4 จี (4G) กล่าวถึงมาตรฐานโทรศัพท์มือถือที่เป็นรุ่นมาตรฐานที่ต่อจาก 3G และ 2G ซึ่ง 4G จะสามารถเล่นบนคลื่นความถี่ 2100 2500 และ 2600 ขึ้นอยู่กับภูมิภาคและผู้ให้บริการ ซึ่งในประเทศไทย ทรูมูฟเอชเปิดตัวไปเป็นค่ายแรก เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556[1] ดีแทคเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และเอไอเอส 4 จี แอดวานซ์ เปิดตัวไปเป็นค่ายสุดท้ายเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ต่อมาทาง บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS ร่วมแชร์เสาสัญญาณกับเครือข่าย TOT เป็น AIS-T 4G[2] เพื่อให้สัญญาณครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2564 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS ได้ประกาศรองรับคลื่นความถี่ใหม่เป็นคลื่น 5G[3] ถึงปัจจุบัน
การประกาศ
IMT Advanced ที่กำหนดโดยไอทียู ที่มีข้อกำหนดว่า อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลต้องมีค่าข้อมูลสูงสุดที่ 100 Mbit/s ในช่วง high mobility และ 1 Gbit/s ในช่วง low mobility [4]
เทคโนโลยี LTE ถูกเรียกแทน "4G" โดยแตกต่างกันออกไปเช่น "3.9G" แม้กระนั้นมาตรฐาน LTE ในปี 2552 ยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานของทาง "IMT-Advanced"
โดยมีการพัฒนาเป็น LTE Advanced ปรับปรุงการใช้งาน [5]
ในขณะเดียวกันได้มีการพัฒนา IEEE 802.16m WiMax 4G เช่นกัน[6]
การพัฒนา
การพัฒนาได้มีการจัดทำที่ประเทศสวีเดนและนอร์เวย์ [7] และเริ่มมีการใช้จริงใน ประเทศอเมริกาโดยบริษัท Sprintโดยมีระบบโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบไร้สาย WiMax มีความเร็วสูงสุดที่ 10 Mbit/s[8]
และในประเทศ สวีเดน บริษัท TeliaSonera ได้มีการขยายการให้บริการไปยังกรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน และกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์
- สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบมัลติมีเดียได้อย่างรวดเร็ว[9]
- แบนด์วิดท์ที่กว้างกว่าเดิม ทำให้มีอัตราความเร็วในการรับ-ส่งที่มากกว่า 3G
- สามารถใช้งานได้ทั่วโลก
- ค่าใช้จ่ายถูกลงกว่าเดิม
ระบบความเข้ากันได้
เพิ่มเติม : ข้อมูลความเร็วข้างต้นเป็นความเร็วสูงสุดทางทฤษฎีและอาจขึ้นอยู่กับการใช้งานเสาสัญญาณภายนอก ระยะห่างระหว่างเสาสัญญาณ การเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ ข้อจำกัดของเทคโนโลยี ขนาดของย่านความถี่ และอื่นๆ
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น