โคลง เป็นคำประพันธ์ที่บังคับวรรณยุกต์ คือ เอก โท และบังคับสัมผัส มีหลักฐานอันควรเชื่อว่าเป็นคำประพันธ์พื้นเมืองไทยทางเหนือและอีสานก่อนจะแพร่หลายมายังภาคกลาง
ความเป็นมาของโคลง
...[โคลงนั้น] จะคิดแต่งเมื่อครั้งไรไม่ปรากฏ มีเค้าเงื่อนแต่ว่าโคลงนั้นดูเหมือนจะเป็นของพวกไทยข้างฝ่ายเหนือคิดขึ้น มีกำหนดอักษรนับเป็นบาทสองบาท สามบาท สี่บาท เป็นบทเรียกว่าโคลงสอง โคลงสาม โคลงสี่ โคลงเก่า ๆ มีที่รับสัมผัสและที่กำหนดใช้อักษรสูงต่ำน้อยแห่ง แต่มามีบังคับมากขึ้นภายหลัง เห็นจะเป็นพวกไทยข้างฝ่ายใต้ได้รับอย่างมาแต่งประดิษฐ์เติมขึ้น...
จากพระราชาธิบายของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สันนิษฐานว่าชาวไทยล้านนาเป็นผู้ประดิษฐ์โคลงขึ้น และชาวไทยทางใต้คือชาวกรุงศรีอยุธยารับไปดัดแปลงจนพิสดารขึ้น
โคลงของชาวล้านนานั้นเรียก “ครรโลง” “คะโลง” หรือ “กะโลง” [2] มีสามประเภทคือ 1) ครรโลงสี่ห้อง 2) ครรโลงสามห้อง และ 3) ครรโลงสองห้อง กับทั้งยังมีกลวิธีแต่งที่ปลีกย่อยมากมาย เช่น โคลงบทหนึ่งว่า “กรนารายณ์ หมายกงรถ บทสังขยา สราสังวาล...” [3]
หลักฐานที่แสดงว่าชาวล้านนาสนใจและนิยมแต่งโคลงมาแต่โบราณแล้วคือ จินดามณี ซึ่งกล่าวถึงโคลงลาวประเภทต่าง ๆ อันได้แก่ 1) พระยาลืมงายโคลงลาว 2) อินทร์เกี้ยวกลอนโคลงลาว 3) พวนสามชั้นโคลงลาว 4) ไหมยุ่งพันน้ำโคลงลาว และ 5) อินทร์หลงห้องโคลงลาว[4]
คำว่า “ลาว” ข้างต้น หมายถึง ชาวล้านนา ชาวอยุธยาแต่ก่อนเรียกเหมารวมทั้งชาวล้านนาและชาวล้านช้างว่า ลาว[5] ซึ่งถือเป็นความเข้าใจผิดของชาวอยุธยาเอง เพราะชาวล้านนาคือชาวไทยวน ดังปรากฏในลิลิตยวนพ่าย ที่หมายถึง ชาวล้านนาแพ้ ซึ่งเป็นลิลิตที่มีเนื้อหากล่าวถึงสงครามที่อาณาจักรอยุธยามีชัยเหนืออาณาจักรล้านนา
วรรณคดีของชาวไทยฝ่ายใต้เรื่องแรกที่ปรากฏโคลงคือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ อันแต่งด้วยโคลงห้าและร่ายดั้นสลับกัน กับทั้งยังเป็นวรรณคดีเรื่องเดียวที่ปรากฏโคลงห้าอีกด้วย[6] ต่อมาปรากฏเป็นรูปโคลงสี่ดั้นใน ลิลิตยวนพ่าย โคลงสุภาพ (โคลงสอง โคลงสาม และโคลงสี่) ในลิลิตพระลอ ส่วนโคลงสองดั้นและโคลงสามดั้นเกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง อย่างไรก็ตามจากหลักฐานทางวรรณกรรมอาจกล่าวได้ว่ากวีนิยมแต่งโคลงดั้นมาก่อนโคลงสุภาพ[7]
การจำแนกโคลง
โคลงในวรรณกรรมไทย แบ่งได้ดังนี้ คือ
- โคลงสอง
- โคลงสองสุภาพ
- โคลงสองดั้น
- โคลงสาม
- โคลงสามสุภาพ
- โคลงสามดั้น
- โคลงสี่
- โคลงสี่สุภาพ
- โคลงสี่ดั้น
- โคลงห้า
หมายเหตุ:- โคลงห้านั้น พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนชีวะ) [8] สิทธา พินิจภูวดล[9] และประทีป วาทิกทินกร[10] จัดให้เป็นโคลงโบราณ แต่กำชัย ทองหล่อ[11] จัดให้เป็นโคลงสุภาพ ขณะที่ สุภาพร มากแจ้ง[7] แยกออกมาต่างหาก ซึ่งน่าจะเหมาะสมกว่า เพราะมีวรรณกรรมเรื่องเดียวที่แต่งด้วยโคลงห้า ในยุคยังไม่สามารถแยกโคลงดั้นและโคลงสุภาพอย่างชัดเจน
โคลงสอง
โคลงสองสุภาพ
หนึ่งบทมี 14 คำ แบ่งเป็น 3 วรรค 5 - 5 - 4 คำ ตามลำดับ และอาจเพิ่มสร้อยท้ายบทได้อีก 2 คำ บังคับเอก 3 แห่ง โท 3 แห่ง สัมผัสส่งจากท้ายวรรคแรกไปยังท้ายวรรคที่สอง ดังตัวอย่าง
๐ ๐ ๐ เอก โท
|
|
๐ เอก ๐ ๐ โท
|
เอก โท ๐ ๐
|
|
(๐ ๐)
|
๏ โคลงสองเป็นอย่างนี้
|
|
แสดงแก่กุลบุตรชี้
|
เช่นให้เห็นเลบง
|
|
แบบนา ๚ะ
|
หากแต่งหลาย ๆ บท นิยมส่งสัมผัสระหว่างบท จากท้ายบทแรกไปยังคำใดคำหนึ่งในวรรคแรกของบทต่อไป ตัวอย่าง
๏ ไก่ขันเขียวผูกช้าง
|
|
มาเทียมทั้งสองข้าง
|
