กล้องโทรทรรศน์อวกาศเฮอร์เชล |
---|
Artist's impression of the Herschel spacecraft |
รายชื่อเก่า | Far Infrared and Submillimetre Telescope |
---|
|
ประเภทภารกิจ | กล้องโทรทรรศน์อวกาศ |
---|
ผู้ดำเนินการ | องค์การอวกาศยุโรป / นาซา |
---|
COSPAR ID | 2009-026K |
---|
SATCAT no. | 34937 |
---|
เว็บไซต์ | www.esa.int/herschel |
---|
ระยะภารกิจ | วางแผน: 3 ปี สิ้นสุด: 4 ปี 1 เดือน 2 วัน[1] |
---|
|
|
ข้อมูลยานอวกาศ |
---|
ผู้ผลิต | ธาเลซ อัลลิเนีย สเปซ |
---|
มวลขณะส่งยาน | 3,400 กิโลกรัม (7,500 ปอนด์)[2] |
---|
มวลบรรทุก | กล้องโทรทรรศน์: 315 กิโลกรัม (694 ปอนด์)[2] |
---|
ขนาด | 7.5 โดย 4.0 เมตร (25 โดย 13 ฟุต)[2] |
---|
กำลังไฟฟ้า | 1 kW |
---|
|
|
เริ่มต้นภารกิจ |
---|
วันที่ส่งขึ้น | 14 พฤษภาคม 2009, 13:12:02 UTC |
---|
จรวดนำส่ง | เอเรียน 5 อีซีเอ |
---|
ฐานส่ง | ศูนย์อวกาศเกียนา, เฟรนช์เกียนา |
---|
ผู้ดำเนินงาน | เอเรียนสเปซ |
---|
|
|
สิ้นสุดภารกิจ |
---|
การกำจัด | ปลดประจำการ |
---|
ปิดการทำงาน | 17 มิถุนายน 2013, 12:25 UTC[3] |
---|
|
|
ลักษณะวงโคจร |
---|
ระบบอ้างอิง | L2 (1,500,000 กิโลเมตร / 930,000 ไมล์) |
---|
ระบบวงโคจร | วงโคจรลิสซาจูส์ |
---|
|
|
กล้องโทรทรรศน์หลัก |
---|
ชนิด | ริชชี-คาเทียร์ |
---|
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 3.5 เมตร (11 ฟุต) f/0.5 (กระจกเงาปฐมภูมิ)[4] |
---|
ระยะโฟกัส | 28.5 เมตร (94 ฟุต) f/8.7[4] |
---|
พื่นที่รับแสง | 9.6 ตารางเมตร (103 ตารางฟุต) |
---|
ความยาวคลื่น | 55 ถึง 672 µm (อินฟราเรดไกล) |
---|
|
เครื่องมือ |
---|
HIFI | อุปกรณ์ขยายสัญญาณสำหรับคลื่นอินฟราเรดไกล |
---|
PACS | กล้องอาร์เรย์ตรวจจับแสงและสเปกโตรมิเตอร์ |
---|
SPIRE | เครื่องรับภาพแบบแสงและสเปกตรัม |
---|
|
|
กล้องโทรทรรศน์อวกาศเฮอร์เชล (อังกฤษ: Herschel Space Observatory) เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศขององค์การอวกาศยุโรป ริเริ่มโครงการตั้งแต่ ค.ศ. 1982 ด้วยความร่วมมือของบรรดานักวิทยาศาสตร์ในยุโรป ชื่อโครงการตั้งขึ้นในเวลาต่อมาตามชื่อของ เซอร์ วิลเลียม เฮอร์เชล นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบสเปกตรัมอินฟราเรด และเป็นผู้ค้นพบดาวยูเรนัส[5]
กล้องเฮอร์เชลสามารถตรวจจับวัตถุในอวกาศที่เย็นจัดและมัวจัดที่สุดจากการบดบังของฝุ่นได้ เช่นในเขตหมอกฝุ่นซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ หรือดาราจักรขุ่นมัวที่เริ่มก่อตัวขึ้นจากการรวมกลุ่มของดาวฤกษ์ใหม่ การสังเกตการณ์สามารถมองทะลุเมฆที่กำเนิดดาวฤกษ์ได้ และสามารถตรวจจับโมเลกุลที่เป็นต้นกำเนิดของชีวิต เช่น น้ำ ได้ว่ากำลังก่อตัวขึ้นหรือไม่
องค์การนาซา มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเครื่องมือวัดสำคัญของโครงการนี้จำนวน 2 ใน 3 ชิ้น รวมถึงจะมีบทบาทในการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญด้วย ห้องทดลองการขับเคลื่อนด้วยไอพ่นขององค์การนาซาในเมืองคาลิฟได้พัฒนาและสร้าง โบโลมิเตอร์ "โครงข่ายใยแมงมุม" สำหรับเครื่องรับภาพแบบแสงและสเปกตรัม (spectral and photometric imaging receiver; SPIRE) ให้แก่กล้องเฮอร์เชล ซึ่งมีความละเอียดสูงกว่ารุ่นก่อนหน้าถึง 40 เท่า นอกจากนี้ยังสร้างโครงข่ายอุปกรณ์กำเนิดและรวมสัญญาณ และอุปกรณ์ขยายสัญญาณสำหรับคลื่นอินฟราเรดไกล (heterodyne instrument for the far infrared; HIFI) ด้วย[6]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
ปัจจุบัน | |
---|
ที่วางแผนไว้ | |
---|
ที่เสนอ | |
---|
สิ้นสุดแล้ว | |
---|
หยุดชั่วคราว (ภารกิจเสร็จสิ้น) | |
---|
สูญหาย | |
---|
ยกเลิก | |
---|
ดูเพิ่ม | |
---|
|