กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่กานาเรียส หรือ กรันเตเลสโกปิโอกานาเรียส (สเปน : Gran Telescopio Canarias ) เรียกในชื่อย่อว่า กรันเตกัน (GranTeCan ) หรือ เฆเตเซ (GTC ) เป็นกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสง ขนาด 10.4 ม. ที่หอดูดาวโรเกเดโลสมูชาโชส บนเกาะลาปัลมา ในแคว้นกานาเรียส ประเทศสเปน ถือเป็นกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงแบบเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก[ 3]
การสร้างกล้องโทรทรรศน์นี้ใช้เวลา 7 ปี และใช้เงิน 130 ล้านยูโร[ 4] [ 5] อุปสรรคของความคืบหน้าในการติดตั้งได้แก่สภาพอากาศและความห่างไกลของพื้นที่ ซึ่งทำให้การขนส่งอุปกรณ์มายังที่นี่และการสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ ทำได้ยาก แสงแรก เริ่มในปี 2007 และในปี 2009 จึงได้เริ่มการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ขึ้น
โครงการกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่กานาเรียสเป็นโครงการความร่วมมือของหลายสถาบันจากประเทศสเปนและประเทศเม็กซิโก มหาวิทยาลัยฟลอริดา มหาวิทยาลัยอิสระแห่งชาติเม็กซิโก และสถาบันวิจัยฟิสิกส์ดาราศาสตร์กานาเรียส [ 6] การออกแบบกล้องโทรทรรศน์นี้เริ่มขึ้นตั้งแต่ในปี 1987 มีผู้คนมากกว่า 1,000 คนจาก 100 บริษัทเข้าร่วมในการก่อสร้าง[ 7]
สัดส่วนการใช้งานกล้องโทรทรรศน์นี้แบ่งตามผลงาน ได้แก่ สเปน 90% เม็กซิโก 5% และมหาวิทยาลัยฟลอริดา 5%
ประวัติศาสตร์
โดมของกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่กานาเรียสตอนพระอาทิตย์ตกดิน
แสงแรก
กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่กานาเรียสเริ่มสังเกตการณ์เบื้องต้นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2007 ในเวลานั้นกระจกเงาปฐมภูมิ ที่ใช้นั้นประกอบขึ้นจากกระจกเงา 12 ชิ้น เป็น ZERODUR ที่หล่อจากโรงงานช็อท อาเก ของเยอรมนี ต่อมาได้เพิ่มเป็นรูปหกเหลี่ยม 36 ชิ้น กระจกสะท้อนแสงที่ทำงานร่วมกันทั้งหมดได้รับการควบคุมโดยระบบควบคุมแบบแอกทิฟออปติก [ 8] [ 9] เครื่องมือที่ถูกใช้อยู่ทุกวันคือ OSIRIS (Optical System for Imaging and low Resolution Integrated Spectroscopy ) ในเดือนพฤษภาคม 2009 การสังเกตการณ์ทางวิทยาศาสตร์ตามปกติจึงได้เริ่มขึ้น[ 10]
พิธีเปิด
กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่กานาเรียสเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2009 โดยสมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน เสด็จพระราชดำเนินมาทรงร่วมพิธีเปิดกล้องอย่างเป็นทางการ[ 11] นักดาราศาสตร์ เจ้าหน้าที่รัฐบาล และนักข่าวจากยุโรป และอเมริกามากกว่า 500 คนเข้าร่วมพิธี
อ้างอิง
↑ Rodruíguez Espinosa, J. M.; Alvarez, P. (2002-02-05). "The GTC: STatus and Operation Plans" (PDF) . RevMexAA . 16 : 1–8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2009-08-16. สืบค้นเมื่อ 2009-07-24 .
↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Jochum, Lotti; Castro, Javier; Devaney, Nicholas (2009-02-27). "Gran Telescopio CANARIAS : current status of its optical design and opto-mechanical support system" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2009-08-16. สืบค้นเมื่อ 2009-07-24 .
↑ Klotz, Irene (2009-07-24). "New telescope is world's largest ... for now" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-10-26. สืบค้นเมื่อ 2019-08-22 .
↑ Alvarez, P. "The GTC Project. Present and Future" (PDF) . pp. 1–8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2009-08-16. สืบค้นเมื่อ 2009-07-24 .
↑ Moreno, Carlos (2009-07-25). "Huge telescope opens in Spain's Canary Islands" . [ลิงก์เสีย ]
↑ GTC faq เก็บถาวร 2011-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน GTC digital 8 January 2009
↑ Moreno, Carlos (2009-07-25). "Huge telescope opens in Spain's Canary Islands" . [ลิงก์เสีย ]
↑ "Tests begin on Canaries telescope" . BBC . 14 July 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2018-07-05. สืบค้นเมื่อ 2019-08-29 .
↑ Giant telescope begins scouring space July 14, 2007 เก็บถาวร 2020-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ El Gran Telescopio CANARIAS comienza a producir sus primeros datos científicos เก็บถาวร 2017-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน IAC Press release June 16, 2009 (Spanish)
↑ Heckle, Harold (July 24, 2009). "Huge Telescope Opens in Spain's Canary Islands" . New York Times .