กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้

กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้
ภูมิภาค:เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
ขร้า-ไท
  • กัม-ไท
    • เบ–ไท ?
      • ไท
        • กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้
ภาษาดั้งเดิม:ไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม (ไทดั้งเดิม)
กลุ่มย่อย:
  • ไทยใต้
  • ไทยกลาง-ตะวันออก
กลอตโตลอก:sout3184[1]
{{{mapalt}}}
การกระจายของกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้

กลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Southwestern Tai languages) เป็นกลุ่มภาษาไทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มภาษานี้มีภาษาไทย ภาษาลาว ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทใหญ่เป็นต้น

สาขาย่อย

ภาษาไทยถิ่นใต้ (ปักษ์ใต้) มักจัดให้เป็นภาษาที่มีความหลากหลายมากที่สุด ดูเหมือนว่าภาษานี้จะยังคงสะท้อนการพัฒนาวรรณยุกต์ในตอนต้นซึ่งถูกบดบังในภาษาอื่น (ภาคกลาง - ตะวันออก) ภาษาที่สร้างใหม่มีชื่อว่า ภาษาไทดั้งเดิม ซึ่งถือเป็นบรรพบุรุษของภาษากลุ่มไททั้งหมด

รายการข้างล่างมาจากข้อมูลของ Ethnologue[2]

Ethnologue ได้รวมภาษาบางส่วนเข้าในสาขาย่อยตะวันตกเฉียงใต้ แต่ไม่จัดว่าอยู่ในกลุ่มใดจากรายการข้างบน เช่น ภาษาไทหย่า (จีน), ภาษาปูโก (ลาว), ภาษาปาซี้ (จีน), ภาษาไททัญ (เวียดนาม), ภาษาไทใต้คง (ลาว), ภาษาหงจินไต่ (จีน), ภาษายอง (ไทย) นอกจากนี้ Ethnologue ยังรวมบางภาษาเข้าในภาษาไทโดยไม่มีการจำแนกประเภทเพิ่มเติม เช่น ภาษากวน (ลาว), ภาษาไตโด (เวียดนาม), ภาษาไทปาว (ลาว) และภาษาคัง (ลาว) ตามหลักภูมิศาสตร์ ภาษาเหล่านี้น่าจะอยู่ในกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้[3]

Ethnologue ยังรวมภาษาตั่ยซาปา (ซาปา) ของเวียดนามด้วย แต่ Pittayaporn ไม่รวมภาษานี้เข้าในกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้แต่จัดให้เป็นภาษาที่มีความใกล้ชิดที่สุดนอกกลุ่มภาษานี้ ส่วน Pittayaporn รวมภาษาโย้ยเข้าไป ซึ่งทาง Ethnologue จัดให้เป็นกลุ่มภาษาไทเหนือ[3]

อ้างอิง

  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Southwestern Tai". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. "Southwestern". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-29.
  3. 3.0 3.1 Lewis, M. Paul (2009), Ethnologue: Languages of the World (16 ed.), SIL International

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!