
บุคคล |
---|
แพทย์ผู้นำ การปฏิบัติ | |
---|
นักวิจัย | |
---|
เจ้าหน้าที่ | จีน | |
---|
อิตาลี | |
---|
สหราชอาณาจักร | |
---|
สหรัฐ | |
---|
|
---|
อื่น ๆ | |
---|
ผู้เสียชีวิต | |
---|
|
|
ข้อมูล (แม่แบบ) |
---|
ทั่วโลก | |
---|
แอฟริกา | |
---|
เอเชีย | |
---|
ยุโรป (แผนภูมิ) | |
---|
อเมริกาเหนือ | |
---|
โอเชียเนีย | |
---|
อเมริกาใต้ | |
---|
|
|
|