แนบข้างเกยนาง ๚ะ
|
|
|
๏ ไป่ทันสางสั่งให้
|
|
พระแต่งจงสรรพไว้
|
เยียวปู่เจ้าเรามา ๚ะ
|
|
|
๏ เผือจักลาแม่ ณ เกล้า
|
|
อยู่เยียวเจียนรุ่งเช้า
|
จักช้าทางไกล ๚ะ
|
|
|
— ลิลิตพระลอ
|
กวีบางท่านก็ไม่นิยมส่งสัมผัสระหว่างบท อย่างเช่น น.ม.ส. ในพระนิพนธ์ สามกรุง เป็นต้น
โคลงสองดั้น
หนึ่งบทมี 12 คำ แบ่งเป็น 3 วรรค วรรคละ 5 - 5 - 2 คำ ตามลำดับ และอาจมีสร้อยท้ายบทได้อีก 2 คำ ส่งสัมผัสแบบเดีวกับโคลงสองสุภาพ บังคับเอก 3 แห่ง โท 3 แห่ง เช่นเดียวกับโคลงสองสุภาพแต่ต่างตำแหน่ง หากแต่งหลายบทมีการส่งสัมผัสเช่นเดียวกับโคลงสองสุภาพ ดังตัวอย่าง
๐ ๐ ๐ เอก โท
|
|
๐ เอก ๐ โท โท
|
เอก ๐
|
|
(๐ ๐)
|
๏ โคลงสองเรียกอย่างดั้น
|
|
โดยว่าวรรคท้ายนั้น
|
เปลี่ยนแปลง ๚ะ
|
|
|
๏ แสดงแบบแยบยลให้
|
|
กุลบุตรจำไว้ใช้
|
แต่งตาม ๚ะ
|
|
|
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์โคลงสองดั้น โดยบังคับเอก 3 โท 2 (ลดโท) ในลิลิตนารายณ์สิบปาง ดังตัวอย่าง
๐ ๐ ๐ เอก โท
|
|
๐ ๐ ๐ เอก โท
|
เอก ๐
|
|
(๐ ๐)
|
๏ ทูลคดีแด่ไท้
|
|
อีกขอพระจุ่งได้
|
ดับเข็ญ ๚ะ
|
|
|
๏ พระเป็นเจ้าจึ่งได้
|
|
ตรัสตอบว่าท่านไซร้
|
ทุกข์เหลือ ๚ะ
|
|
|
๏ อยากเอื้อมและช่วยแท้
|
|
แต่เรานี้สุดแก้
|
พระพรหม ๚ะ
|
|
|
๏ อับบรมราชผู้
|
|
เป็นหริสิรู้
|
อุบาย ๚ะ
|
|
|
๏ จงผันผายและเฝ้า
|
|
วอนพระวิษณุเจ้า
|
หริพลัน
|
|
เถิดนา ๚ะ
|
การใช้โคลงสองในวรรณกรรม
ไม่มีวรรณคดีไทยเรื่องใดที่ใช้โคลงสองแต่งทั้งเรื่อง โดยทั่วไปมักแต่งสลับกับร่ายและโคลงชนิดอื่น ๆ ในลักษณะลิลิต อย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งใช้ลงท้ายร่าย โดยโคลงสองสุภาพลงท้ายร่ายสุภาพ และโคลงสองดั้นลงท้ายร่ายดั้น
โคลงสาม
โคลงสามสุภาพ
บทหนึ่งมี 19 คำ แบ่งเป็น 4 วรรค วรรคละ 5 - 5 - 5 - 4 คำตามลำดับ และอาจมีสร้อยท้ายบทได้อีก 2 คำ เช่นเดียวกับโคลงสองสุภาพ บังคับเอก 3 แห่ง โท 3 แห่ง ส่งสัมผัสเพิ่มจากโคลงสองอีกหนึ่งแห่งจากท้ายวรรคแรกไปยังวรรคที่สอง ดังตัวอย่าง
๐ ๐ ๐ ๐ ๐
|
|
๐ ๐ ๐ เอก โท
|
๐ เอก ๐ ๐ โท
|
|
เอก โท ๐ ๐ (๐ ๐)
|
๏ ล่วงลุด่านเจดีย์
|
|
สามองค์มีแห่งหั้น
|
แดนต่อแดนกันนั้น
|
|
เพื่อรู้ราวทาง ๚ะ
|
๏ ขับพลวางเข้าแหล่ง
|
|
แห่งอยุธเยศหล้า
|
แลธุลีฟุ้งฟ้า
|
|
มืดคลุ้มมัวมล ยิ่งนา ๚ะ
|
— ลิลิตตะเลงพ่าย
|
โคลงสามดั้น
บทหนึ่งมี 17 คำ แบ่งเป็น 4 วรรค วรรคละ 5 - 5 - 5 - 2 คำตามลำดับ บังคับเอก 3 แห่ง โท 3 แห่ง สัมผัสเหมือนโคลงสามสุภาพ ดังตัวอย่าง
๐ ๐ ๐ ๐ ๐
|
|
๐ ๐ ๐ เอก โท
|
๐ เอก ๐ โท โท
|
|
เอก ๐ (๐ ๐)
|
๏ พุทธศกสองพันปี
|
|
เศษมีแปดสิบเข้า
|
เหตุรุ่มรุมร้อนเร้า
|
|
ย่ำยี ๚ะ
|
๏ มีเมืองทิศตกไถง
|
|
คือม่านภัยมุ่งร้าย
|
เตลงคั่นบต้านได้
|
|
เด็ดลง ๚ะ
|
— ผืนแผ่นไผทนี้ล้ำ แหล่งคุณ
|
เช่นเดียวกับโคลงสองดั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์โคลงสามดั้น โดยบังคับเอก 3 โท 2 ตำแหน่งเดียวกับโคลงสองดั้น ตัวอย่างจากลิลิตนารายณ์สิบปาง
๐ ๐ ๐ ๐ ๐
|
|
๐ ๐ ๐ เอก โท
|
๐ ๐ ๐ เอก โท
|
|
เอก ๐ (๐ ๐)
|
๏ มุ่งตรงสู่สรยุ
|
|
บรรลุถึงฝั่งใต้
|
เดินเลียบฝั่งนั่นไซร้
|
|
ไป่นาน ๚ะ
|
๏ ประมาณได้โยชน์หนึ่ง
|
|
จึงพระดาบสเถ้า
|
สั่งสองโอรสเจ้า
|
|
หยุดพลัน ๚ะ
|
การใช้โคลงสามในวรรณกรรม
กวีไม่นิยมใช้โคลงสามแต่งวรรณกรรมตลอดเรื่อง นิยมแต่งสลับกับร่ายและโคลงชนิดอื่น ๆ รวมทั้งนิยมแต่งน้อยกว่าโคลงสองมาก อนึ่ง โคลงสามดั้นเริ่มปรากฏในวรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง มีหลักฐานอยู่ในมหาชาติคำหลวง กัณฑ์ทานกัณฑ์ ซึ่งแต่งโดย พระรัตนมุนี วัดราชสิทธาราม ในสมัยรัชกาลที่ 2
