โรงพยาบาลสนับสนุนการรบ ของกองทัพบกสหรัฐ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลสนามประเภทหนึ่ง ใน ค.ศ. 2000
โรงพยาบาลสนามกาชาดที่จัดตั้งขึ้นหลังแผ่นดินไหวในประเทศฟิลิปปินส์
โรงพยาบาลสนาม (อังกฤษ : field hospital ) เป็นโรงพยาบาล ชั่วคราวหรือหน่วยแพทย์ เคลื่อนที่ที่ดูแลผู้บาดเจ็บ ณ สถานที่นั้น ก่อนที่จะสามารถเคลื่อนย้ายไปยังสถานพยาบาลถาวรได้อย่างปลอดภัย[ 1] คำนี้ได้รับการใช้ครั้งแรกในเวชศาสตร์ทหาร (เช่น โรงพยาบาลศัลยกรรมกองทัพบกเคลื่อนที่ หรือ MASH) แต่ได้รับการสืบทอดมาเพื่อใช้ในสถานการณ์พลเรือน เช่น ภัยพิบัติและเหตุการณ์สำคัญ[ 2]
โรงพยาบาลสนามประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่มีชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่ และมักมีที่พักพิงแบบเต็นท์ กว้าง (บางครั้งเป็นโครงสร้างแบบพองได้ในการใช้งานสมัยใหม่) เพื่อให้สามารถจัดตั้งขึ้นได้ง่าย ใกล้กับแหล่งที่มาของการบาดเจ็บล้มตาย ส่วนในสภาพแวดล้อมในเมือง โรงพยาบาลสนามมักตั้งอยู่ในอาคารที่เข้าถึงได้ง่ายและมองเห็นได้ชัดเจน (เช่น คฤหาสน์ขุนนาง , ภัตตาคาร , โรงเรียน และอื่น ๆ) ในกรณีของโครงสร้างที่ส่งโดยทางอากาศ ชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่มักจะได้รับการวางในคอนเทนเนอร์ปกติ ซึ่งคอนเทนเนอร์นั้นถูกใช้เป็นที่กำบัง โรงพยาบาลสนามโดยทั่วไปมีขนาดใหญ่กว่าที่พยาบาล ชั่วคราว แต่เล็กกว่าโรงพยาบาลทหาร ถาวร
ทั้งนี้ กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เช่น อนุสัญญาเจนีวา หมายรวมถึงข้อห้ามในการโจมตีแพทย์ , รถพยาบาล , เรือพยาบาล หรือโรงเรือนโรงพยาบาลสนามที่แสดงกาชาด , เสี้ยววงเดือนแดง หรือสัญลักษณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับขบวนกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงนานาชาติ
โรงพยาบาลสนามแบ่งตามประเทศ
ฝรั่งเศส
โรงพยาบาลสนามในประเทศฝรั่งเศส บริหารจัดการโดยซามู (บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ของฝรั่งเศส) ซึ่งใช้ชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่สองประเภท (poste sanitaire mobile หรือ PSM) ได้แก่:
ชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่ระดับหนึ่ง (PSM1): สามารถรองรับผู้บาดเจ็บหนักได้ 25 รายบนสนามทุกประเภท ซึ่งมีอุปกรณ์และยาประมาณ 400 กก. บรรจุใน 10 ถัง พร้อมอุปกรณ์โลจิสติกส์ (เทรลเลอร์, เต็นท์พอง, อุปกรณ์ติดตั้งการส่องแสงสว่าง, หน่วยกำเนิด) โดยมีชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่ระดับหนึ่ง 42 แห่งในประเทศฝรั่งเศส
ชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่ระดับสอง (PSM2): สามารถดูแลผู้ป่วยให้ฟื้นคืนได้ 500 คน ซึ่งมีอุปกรณ์และยา 8 ตัน (อ้างอิง 200 รายการ) ในถัง 150 ถัง โดยสามารถแบ่งออกได้ (เป็นไปได้ที่จะจัดตั้งหลายชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่ระดับสองย่อย) นอกจากอุปกรณ์โลจิสติกส์ตามปกติของชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่ระดับหนึ่งแล้ว ชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่ระดับสองยังมีเครือข่ายการกระจายเสียงวิทยุ ยุทธวิธี และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการ โดยมีชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่ระดับสอง 21 แห่งในประเทศฝรั่งเศส
ทั้งนี้ ชุดเครื่องมือแพทย์เคลื่อนที่ดังกล่าวได้รับการเก็บไว้ในโรงพยาบาลที่มีบริการช่วยเหลือทางการแพทย์อย่างเร่งด่วน ตลอดจนบริการฉุกเฉินและช่วยชีวิตเคลื่อนที่
เปแอมอาจัดเป็นสี่โซน ได้แก่:
โซนรับและตรวจร่างกาย ภายใต้ความรับผิดชอบของแพทย์คัดแยก; ผู้บาดเจ็บจะได้รับการคัดแยก และจัดส่งตามความสาหัสของอาการ;
