โมโน เน็กซ์

บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน)
Mono Next Public Company Limited
ประเภทบริษัทมหาชน SET:MONO
อุตสาหกรรมสื่อและบันเทิง
ก่อตั้งพ.ศ. 2542 (25 ปี)
ผู้ก่อตั้งพิชญ์ โพธารามิก
สำนักงานใหญ่29/9 หมู่ที่ 4 ถนนชัยพฤกษ์ ตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
บุคลากรหลักนวมินทร์ ประสพเนตร ประธานกรรมการ
รายได้2,076 ล้านบาท (ข้อมูลปี พ.ศ. 2559)
รายได้สุทธิ
-249 ล้านบาท (ข้อมูลปี พ.ศ. 2559)
เว็บไซต์www.mono.co.th

บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Mono Next Public Company Limited; ชื่อเดิม: บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Mono Technology Public Company Limited); ชื่อย่อ: MONO) หรือรู้จักกันในนาม “โมโน กรุ๊ป” (อังกฤษ: Mono Group) เป็นบริษัทแม่ ซึ่งเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์การให้บริการข้อมูลและความบันเทิงแบบครบวงจร (อังกฤษ: Entertainment Content Creator) ก่อตั้งขึ้นโดย พิชญ์ โพธารามิก เพื่อดำเนินธุรกิจสื่อการให้บริการข้อมูล และความบันเทิง ได้แก่ ธุรกิจบริการเสริมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ธุรกิจสื่ออินเทอร์เน็ต ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ธุรกิจสื่อทีวี ธุรกิจสื่อวิทยุ ธุรกิจเพลง และธุรกิจภาพยนตร์ มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ Mono29 Studio เลขที่ 29/9 หมู่ที่ 4 ถนนชัยพฤกษ์ ตำบลบางพลับอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556 และย้ายหลักทรัพย์เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 บริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้เข้าร่วมการประมูลทีวีดิจิทัล และได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ ในหมวดหมู่ทั่วไป ความละเอียดมาตรฐาน (SD) และดำเนินการออกอากาศในนามสถานีโทรทัศน์ MONO29 โดยเป็นที่รู้จักมากขึ้นจากจุดยืน "หนังดี ซีรีส์ดัง" จากต่างประเทศที่ทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ[1] และทำให้บริษัทแม่และบริษัทอื่น ๆ ในเครือในรับความสนใจไปด้วย

ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ทางบริษัทได้เปลี่ยนชื่อบริษัท จากบริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน) โดยได้มีการเสนอวาระดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อนำเข้าที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจที่แท้จริงขององค์กรในปัจจุบันที่มีความเชี่ยวชาญในด้านบันเทิง ภาพยนตร์ และซีรีส์ ทั้งไทยและต่างประเทศ[2] และในสัปดาห์ต่อมาได้มีการย้ายอาคารสำนักงานจากอาคารจัสมิน ไปยัง โมโน 29 สตูดิโอ (ปัจจุบันมีชื่อว่า อาคารสำนักงานโมโน เน็กซ์) เลขที่ 29/9 หมู่ที่ 4 ถนนชัยพฤกษ์ ตำบลบางพลับ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 และได้ปรับเปลี่ยนการทำงาน มาเป็นในรูปแบบสำนักงานเคลื่อนที่ ซึ่งทางบริษัทฯ มีการเตรียมการไว้ประมาณ 1-2 ปีแล้ว เพียงแต่รอจังหวะที่เหมาะสม[3] ร่วมทั้งปรับรูปแบบธุรกิจบริษัท เน้นธุรกิจที่มีศักยภาพทำกำไรต่อไป ได้แก่ Mono29 MonoMax และยุติธุรกิจบางส่วนที่ไม่ทำกำไรเพื่อลดต้นทุนให้สามารถทำธุรกิจต่อไปได้ดีผ่านวิกฤติต่างๆ ธุรกิจที่ยุติไปได้แก่ เช่น สิ่งพิมพ์ เพลง ผลิตภาพยนตร์​(ในชื่อ ที โมเมนต์)​และบาสเก็ตบอล

และในวันที่ 21 สิงหาคม ปีเดียวกัน ได้มีการประกาศชื่อบริษัทใหม่ คือ บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน) โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงชื่อย่อ มีผลเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ปีเดียวกัน[4]

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

ข้อมูล ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2565 (แสดงเพียง 5 อันดับแรก) [5]

ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 นายพิชญ์ โพธารามิก 2,004,000,000 57.73%
2 นายนิพนธ์ ลีละศิธร 55,250,000 1.59%
3 นายสันติ โกวิทจินดาชัย 50,000,000 1.44%
4 นายโสรัชย์ อัศวะประภา 40,000,000 1.15%
5 นายชัยรัตน์ โกวิทจินดาชัย 29,315,000 0.84%