โคลงสี่
โคลงสี่ เป็นโคลงที่กวีนิยมแต่งมากที่สุดในกระบวนโคลง สามารถจำแนกโคลงสี่ออกได้หลายประเภท ดังนี้
โคลงสี่ในจินดามณี
ในจินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี กล่าวถึงวิธีการแต่งโคลงสี่ไว้หลายชนิดด้วยกัน คือ โคลงสี่สุภาพ โคลงตรีเพชรทัณฑี โคลงจัตวาทัณฑี โคลงขับไม้ โคลงในกาพย์ห่อโคลง โคลงดั้น ฯลฯ
๐ ๐ ๐ เอก โท
|
|
๐ x (๐ ๐)
|
๐ เอก ๐ ๐ x
|
|
เอก โท
|
๐ ๐ เอก ๐ x
|
|
๐ เอก (๐ ๐)
|
๐ เอก ๐ ๐ โท
|
|
เอก โท ๐ ๐
|
หนึ่งบทมี 30 คำ แบ่งเป็น 4 บาท 3 บาทแรก บาทละ 7 คำ บาทที่สี่ 9 คำ แต่ละบาทแบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 คำ วรรคหลัง 2 คำ เว้นบาทสุดท้าย 4 คำ มีสร้อยได้ 2 แห่ง โคลงบังคับเอก 7 โท 4 ตามตำแหน่ง สัมผัสคำที่ 7 บาทแรกกับคำที่ 5 ของบาทที่สองและบาทที่สาม กับสัมผัสคำที่ 7 บาทที่สองกับคำที่ 5 บาทที่สี่ เอกโทในบาทแรกอาจสลับที่กันได้ และอนุโลมให้ใช้คำตายแทนเอกได้ ดังตัวอย่าง
๏ เสียงลือเสียงเล่าอ้าง
|
|
อันใด พี่เอย
|
เสียงย่อมยอยศใคร
|
|
ทั่วหล้า
|
สองเขือพี่หลับไหล
|
|
ลืมตื่น ฤๅพี่
|
สองพี่คิดเองอ้า
|
|
อย่าได้ถามเผือ ๚ะ
|
— ลิลิตพระลอ
|
โคลงตรีเพชรทัณฑี
๐ ๐ ๐ เอก โท
|
|
๐ x (๐ ๐)
|
๐ เอก x ๐ ๐
|
|
เอก โท
|
๐ ๐ เอก ๐ x
|
|
๐ เอก (๐ ๐)
|
๐ เอก ๐ ๐ โท
|
|
เอก โท ๐ ๐
|
โคลงตรีเพชรทัณฑีนี้แสดงไว้แต่ตัวอย่าง แต่อาจสังเกตไว้ว่าเหมือนโคลงสี่สุภาพ แต่เลื่อนสัมผัสในบาทที่สอง จากเดิมคำที่ 5 ไปเป็นคำที่ 3 แทน ดังตัวอย่าง
๏ ปางนั้นสองราชไท้
|
|
ดาบศ
|
สาพิมตไปมา
|
|
กล่าวแก้ว
|
ประทานราชเอารส
|
|
สองราช
|
เวนแต่ชูชกแล้ว
|
|
จึ่งไท้ชมทาน ๚ะ
|
— (มหาชาติคำหลวง:สักกบรรพ)
|
ในจินดามณี ฉบับหลวงวงศาธิราชสนิท เรียกโคลงแบบนี้ว่า โคลงตรีพิธพรรณ
โคลงจัตวาทัณฑี
๐ ๐ ๐ เอก โท
|
|
๐ x (๐ ๐)
|
๐ เอก ๐ x ๐
|
|
เอก โท
|
๐ ๐ เอก ๐ x
|
|
๐ เอก (๐ ๐)
|
๐ เอก ๐ ๐ โท
|
|
เอก โท ๐ ๐
|
โคลงจัตวาทัณฑี ก็คือโคลงสี่สุภาพที่เลื่อนคำรับสัมผัสในบาที่สองจากคำที่ 5 มาเป็นคำที่ 4 นั่นเองตามตัวอย่าง
๏ โคลงหนึ่งนามแจ้งจัต-
|
|
วาทัณ ฑีฤๅ
|
บังคับรับกันแสดง
|
|
อย่างพร้อง
|
ขบวรแบบแยบยลผัน
|
|
แผกชนิด อื่นเอย
|
ที่สี่บทสองคล้อง
|
|
ท่อนท้ายบทปถม ๚ะ
|
โคลงขับไม้
๐ ๐ ๐ ๐ โท
|
|
๐ x (๐ ๐)
|
๐ ๐ ๐ ๐ x
|
|
๐ โท
|
๐ ๐ ๐ ๐ x
|
|
๐ ๐ (๐ ๐)
|
๐ ๐ ๐ ๐ โท
|
|
๐ โท ๐ ๐
|
โคลงขับไม้ เป็นโคลงสี่สุภาพที่ไม่บังคับเอก บังคับแต่โทสี่แห่ง บาทแรกโทจะอยู่คำที่ 4 หรือ 5 ก็ได้ ให้แต่งครั้งละ 2 บท มีสัมผัสระหว่างบทด้วย ตัวอย่าง
๏ พระเกียรติรุ่งฟุ้งเฟื่อง
|
|
ฦๅชา
|
ทั่วท่วนทุกทิศา
|
|
นอบน้อม
|
ทรงนามไท้เอกา
|
|
ทศรถ
|
กระษัตรมาขึ้นพร้อม
|
|
บ่เว้นสักคน ๚ะ
|
๏ เดชพระบารมีล้น
|
|
อนันต์
|
จักนับด้วยกัปกัลป์
|
|
ฤๅได้
|
สมภารภูลแต่บรรพ์
|
|
นาเนก
|
ยิ่งบำเพ็งเพิ่มไว้
|
|
กราบเกล้าโมทนา ๚ะ
|
โคลงกระทู้
โคลงกระทู้ เป็นลักษณะพิเศษของการแต่งโคลง โดยบังคับคำขึ้นต้นแต่ละบาทของโคลงส่วนมากมักใช้แต่งกับโคลงสี่ ซึ่งกำชัย [11] ระบุว่า โคลงกระทู้คือโคลงสี่สุภาพนั่นเอง
- บาทละหนึ่งคำ เรียกว่า กระทู้เดี่ยว
- บาทละสองคำ เรียกว่า กระทู้คู่
- บาทละสามคำ เรียกว่า กระทู้สาม
- บาทละสี่คำ เรียกว่า กระทู้สี่
