กราตนงายกยาการ์ตาฮาดีนิงรัต

พระราชวังหลวงยกยาการ์ตา
Keraton Ngayogyakarta Hadiningrat
ꦏꦿꦠꦺꦴꦤ꧀ꦔꦪꦺꦴꦒꦾꦏꦂꦠꦲꦢꦶꦤꦶꦔꦿꦠ꧀
โถงปาเกอลารัน
กราตนงายกยาการ์ตาฮาดีนิงรัตตั้งอยู่ในยกยาการ์ตา
กราตนงายกยาการ์ตาฮาดีนิงรัต
ที่ตั้งภายในยกยาการ์ตา
ชื่ออื่นกราตนยกยา
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทพระราชวังหลวง
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมชวา
ที่ตั้งถนนโรโตวีจายัน 1 55133 ยกยาการ์ตา
ประเทศธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
พิกัด7°48′20″S 110°21′51″E / 7.805689°S 110.36406°E / -7.805689; 110.36406
ผู้เช่าในปัจจุบันฮาเมิงกูบูโวโนที่สิบ
เริ่มสร้าง1755
แล้วเสร็จ1756
ลูกค้า
ราชวงศ์ฮาเมิงกูบูโวโน
เจ้าของสุลต่านยกยาการ์ตา
ข้อมูลทางเทคนิค
พื้นที่1.4 เฮกตาร์ (3.5 เอเคอร์)
เว็บไซต์
http://www.kratonjogja.id
ส่วนหนึ่งของ
แนวแกนจักรวาลวิทยาของนครยกยาการ์ตาและโบราณสถาน
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: ii, iii
อ้างอิง1671
ขึ้นทะเบียน2023 (สมัยที่ 45th)

พระราชวังหลวงยกยาการ์ตา หรือ กราตนงายกยาการ์ตาฮาดีนิงรัต (อินโดนีเซีย: Keraton Ngayogyakarta Hadiningrat, ชวา: ꦏꦿꦠꦺꦴꦤ꧀ꦔꦪꦺꦴꦒꦾꦏꦂꦠꦲꦢꦶꦤꦶꦔꦿꦠ꧀, อักษรโรมัน: Kadhaton Ngayogyakarta Adiningrat) เป็นพระราชวังในนครยกยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ที่ประทับของสุลต่านแห่งยกยาการ์ตาและพระบรมวงศานุวงศ์ ศูนย์กลางอขงวัฒนธรรมชวาและภายในมีพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงวัตถุของราชวงศ์ พระราชวังมีราชองครักษ์กราตนยกยาการ์ตา

ประวัติศาสตร์

พระราชวังสร้างขึ้นในระหว่างปี 1755–1756 (AJ 1682) ให้แก่ฮาเมิงกูบูโวโนที่หนึ่ง ปฐมสุลต่านแห่งยกยาการ์ตา[1] เป็นสิ่งแรก ๆ ที่กษัตริย์ทำหลังการลงนามสนธิสัญญากียันตีซึ่งยอมรับการสถาปนารัฐสุลต่านยกยาการ์ตาภายใต้บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์[1] โดยเลือกเอาพื้นที่ที่เป็นป่าต้นบันยัน ขนาบข้างด้วยแม่น้ำสองสาย[1]

ในวันที่ 20 มิถุนายน 1812 เซอร์สแตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ นำกองทัพ 1,200 นายจากสหราชอาณาจักรเข้าตีนครหลวงยกยาการ์ตา ซึ่งยกยาการ์ตาปราชัยแก่อังกฤษ พระราชวังถูกบุกทำลายและเผาทำลาย รัฐสุลต่านถูกเปลี่ยนมือมาอยู่ใต้ปกครองของอังกฤษเป็นช่วงสั้น ๆ ก่อนจะส่งคืนแก่ดัตช์[2] ส่วนใหญ่ของพระราชวังดังที่เห็นในปัจจุบันนี้สร้างขึ้นในสมัยของฮาเมิงกูบูโวโนที่แปด (ครองราชย์ 1921 ถึง 1939) และมีการสร้างขึ้นใหม่อีกหลังแผ่นดินไหวในปี 1876 และ 2006[3]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 OBYEK PENELITIAN, http://elib.unikom.ac.id/
  2. When Raffles ran Java, Tim Hanningan, historytoday.com
  3. Kraton, yogyes.com

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!