สองโซนสำหรับการรักษาพยาบาล ได้แก่:
โซนฉุกเฉินแน่นอน (UA: urgences absolues ): หน่วยกู้ชีพก่อนถึงโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่สาหัสมาก ได้แก่: เหตุฉุกเฉินที่ร้ายแรงมาก (EU: extrème urgence ) และการบาดเจ็บหนัก (U1);
โซนฉุกเฉินโดยอนุโลม (UR: urgences relatives ): สำหรับผู้ป่วยสาหัส (U2) และบาดเจ็บเล็กน้อย (U3)
โซนเก็บศพ (dépot mortuaire ) สำหรับผู้เสียชีวิต โซนนี้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของตำรวจศาล
ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่จริง ๆ อาจมีหลายเปแอมอา โดยการอพยพไม่ได้ไปที่โรงพยาบาลโดยตรง แต่ไปที่โรงพยาบาลสนามขนาดใหญ่อีกแห่งที่เรียกว่า "ศูนย์การส่งกลับสายแพทย์" (centre médical d'évacuation , CME) เพื่อหลีกเลี่ยงการล้นโรงพยาบาล
ในกรณีของแผนแดง เปแอมอาอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของแพทย์ที่ได้รับเลือกจากผู้อำนวยการหน่วยกู้ภัยทางการแพทย์ (DSM) และเขาจะได้รับความช่วยเหลือจากนักผจญเพลิง ที่ได้รับเลือกจากผู้บัญชาการปฏิบัติการกู้ภัย (COS) โดยนักผจญเพลิงมีหน้าที่ในการระบุผู้บาดเจ็บและงานเลขานุการ ซึ่งเป้าหมายของเปแอมอาคือการเรียงลำดับและรักษาเสถียรภาพของผู้บาดเจ็บก่อนจะส่งไปยังโรงพยาบาล
ระบบที่คล้ายคลึงกันสามารถกำหนดเป็นมาตรการป้องกันสำหรับงานใหญ่ ๆ บางอย่างได้ (การแข่งกีฬา, งานวัฒนธรรม, คอนเสิร์ต...) แต่จัดการโดยสมาคมการปฐมพยาบาล โดยเรียกว่า "สถานพยาบาลที่เชื่อมโยง" (poste associatif médicalisé , PAM) (สำหรับการจัดงานเล็ก ๆ น้อย ๆ จะมีการจัดตั้งจุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยมีเพียงอาสาสมัครผู้เผชิญเหตุคนแรกที่ผ่านการรับรอง และไม่มีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ที่ได้จัดเตรียม)
ส่วนหน่วยทหารป้องกันพลเรือน (Unité d'instruction et d'intervention de la sécurité civile , UIISC ) มีโรงพยาบาลสนามส่งทางอากาศ ระบบทั่วไปเรียกว่าดีกา (détachement d'intervention de catastrophe aéroporté คือหน่วยบรรเทาภัยพิบัติส่งทางอากาศ) และเชี่ยวชาญด้ายการค้นหาและกู้ภัย รวมถึงเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ซึ่งสามารถเสริมได้โดยหน่วยแพทย์ป้องกันพลเรือนเคลื่อนที่เร็ว ที่เรียกว่าแอ็สกรีม (élément de sécurité civile rapide d'intervention médicale ) แอ็สกรีมนั้นเป็นหน่วยผ่าตัด (detachement d'appui chirurgical ) ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยช่วยเหลือทางการแพทย์ (DAMHo, détachement d'appui médical et d'hospitalisation ) โดยหน่วยหลังมีความเชี่ยวชาญในการดูแลก่อนและหลังการผ่าตัด และอนุญาตให้รักษาตัวในโรงพยาบาล 48 ชั่วโมง หน่วยทหารป้องกันพลเรือนยังมีเปแอมอา (คือโครงสร้างการแยกกลุ่ม, การรักษาเสถียรภาพ และการอพยพ) เมื่อโครงสร้างพื้นฐานโรงพยาบาลของประเทศเพียงพอแล้ว
นามิเบีย
กองทัพนามิเบีย ดำเนินการโรงพยาบาลสนามเคลื่อนที่ผ่านคณะกรรมการบริการสุขภาพกลาโหม โดยรัฐบาลเยอรมัน ได้บริจาคให้นามิเบียในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013 เดิมเป็นโรงพยาบาลระดับสองขององค์การสหประชาชาติแต่ตอนนี้ได้รับการอัปเกรดเป็นระดับหนึ่ง โรงพยาบาลสนามบรรจุในเต็นท์ สามารถรองรับผู้ป่วยนอกได้สี่สิบคนต่อวัน และสามารถรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลสนามได้ยี่สิบคน โดยมีหน่วยอภิบาล สองหน่วย, ห้องปฏิบัติการ, หน่วยรังสีเอกซ์ และเครื่องผลิตออกซิเจนแบบพกพา[ 3] ส่วนแผนกทันตกรรมสามารถรักษาได้ 20 คนต่อวันและสามารถดำเนินการได้สี่ครั้งต่อวัน โดยมีปีกอาคารที่สนับสนุนด้านโลจิสติกส์เคลื่อนที่ของตัวเอง ซึ่งประกอบด้วยห้องครัว, เครื่องกรองน้ำ, ถังเก็บน้ำ, โถส้วมและฝักบัว, เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการทิ้งน้ำเสียและของเสีย
ในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 ได้มีการส่งโรงพยาบาลดังกล่าวไปยังท่าอากาศยานนานาชาติโฮเซอา คูทาโก เพื่อช่วยการตอบสนองของประเทศ[ 4]
สหรัฐ
โรงพยาบาลสนามหลังยุทธการที่แซวิจส์สเตชัน (ค.ศ. 1862)
โรงพยาบาลสนามของกองทัพอิตาลี ในแนวรบอิตาลี ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
ในช่วงต้นของการระบาดทั่วของโควิด-19 ศูนย์การประชุมถือเป็นสถานที่ในอุดมคติสำหรับโรงพยาบาลสนามเนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ (ไฟฟ้า, ประปา, น้ำเสีย)[ 5] โรงแรมและหอพักก็ถือว่าเหมาะสมเช่นกัน เพราะสามารถใช้เทคโนโลยีความดันลบ ได้[ 5]
ในกรมแพทย์ของกองทัพบกสหรัฐ คำว่า "โรงพยาบาลสนาม" ถูกใช้เป็นคำทั่วไปสำหรับสถานพยาบาลที่ปรับใช้ได้ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ ค.ศ. 1906 จนถึงปัจจุบัน กรมได้จัดให้มีหน่วยงานเฉพาะที่เรียกว่า "โรงพยาบาลสนาม" โดยมีการหยุดชะงักเล็กน้อย หน่วยติดเลขเหล่านี้ เช่น โรงพยาบาลสนามที่ 10 มีตารางการจัดสถานประกอบการและอุปกรณ์, ขีดความสามารถ และหลักนิยมเฉพาะสำหรับกิจกรรม ซึ่งทั้งหมดจะแตกต่างกันไปตามช่วงเวลา ผู้อ่านควรระมัดระวังไม่ให้สับสนระหว่างโรงพยาบาลสนามอเมริกันทั่วไปกับโรงพยาบาลสนามที่ XX ที่มีหมายเลขเฉพาะ เนื่องจากทั้งสองไม่สามารถใช้แทนกันได้ ทั้งนี้ โรงพยาบาลอพยพ, โรงพยาบาลศัลยกรรมกองทัพบกเคลื่อนที่ (MASH), โรงพยาบาลสนับสนุนการรบ (CSH), โรงพยาบาลสนาม และโรงพยาบาลทั่วไปที่มีหมายเลขเป็นโรงพยาบาลสนามทั้งหมด—แต่โรงพยาบาลศัลยกรรมกองทัพบกเคลื่อนที่, โรงพยาบาลสนับสนุนการรบ, โรงพยาบาลทั่วไป หรือโรงพยาบาลสนามจะใช้แทนกันได้[ 6]
สวิตเซอร์แลนด์
รถบรรทุกขนส่งของกองทัพบกสวิส พร้อมโรงพยาบาลสนามในหน่วยของบรรทุกที่นำมาประกอบ
ในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 กองทัพสวิส ได้ระดมกำลังเพื่อสนับสนุนโรงพยาบาลพลเรือน ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมาตรการที่คล้ายกันได้รับการนำมาใช้ในประเทศอื่น ๆ
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ Joy, Robert J. T. (4 December 2003). "A Grateful Heart: The History of a World War I Field Hospital (review)" . Bulletin of the History of Medicine (ภาษาอังกฤษ). 77 (4): 961–962. doi :10.1353/bhm.2003.0176 . ISSN 1086-3176 . S2CID 71238828 . สืบค้นเมื่อ 19 April 2020 . Field hospitals were mobile, were sent to support the battle line—as was the 103d—and served in every capacity, from disease hospital to resuscitation center to acute care (with surgical reinforcement) to reserve and rest status. Their job was triage, stabilization, and evacuation to the base hospitals.
↑ "In pictures: Field hospitals set up around world" . BBC News . 30 March 2020.
↑ "Namibia Defence Force gets German-made mobile field hospital" . Mar 7, 2013. สืบค้นเมื่อ Jun 7, 2020 .
↑ Namibian, The. "Mobile field hospital set up at airport" . The Namibian . สืบค้นเมื่อ Jun 7, 2020 .
↑ 5.0 5.1 Serbu, Jared (27 March 2020). "Army Corps sees convention centers as good option to build temporary hospitals" . Federal News Network . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2020.
↑ Field Manual 8-55, Planning for Health Service Support, United States Army, February 1985.
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น