ลักษณะการใช้กระทู้อาจใช้คำเดียวกันทุกบาท หรือคำต่างชุดกันก็ได้ ถ้าเป็นคำเดียวกันเรียกว่า กระทู้ยืน คำที่นำมาเป็นกระทู้อาจจะมีความหมายหรือไม่ก็ได้ เช่น ทะ-ลุ่ม-ปุ่ม-ปู อาจเป็นคำคล้องจองก็ได้ เช่น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น หรืออาจมีข้อความอื่นใดตามความประสงค์ของผู้ประพันธ์
ตัวอย่างโคลงกระทู้ ทะ-ลุ่ม-ปุ่ม-ปู
๏ ทะ แกล้วซากเกลื่อนฟื้น
|
|
อยุธยา
|
ลุ่ม แห่งเลือดน้ำตา
|
|
ท่วมหล้า
|
ปุ่ม อิฐฝุ่นทรายสา-
|
|
มารถกล่าว
|
ปู แผ่สัจจะกล้า
|
|
ป่าวฟ้าดินฟัง ๚ะ
|
— กระทู้พม่า
|
โคลงกระทู้กวีมักใช้แต่งท้ายเรื่อง เพื่อบอกจุดมุ่งหมายในการแต่งหรือชื่อผู้แต่ง นอกนั้นแต่งแทรกไว้ในวรรณกรรมเพื่อเพิ่มความไพเราะ แสดงความสามารถของผู้แต่ง นอกจากนี้กวีอาจจะดัดแปลงโคลงกระทู้ให้พิศดารตามความประสงค์ก็ได้ เช่น กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงแต่งกาพย์สุรางค์คนางค์ 28 จำนวน 5 บท แล้วนำคำในกาพย์แต่ละวรรคแยกเป็นกระทู้เดี่ยวในโคลงกระทู้ 35 บท หรือนายชิต บุรทัต แต่งวิชชุมาลาฉันท์ 4 บท แล้วนำคำในแต่ละวรรคไปแยกเป็นกระทู้เดี่ยวเป็นโคลง 32 บท เป็นต้น
โคลงสี่ดั้น
ในจินดามณีฉบับพระโหราธิบดี เรียกว่า "ฉันทจรรโลงกลอนดั้น" และมิได้อธิบายอะไร เพียงแต่ยกตัวอย่างโคลงไว้เท่านั้น ต่อมาในจินดามณีฉบับหลวงวงศาธิราชสนิทจึงปรากฏแผนผังสมบูรณ์ และจำแนกโคลงดั้นออกเป็น 2 ชนิด คือ โคลงดั้นวิวิธมาลี และโคลงดั้นบาทกุญชร ตามลักษณะการส่งสัมผัสระหว่างบท ดังตัวอย่าง
๐ ๐ ๐ เอก โท
|
|
๐ x (๐ ๐)
|
๐ เอก ๐ ๐ ๐
|
|
เอก โท
|
๐ ๐ เอก ๐ x
|
|
๐ เอก (๐ ๐)
|
๐ เอก ๐ โท โท
|
|
เอก y
|
๐ ๐ ๐ เอก โท
|
|
๐ x (๐ ๐)
|
๐ เอก ๐ ๐ y
|
|
เอก โท
|
๐ ๐ เอก ๐ x
|
|
๐ เอก (๐ ๐)
|
๐ เอก ๐ โท โท
|
|
เอก ๐
|
- โคลงดั้นวิวิธมาลี หนึ่งบทมี 28 คำ 4 บาท บาทละ 7 คำ แบ่งเป็นบาทละ 2 วรรค วรรคแรก 5 คำ วรรคหลัง 2 คำ เอก 7 โท 4 เหมือนโคลงสี่สุภาพ ต่างกันที่ตำแหน่งเอกโทในบาทสุดท้าย คำที่ 4 -5 เป็นโทคู่ ส่งสัมผัสระหว่างบทแห่งเดียว คือ คำสุดท้ายบทแรกไปยังคำที่ 5 ในบาทที่สองของบทต่อไป ดังตัวอย่าง
๏ เชลงกลโคลงอย่างดั้น
|
|
บรรยาย
|
เสนอชื่อวิวิธมาลี
|
|
เล่ห์นี้
|
ปวงปราชญ์ทั่วทวยหลาย
|
|
นิพนธ์เล่น เทอญพ่อ
|
ยลเยี่ยงฉบับพู้นชี้
|
|
เช่นแถลง ๚ะ
|
๏ เป็นอาภรณ์แก้วก่อง
|
|
กายกระวี ชาติเอย
|
อาตมโอ่โอภาสแสง
|
|
สว่างหล้า
|
เถกิลเกียรติเกริ่นธรณี
|
|
ทุกแหล่ง หล้านา
|
ฦๅทั่วดินฟ้าฟุ้ง
|
|
เฟื่องคุณ ๚ะ
|
- โคลงดั้นบาทกุญชร บังคับเหมือนวิวิธมาลี แต่ส่งสัมผัสระหว่างบท 2 แห่ง จากคำสุดท้ายบาทที่ 3 บทแรกไปยังคำที่ 4 หรือ 5 (คำเอก) ของบทต่อไป กับคำสุดท้ายบาทที่ 4 บทแรกไปคำที่ 5 บาทที่สองของบทต่อไป ดังตัวอย่าง
๏ อีกโคลงดั้นหนึ่ง
|
|
พึงยล
|
บอกเช่นบาทกุญชร
|
|
ชื่ออ้าง
|
วิธีที่เลบงกล
|
|
แปลกก่อน
|
ยากกว่าบรรพ์แสร้งสร้าง
|
|
อื่นแปลง ๚ะ
|
๏ สองรวดกลอนห่อนพลั้ง
|
|
ผิดพจน์
|
เฉกสี่เชิงสารแสดง
|
|
ย่างผ้าย
|
สัมผัสทั่วทุกบท
|
|
ฤๅเคลื่อน คลายเอย
|
บงดั่งบาทข้างย้าย
|
|
ต่อตาม ๚ะ
|
โคลงสี่ในตำรากาพย์
เนื่องจากโคลงจากตำรากาพย์ไม่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมเรื่องใดเลย มีอยู่แต่ในตำราแต่งคำประพันธ์เท่านั้น ปราชญ์รุ่นก่อนมักเรียกโคลงเหล่านี้ว่า โคลงโบราณ
กาพย์สารวิลาสินี
ในคัมภีร์กาพย์สารวิลาสินีมีโคลงอยู่ 8 ชนิด ได้แก่ วิชชุมาลี มหาวิชชุมาลี จิตรลดา มหาจิตรลดา สินธุมาลี มหาสินธุมาลี นันททายี และมหานันททายี มีลักษณะเด่นคือ ไม่บังคับเอกโท บังคับแต่จำนวนคำ และสัมผัส
โคลง 8 ชนิดที่ดัดแปลงมาจากกาพย์สารวิลาสินีดังกล่าวยังอาจแบ่งได้อีกเป็นสองกลุ่ม[6] ดังต่อไปนี้
