ไกซาร์ (ละติน : Caesar , ออกเสียง: [ˈkae̯.sar] ; กรีกโบราณ : Καῖσαρ ) เป็นตำแหน่ง ของผู้เป็นจักรพรรดิ ที่มีที่มาจากชื่อสกุล ของจูเลียส ซีซาร์ ผู้เผด็จการโรมัน การเปลี่ยนแปลงจากชื่อตระกูลเป็นตำแหน่งที่ถือครองโดยจักรพรรดิโรมัน สามารถสืบต้นตอได้ถึง ค.ศ. 68 หลังการล่มสลายของราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอุส
ต้นกำเนิด
ผู้ใช้ "ไกซาร์" ในฐานะชื่อสกุลคนแรกคือแซ็กสตุส ยูลิอุส ไกซาร์ ผู้ที่น่าจะเป็นบรรพบุรุษร่วมของลูกหลานทั้งหมดในตระกูลยูลิอี ไกซาเรส (Julii Caesares)[ 1] (กาอิอุส) จูเลียส ซีซาร์ (ยูลิอุส ไกซาร์) เป็นเหลนชายของแซ็กสตุส หลังจูเลียส ซีซาร์ ก่อสงคราม กับวุฒิสภา แล้วยึดครองสาธารณรัฐโรมัน เขาตั้งตำแหน่ง ดิกตาตอร์แปร์แปตูโอ (dictator perpetuo ) หรือ "ผู้เผด็จการตลอดชีพ" ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เขาครองอยู่เพียงประมาณเดือนเดียวก่อนถูกลอบสังหาร การเสียชีวิตของจูเลียส ซีซาร์ ไม่ได้นำไปสู่การฟื้นฟูระบอบสาธารณรัฐ แต่ก่อให้เกิดคณะสามผู้นำที่สอง ได้แก่ ผู้เผด็จการสามคนรวมถึงกาอิอุส อ็อกตาวิอุส ลูกชายบุญธรรมของจูเลียส ผู้แบ่งดินแดนและดำรงตำแหน่งเป็นเวลาเกือบ 2 ทศวรรษ ในสมัยของเขา อ็อกตาวิอุสเรียกชื่อตนเองว่า "กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ อ็อกตาวิอุส" โดยมักย่อเป็น "กาอิอุส ไกซาร์"[ 2] เพื่อเน้นย้ำความสัมพันธ์ระหว่างตนกับจูเลียส ซีซาร์ สุดท้าย ความไม่ไว้วางใจและความอิจฉาระหว่างเผด็จการทั้งสามก็ทำให้พันธมิตรล่มสลาย และก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองซึ่งจบลงที่อ็อกตาวิอุสกลายเป็นผู้ควบคุมดินแดนโรมันทั้งหมด โดยอ็อกตาวิอุสประกาศตนเองเป็น อิมแปราตอร์ ("ผู้บัญชาการ ") และสาธารณรัฐโรมันกลายเป็นจักรวรรดิโรมัน อย่างเป็นทางการ เมื่อขึ้นครองอำนาจในตำแหน่งนี้ อ็อกตาวิอุสได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "อิมแปราตอร์ ไกซาร์ เอากุสตุส"[ 3] โดยวุฒิสภาโรมันได้เพิ่มคำยกย่อง เอากุสตุส เข้าไป ด้วยเหตุนี้ ติแบริอุส ลูกชายบุญธรรมและผู้สืบทอดอำนาจของเอากุสตุส จึงทำตามพ่อ (เลี้ยง) และนำชื่อ "ไกซาร์" มาใช้ด้วยในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 4 โดยเปลี่ยนชื่อตนเองเป็น "ติแบริอุส ยูลิอุส ไกซาร์" และเมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิก็นำชื่อ "ติแบริอุส ไกซาร์ เอากุสตุส" มาใช้ ทำให้เกิดการสืบทอดชื่อ "ไกซาร์" มานับตั้งแต่นั้น
อ้างอิง
บรรณานุกรม
อ่านเพิ่ม
Ferjančić, Božidar (1970). "Севастократори и кесари у Српском царству" [Sebastocrators and Caesares in the Serbian Empire]. Зборник Филозофског факултета . Belgrade: 255–269.
Pauly-Wissowa – Realencyclopädie der Classischen Altertumswissenschaft