ผลิตภัณฑ์ในเครือโมโน

  • ธุรกิจบันเทิง อินเตอร์เน็ท (entertainment & Internet)
    • เว็บไซต์ เอ็มไทย และเว็บไซต์ Horolive
    • นิตยสาร และเว็บไซต์ Gossipstar (ยุติธุรกิจส่วนนี้ไป เมื่อปี 2563)
    • นิตยสาร Alure (ยุติธุรกิจส่วนนี้ไป เมื่อปี 2563)
    • นิตยสาร Rush (ยุติธุรกิจส่วนนี้ไป เมื่อปี 2563)
    • นิตยสาร และเว็บไซต์ Campus Star (ยุติธุรกิจส่วนนี้ไป เมื่อปี 2563)
    • พ็อคเก็ตบุค ภายใต้สำนักพิมพ์ Her Publishing, Move Publishing, Horolive Publishing, Geek Publishing, Maxx Publishing (ยุติธุรกิจส่วนนี้ไป ปี 2563)
    • ร้านหนังสือ และนิตยสารออนไลน์ MBookStore (ยุติธุรกิจส่วนนี้ไป ปี 2563)
  • ธุรกิจตอบรับข่าวสาร (subscription)
    • บริการวิดีโอสตรีมมิ่ง Monomax.me เก็บถาวร 2024-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
    • บริการข่าวสารต่างๆ ภายใต้ Mono-Mobile (ยุติธุรกิจส่วนนี้ไป เมื่อปี 2563)
    • แอพพลิชั่นดูดวง Horolive (เดิมชื่อ Neptune)
  • ธุรกิจสื่อโทรทัศน์
    • สถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล โมโน 29
    • สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม โมโน29 พลัส
    • รับผลิตรายการโทรทัศน์ให้กับ ระบบเคเบิลทีวีของ 3BB GigaTV
  • ธุรกิจสื่อวิทยุ (ยุติธุรกิจส่วนนี้ไป เมื่อปี 2563)
    • สถานีวิทยุ Mono Fresh 91.5 FM และการจัดคอนเสิร์ต
  • ธุรกิจเนื้อหา (content)
    • ผลิตซีรีส์และภาพยนตร์ไทย Mono Original
    • นำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ โมโน ฟิล์ม
    • ผลิตภาพยนตร์ไทย โดย ที โมเมนต์ (ยุติธุรกิจส่วนนี้ไป เมื่อปี 2562)
    • ธุรกิจเพลง โมโนมิวสิก (ยุติธุรกิจส่วนนี้ไป เมื่อปี 2563)
    • ธุรกิจกีฬา บาสเก็ตบอล Mono Sports Entertainment ซึ่งจัดการแข่งขัน Thailand's Basketball League (TBL) และสนับสนุนทีมบาสเก็ตบอล โมโน แวมไพร์ และ โมโน ทิวไผ่งาม (ยุติธุรกิจส่วนนี้ไป เมื่อปี 2563)[6]
    • เกมสำหรับโทรศัพท์มือถือ (ยุติธุรกิจส่วนนี้ไป ปี 2563)
  • การค้าออนไลน์
    • จองโรงแรมออนไลน์ Hotelsthailand.com (ยุติธุรกิจส่วนนี้ไป เมื่อปี 2562)
  • ธุรกิจขายสินค้า

อ้างอิง

  1. เดลินิวส์ (17 มกราคม 2561). "MONO 29 เรตติ้งทะลุอันดับ3 ยกทัพหนังดี-ซีรีส์ดังแน่น" สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2561
  2. โมโน เน็กซ์ (23 มิถุนายน 2563). "Mono Technology เปลี่ยนชื่อเป็น Mono Next เปิดแผนธุรกิจใหม่ แกร่งทะลุวิกฤต". www.facebook.com. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ฝ่ายข่าว โมโน 29 (29 มิถุนายน 2563). "MONO เปิดตัวออฟฟิศใหม่". www.facebook.com. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์ (21 สิงหาคม 2563). "MONO เคาะชื่อใหม่ "โมโน เน็กซ์" มีผล 26 ส.ค.นี้". www.kaohoon.com. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. MONO บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน)
  6. ไทยรัฐออนไลน์ (20 ธันวาคม 2559). "เน้นพัฒนานักกีฬา! โมโน สปอร์ตฯ ร่วมจัดบาสฯ 4 ลีก ปี 2560". สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2561

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!