กลุ่มที่หนึ่ง เป็นโคลงที่มียี่สิบแปดคำ (หนึ่งบทมีสี่บาท หนึ่งบาทมีสองวรรค วรรคหน้ามีห้าคำ วรรคหลังมีสองคำ รวมเป็นยี่สิบแปดคำ) ได้แก่ 1) โคลงวิชชุมาลี 2) โคลงจิตรลดา 3) โคลงสินธุมาลี และ 4) โคลงนันททายี โคลงกลุ่มนี้สังเกตได้จากการที่มีวรรคสุดท้ายของบทเพียงสองคำ
กลุ่มที่สอง เป็นโคลงที่มีสามสิบคำ (หนึ่งบทมีสี่บาท หนึ่งบาทมีสองวรรค วรรคหน้ามีห้าคำ วรรคหลังมีสองคำ ยกเว้นวรรคสุดท้ายของบทมีสี่คำ รวมเป็นสามสิบคำ) ได้แก่ 1) โคลงมหาวิชชุมาลี 2) โคลงมหาจิตรลดา 3) โคลงมหาสินธุมาลี และ 4) โคลงมหานันททายี โคลงกลุ่มนี้สังเกตได้จากการที่มีวรรคสุดท้ายของบทเพียงสี่คำ และมีคำ “มหา” นำหน้าชื่อ
โคลงวิชชุมาลี และโคลงมหาวิชชุมาลี
- วิชชุมาลี แปลว่า มีระเบียบคำกล่าวประหนึ่งว่าสายฟ้าแลบ
- มหาวิชชุมาลี แปลว่า มีระเบียบคำกล่าวประหนึ่งว่าสายฟ้าแลบใหญ่
- ตัวอย่างโคลงวิชชุมาลี
๏ ข้าพระพุทธเกล้า
|
|
มุนินทร์
|
ลายลักษณ์พระบาทหัตถ์
|
|
วิจิตร
|
ชนนิกรไหว้อาจิณ
|
|
คืนค่ำ
|
ตั้งกระหม่อมข้านิตย์
|
|
เท่ามรณ์ ๚ะ
|
|
- ตัวอย่างโคลงมหาวิชชุมาลี
๏ ข้าพระพุทธเกล้า
|
|
มุนินทร์
|
ลายลักษณ์พระบาทหัตถ์
|
|
วิจิตร
|
ชนนิกรไหว้อาจิณ
|
|
คืนค่ำ
|
ตั้งกระหม่อมข้านิตย์
|
|
ต่อเท่าเมื่อมรณ์ ๚ะ
|
|
โคลงจิตรลดา และโคลงมหาจิตรลดา
- จิตรลดา แปลว่า มีระเบียบคำเกี่ยวพันกันประหนึ่งว่าเครือเถาอันงาม
- มหาจิตรลดา แปลว่า มีระเบียบคำเกี่ยวพันกันประหนึ่งว่าเครือเถาอันงามยิ่ง
- ตัวอย่างโคลงจิตรลดา
๏ พระจันทร์เพ็งภาคแผ้ว
|
|
สรัทกาล
|
ชช่วงโชติพรายงาม
|
|
รุ่งฟ้า
|
ให้คนชื่นบานนิตย์
|
|
ทุกหมู่
|
รัศมีเรืองกล้าแหล่ง
|
|
เวหา ๚ะ
|
|
- ตัวอย่างโคลงมหาจิตรลดา
๏ พระจันทร์เพ็งภาคแผ้ว
|
|
สรัทกาล
|
ชช่วงโชติพรายงาม
|
|
รุ่งฟ้า
|
ให้คนชื่นบานนิตย์
|
|
ทุกหมู่
|
รัศมีเรืองกล้าแหล่ง
|
|
แห่งห้วงเวหา ๚ะ
|
|
โคลงสินธุมาลี และโคลงมหาสินธุมาลี
- สินธุมาลี แปลว่า มีระเบียบคำกล่าวประหนึ่งว่าระเบียบคลื่นในแม่น้ำ
- มหาสินธุมาลี แปลว่า มีระเบียบคำกล่าวประหนึ่งว่าระเบียบคลื่นในแม่น้ำใหญ่
- ตัวอย่างโคลงสินธุมาลี
๏ ข้าแต่พระพุทธเจ้า
|
|
ใจปราชญ์
|
รัศมีองค์โอภาส
|
|
รุ่งฟ้า
|
พระสุรเสียงเพราะฉลาด
|
|
โลมโลก
|
สัตบุรุษทั่วหล้า
|
|
ชมนิตย์ ๚ะ
|
|
- ตัวอย่างโคลงมหาสินธุมาลี
๏ ข้าแต่พระพุทธเจ้า
|
|
ใจปราชญ์
|
รัศมีองค์โอภาส
|
|
รุ่งฟ้า
|
พระสุรเสียงเพราะฉลาด
|
|
โลมโลก
|
สัตบุรุษทั่วหล้า
|
|
ชมนิตย์ชื่นธรรม ๚ะ
|
|
โคลงนันททายี และโคลงมหานันททายี
- นันททายี แปลว่า มีระเบียบคำกล่าวเป็นที่ให้ซึ่งความเพลิดเพลินแก่บุคคลผู้ฟัง
- มหานันททายี แปลว่า มีระเบียบคำกล่าวเป็นที่ให้ซึ่งความเพลิดเพลินแก่บุคคลผู้ฟังยิ่ง
- ตัวอย่างโคลงนันททายี
๏ พระสุริยทรงเดช
|
|
เสด็จฉาย
|
หาวหนพรายพรายเรือง
|
|
รุ่งเร้า
|
ปทุมิกรผายกลีบ
|
|
รสคลี่
|
เฉกพระพุทธเจ้าตรัส
|
|
เตือนโลก ๚ะ
|
|
- ตัวอย่างโคลงมหานันททายี
๏ พระสุริยทรงเดช
|
|
เสด็จฉาย
|
หาวหนพรายพรายเรือง
|
|
รุ่งเร้า
|
ปทุมิกรผายกลีบ
|
|
รสคลี่
|
เฉกพระพุทธเจ้าตรัส
|
|
เตือนโลกเห็นธรรม ๚ะ
|
|
กาพย์คันถะ
ในคัมภีร์กาพย์คันถะ มีโคลงสี่อยู่ 2 ชนิด คือ ทีฆปักข์ และรัสสปักข์ มีลักษณะเด่นเช่นเดียวกับโคลงในกาพย์สารวิลาสีนี คือ ไม่บังคับเอกโท กำหนดแต่จำนวนคำและสัมผัส
โคลงทีฆปักข์
- ทีฆปักข์ แปลว่า มีฝักฝ่ายยาว เพราะคำรับสัมผัสผ่อนยาวออกไปทุกบาท ตั้งแต่คำที่ 5 - 4 - 3 ตามลำดับ
๐ ๐ ๐ ๐ ๐
|
|
๐ x
|
๐ ๐ ๐ ๐ x
|
|
๐ y
|
๐ ๐ ๐ x ๐
|
|
๐ ๐
|
๐ ๐ y ๐ ๐
|
|
๐ ๐
|
๏ หญิงดำขำเกลี้ยงยิ่ง
|
|
มีสี
|
ธรรมอื่นเทียมขันตี
|
|
ไป่ได้
|
คำชาวบุรีไพ
|
|
เราะพ่อ
|
สัตว์สบใกล้สีหลี้
|
|
หลบแสยง ๚ะ
|
โคลงรัสสปักข์
- รัสสปักข์ แปลว่า มีฝักฝ่ายสั้น เพราะคำรับสัมผัสคงที่คำรับคำที่ 5 ทุกบาท
๐ ๐ ๐ ๐ ๐
|
|
๐ x
|
๐ ๐ ๐ ๐ x
|
|
๐ ๐
|
๐ ๐ ๐ ๐ x
|
|
๐ ๐
|
๐ ๐ ๐ ๐ x
|
|
๐ ๐ ๐ ๐
|
๏ ชนใดหลงเล่ห์เกื้อ
|
|
กลกาม
|
ลุเล่ห์กิเลสราม
|
|
รื่นเร้า
|
ชนนั้นจะพ้นความ
|
|
ทุกข์ฤๅ
|
กระวีพึงเว้นข้าม
|
|
แห่งห้วงกามา ๚ะ
|
เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้โคลงชนิดต่าง ๆ ในคัมภีร์กาพย์จะบอกว่ามิได้บังคับเอกโท แต่ตัวอย่างที่ให้ไว้ส่วนใหญ่มักมีเอกโท ตามตำแหน่งที่เด่นของโคลงสี่เสมอ
โคลงสี่ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์ขึ้น
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดัดแปลงสัมผัสของโคลงในตำรากาพย์สารวิลาสีนีทั้ง 4 ชนิด แล้วทรงเรียกว่า โคลงโบราณแผลง ดังตัวอย่าง
โคลงวิชชุมาลีแผลง
- เปลี่ยนการรับสัมผัสจากคำที่ 5 บาทที่สี่เป็นคำที่ 4 บาทที่สี่แทน
๐ ๐ ๐ ๐ ๐
|
|
๐ x
|
๐ ๐ ๐ ๐ ๐
|
|
๐ y
|
๐ ๐ ๐ ๐ x
|
|
๐ ๐
|
๐ ๐ ๐ y ๐
|
|
๐ ๐
|
๏ ข้าแต่พระพุทธเกล้า
|
|
มุนินทร์
|
ลายลักษณะบาทหัตถ์
|
|
วิจิตร
|
ชนนิกรไหว้อาจิณ
|
|
คืนค่ำ
|
ตั้งกระหม่อมนิตย์ข้า
|
|
ดุษฎี ๚ะ
|
โคลงจิตรลดาแผลง
- เปลี่ยนการรับสัมผัสในบาทที่สี่ จากคำที่ 4 มาเป็นคำที่ 5
๐ ๐ ๐ ๐ ๐
|
|
๐ x
|
๐ ๐ ๐ ๐ ๐
|
|
๐ y
|
๐ ๐ ๐ x ๐
|
|
๐ ๐
|
๐ ๐ ๐ ๐ y
|
|
๐ ๐
|
๏ พระจันทรเพ็ญแผ้ว
|
|
สรัทกาล
|
ชะช่วงโชติพรายงาม
|
|
รุ่งฟ้า
|
ให้คนชื่นบานนิตย์
|
|
ทุกหมู่
|
รัศมีเรืองโรจน์กล้า
|
|
เวหา ๚ะ
|
โคลงสินธุมาลีแผลง
- เปลี่ยนคำสัมผัสในบาทที่สี่ จากเดิมคำที่ 5 มาเป็นคำที่ 4
๐ ๐ ๐ ๐ ๐
|
|
๐ x
|
๐ ๐ ๐ ๐ x
|
|
๐ y
|
๐ ๐ ๐ ๐ x
|
|
๐ ๐
|
๐ ๐ ๐ y ๐
|
|
๐ ๐
|
๏ ข้าแต่พระพุทธเจ้า
|
|
ใจปราชญ์
|
รัศมีองค์โอภาส
|
|
รุ่งฟ้า
|
พระสุรเสียงเพราะฉลาด
|
|
โลมโลก
|
สัตบุรุษส้าเสก
|
|
ชมนิตย์ ๚ะ
|
โคลงนันททายีแผลง
- เปลี่ยนคำสัมผัสในบาทที่สี่ จากเดิมคำที่ 5 มาเป็นคำที่ 4
๐ ๐ ๐ ๐ ๐
|
|
๐ x
|
๐ ๐ ๐ x ๐
|
|
๐ y
|
๐ ๐ ๐ x ๐
|
|
๐ ๐
|
๐ ๐ ๐ y ๐
|
|
๐ ๐
|
๏ พระสุริยะทรงเดช
|
|
เสด็จฉาย
|
หาวหนพรายพรายเรือง
|
|
รุ่งเร้า
|
ปทุมิกรผายกลีบ
|
|
รสคลี่
|
เฉกพระเป็นเจ้าตรัส
|
|
เตือนโลก ๚ะ
|
นอกจากนี้ ด้วยการเปลี่ยนแปลงการส่งสัมผัส พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์โคลงเลียนแบบโคลงในตำรากาพย์ คือไม่บังคับเอกโท อีก 4 แบบ ใช้ในพระราชนิพนธ์กถานมัสการพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และพระรัตนตรัย คือ โคลงวชิระมาลี โคลงมุกตะมาลี โคลงรัตนะมาลี และโคลงจิตระมาลี ดังตัวอย่าง
โคลงวชิระมาลี
๐ ๐ ๐ ๐ ๐
|
|
๐ x
|
๐ ๐ ๐ x ๐
|
|
๐ y
|
๐ ๐ ๐ ๐ x
|
|
๐ ๐
|
๐ ๐ ๐ ๐ y
|
|
๐ ๐
|
๏ องค์พระพุทธเจ้า
|
|
โคบาล
|
สอนธรรมสมานจิต
|
|
สัตบุรุษ
|
นำแน่วสู่นิรพาณ
|
|
พ้นทุกข์
|
พระนราสภสุทธิ์
|
|
ศาสดา ๚ะ
|
โคลงมุกตะมาลี
๐ ๐ ๐ ๐ ๐
|
|
๐ x
|
๐ ๐ ๐ x ๐
|
|
๐ y
|
๐ ๐ ๐ ๐ x
|
|
๐ ๐
|
๐ ๐ ๐ y ๐
|
|
๐ ๐
|
๏ ธรรมชาติดิเรกรุ้ง
|
|
ชวลิต
|
น้อมนำดวงจิตรจร
|
|
สู่ชอบ
|
สละไตรทุจริต
|
|
เห็นโทษ
|
ธรรมะดั่งกอบแก้ว
|
|
โกยทอง ๚ะ
|
โคลงรัตนะมาลี
๐ ๐ ๐ ๐ ๐
|
|
๐ x
|
๐ ๐ ๐ ๐ x
|
|
๐ y
|
๐ ๐ ๐ x ๐
|
|
๐ ๐
|
๐ ๐ ๐ ๐ y
|
|
๐ ๐
|
๏ อีกผองสาวกเจ้า
|
|
ทรงจำ
|
กำหนดบทพระธรรม
|
|
สอนโลก
|
สงฆ์ประดุจนำทาง
|
|
รอดบาป
|
เหมือนช่วยให้ส่างโศก
|
|
สุดภัย ๚ะ
|
โคลงจิตระมาลี
๐ ๐ ๐ ๐ ๐
|
|
๐ x
|
๐ ๐ ๐ ๐ x
|
|
๐ y
|
๐ ๐ ๐ x ๐
|
|
๐ ๐
|
๐ ๐ ๐ y ๐
|
|
๐ ๐
|
๏ ไตรรัตน์ชงัดยิ่ง
|
|
เทวัญ
|
ใครพึ่งพึงสู่สวรรค์
|
|
แม่นแท้
|
ไตรรัตน์ย่อมกันภัย
|
|
อุบาทว์
|
ใครพึ่งถึงแม้ทุกข์
|
|
เสื่อมสูญ ๚ะ
|
ความแตกต่างของโคลงสี่ในวรรณกรรมกับโคลงสี่ในตำราคำประพันธ์
โคลงสี่ปรากฏในวรรณกรรมตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยในสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นโคลงสี่สุภาพ 3 เรื่องคือ ลิลิตพระลอ โคลงนิราศหริภุญชัย โคลงมังทราตีเชียงใหม่ โคลงดั้นมี 1 เรื่องคือ ลิลิตยวนพ่าย
สมัยอยุธยาตอนกลางโคลงสี่เป็นที่นิยมที่สุด มีวรรณกรรมแต่งด้วยโคลงสี่ถึง 9 เรื่อง ได้แก่ โคลงเรื่องพาลีสอนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม โคลงราชสวัสดิ์ กำศรวลโคลงดั้น โคลงเฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์มหาราช โคลงนิราศนครสวรรค์ กาพย์ห่อโคลงและโคลงอักษรสามของพระศรีมโหสถ และโคลงทวาทศมาส ในจำนวนนี้เป็นโคลงสี่สุภาพ 7 เรื่อง โคลงสี่ดั้น 2 เรื่อง
สมัยธนบุรีมี 2 เรื่องคือ โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี และลิลิตเพชรมงกุฎ
สมัยรัตนโกสินทร์ กวีนิยมแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอน วรรณกรรมที่แต่งด้วยโคลงเด่น ๆ ได้แก่ โคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โคลงนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อย ลิลิตตะเลงพ่าย โคลงดั้นปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ โคลงนิราศนรินทร์ ลิลิตนารายณ์สิบปาง และสามกรุง เป็นต้น
โคลงสี่ที่กวีนิยมใช้ในวรรณกรรมคือโคลงสี่สุภาพและโคลงดั้นที่ปรากฏอยู่ในจินดามณี ส่วนโคลงสี่ในตำรากาพย์ไม่พบว่ากวีใช้แต่งวรรณกรรม นอกจากงานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเท่านั้น
วรรณกรรมในแต่ละสมัย กวีใช้โคลงที่มีลักษณะบังคับแตกต่างจากตำราฉันทลักษณ์สรุปได้ 3 ข้อใหญ่ ๆ คือ
1.การบังคับเอก-โท
มีการใช้ลักษณะ เอก 7 โท 5 และใช้โทคู่ในโคลงสี่สุภาพ เช่น ลิลิตพระลอ มหาชาติคำหลวง โคลงมังทรารบเชียงใหม่ และโคลงนิราศหริภุญชัย
32 ๏ ความคิดผิดรีตได้
|
|
ความอาย พี่เอย
|
หญิงสื่อชักชวนชาย
|
|
สู่หย้าว
|
เจ็บเผือว่าแหนงตาย
|
|
ดีกว่า ไสร้นา
|
เผือหากรักท้าวท้าว
|
|
ไม่รู้จักเผือ ๚ะ
|
33 ๏ ไป่ห่อนเหลือคิดข้า
|
|
คิดผิด แม่นา
|
คิดสิ่งเป็นกลชิด
|
|
ชอบแท้
|
มดหมอแห่งใดสิทธิ์
|
|
จักสู่ ธแม่
|
ให้ลอบลองท้าวแล้
|
|
อยู่ได้ฉันใด ๚ะ
|
— ลิลิตพระลอ
|
มีการใช้เอก 7 โท 3 และไม่ใช้โทคู่ในโคลงสี่ดั้น เช่น ลิลิตยวนพ่าย โคลงทวาทศมาส กำสรวลโคลงดั้น และโคลงดั้นเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
7 ๏ พระมล้างท้าวทั่ว
|
|
ธรณี
|
อันอาจเอากลเอา
|
|
ฬ่อเลี้ยง
|
พระมาก่อภูมี
|
|
ศวรราช
|
อันอยู่โดยยุคติเพี้ยง
|
|
พ่างอารย ๚ะ
|
8 ๏ พระมาแมนสาธุส้อง
|
|
ถวายพร เพิ่มแฮ
|
มาสำแดงชัยชาญ
|
|
เชี่ยวแกล้ว
|
พระมารบาลบร
|
|
ทุกทวีป ไส้แฮ
|
มาสำแดงฤทธิแผ้ว
|
|
แผ่นดิน ๚ะ
|
— ลิลิตยวนพ่าย
|
ดังนั้น หากนับจากข้อมูลในวรรณกรรม โคลงสี่ จึงควรมี 4 รูปแบบคือ
- โคลงสี่สุภาพ เอก 7 โท 4
- โคลงสี่สุภาพ เอก 7 โท 5 (โทคู่)
- โคลงสี่ดั้น เอก 7 โท 4
- โคลงสี่ดั้น เอก 7 โท 3 (โทเดี่ยว)
2.การส่งสัมผัส
สัมผัสระหว่างบาท ในตำราฉันทลักษณ์กำหนดสัมผัสระหว่างบาทของโคลงไว้ 4 แบบคือ แบบโคลงสี่สุภาพ แบบโคลงตรีเพชรทัณฑี(หรือโคลงตรีพิธพรรณ) แบบโคลงจัตวาทัณฑี และแบบโคลงสี่ดั้น
ทั้งนี้การกำหนดตรีพิธพรรณ หรือ จัตวาทัณฑีกำหนดที่คำรับสัมผัสในบาทที่สอง ส่วนบาทอื่น ๆ บังคับรับสัมผัสคำที่ 5 แต่เท่าที่ปรากฏในวรรณกรรม กวีมีอิสระที่จะรับสัมผัสในคำที่ 3, 4 หรือ 5 ของทุกบาทในโคลงดั้น และเรียกตามลักษณะคำรับสัมผัสว่า ตรีพิธพรรณหรือจัตวาทัณฑีด้วย เช่น
ตรีพิธพรรณในบาที่สาม จัตวาทัณฑีในบาทที่ 4
๏ เร่งหมั้นเหลือหมั้นยิ่ง
|
|
เวียงเหล็ก
|
มีกำแพงแลงเลือน
|
|
ต่อต้าย
|
หัวเมืองเต็กเสียงกล่าว
|
|
แก่บ่าว
|
ทังขวาทังซ้ายถ้วน
|
|
หมู่หมาย ๚ะ
|
— กำสรวลโคลงดั้น
|
จัตวาทัณฑี รับสัมผัสคำที่ 4 บาทสามและสี่
๏ ทสพิธธรรมโมชแท้
|
|
ทศสกนธ
|
ทศพัสดุแสดงทส
|
|
เกลศกลั้ว
|
ทศกายพลทศ
|
|
พลภาคย ก็ดี
|
ทศอศุภหมั้วห้อม
|
|
ห่อสกนธ์ ๚ะ
|
— ลิลิตยวนพ่าย
|
สัมผัสระหว่างบท
โดยทั่วไปการส่งสัมผัสระหว่างบทของโคลงสี่ในวรรณกรรมมี 3 แบบ คือ
- แบบที่ 1 ส่งจากคำสุดท้ายของบทแรก ไปยังคำใดคำหนึ่งในวรรคแรกของบทต่อไป มักใช้กับโคลงสี่สุภาพ
- แบบที่ 2 ส่งจากคำสุดท้ายบทแรกไปยังคำที่ 4 หรือ 5 บาทที่สองในบทต่อไป ใช้กับโคลงสี่ดั้นวิวิธมาลี
- แบบที่ 3 ส่งจากคำสุดท้ายบาท 3 ในบทแรกไปยังคำที่ 3, 4 หรือ 5 ในวรรคแรกบทต่อไป กับจากคำสุดท้ายบาท 4 ในบทแรก ไปยังคำที่ 4, 5 ในวรรคแรกบาทสองของบทต่อไป ใช้กับโคลงสี่ดั้นบาทกุญชร
แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีวรรณกรรมบางเรื่องส่งสัมผัสระหว่างบทออกไป เช่น ในมหาชาติคำหลวง กัณฑ์มหาพน มีโคลงสี่สุภาพและโคลงตรีพิธพรรณส่งสัมผัสระหว่างบทแบบโคลงบาทกุญชร ในจิดามณี มีโคลงขับไม้ส่งสัมผัสระหว่างบทแบบโคลงวิวิธมาลี ในลิลิตนารายณ์สิบปาง และพระนลคำหลวง มีโคลงสี่ดั้น และโคลงในตำรากาพย์ ส่งสัมผัสระหว่างบทแบบโคลงสี่สุภาพ
3.การใช้คำสร้อย
ตามตำราฉันทลักษณ์กำหนดไว้ว่า โคลงสี่มีสร้อยได้สองแห่งคือท้ายวรรคแรก และท้ายวรรคที่สาม แต่ในวรรณกรรมกวีทุกสมัยตั้งแต่อยุธยาจนกระทั่งถึงรัชการที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่งโคลงสี่โดยมีสร้อย 3 แห่ง คือ มีสร้อยในบาที่ 4 ด้วย ทั้งโคลงดั้น และโคลงสี่สุภาพ ตัวอย่าง
๏ โฉมแม่จักฝากฟ้า
|
|
เกรงอินทร หยอกนา
|
อินทรท่านเทอกโฉมเอา
|
|
สู่ฟ้า
|
โฉมแม่จักฝากดิน
|
|
ดินท่าน แล้วแฮ
|
ดินฤขัดเจ้าหล้า
|
|
สู่สมสองสม ๚ะ
|
๏ โฉมแม่ฝากน่านน้ำ
|
|
อรรณพ แลฤๅ
|
เยียวนาคเชยชมอก
|
|
พี่ไหม้
|
โฉมแม่รำพึงจบ
|
|
จอมสวาสดิ์ กูเอย
|
โฉมแม่ใครสงวนได้
|
|
เท่าเจ้าสงวนเอง ๚ะ
|
— กำสรวลโคลงดั้น
|
๏ ตีอกโอ้ลูกแก้ว
|
|
กลอยใจ แม่เฮย
|
เจ้าแม่มาเป็นใด
|
|
ดั่งนี้
|
สมบัติแต่มีใน
|
|
ภาพแผ่น เรานา
|
อเนกบรู้กี้
|
|
โกฏิไว้จักยา พ่อนา ๚ะ
|
— ลิลิตพระลอ
|
๏ จรุงพจน์จรดถ้อยห่าง
|
|
ทางกวี
|
ยังทิวาราตรี
|
|
ไม่น้อย
|
เทพใดหฤทัยมี
|
|
มาโนชญ์
|
เชิญช่วยอวยให้ข้อย
|
|
คล่องถ้อยคำแถลง เถิดรา ๚ะ
|
— สามกรุง
|
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า โคลงสี่วรรณคดีมีการใช้สร้อยทั้ง 3 แห่ง คือ บาทแรก บาทที่สาม และบาทที่สี่
โคลงห้า
โคลงห้า เป็นคำประพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมเพียงเรื่องเดียว คือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ ซึ่งเป็นวรรณกรรมร้อยกรองยุคแรกของไทย และไม่ปรากฏว่าต่อมามีกวีใช้โคลงห้าแต่งวรรณกรรมเรื่องใดอีกเลย
ในจินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี กล่าวถึงโคลงห้าไว้เพียงยกตัวอย่างคำประพันธ์ชื่อ มณฑกคติโคลงห้า โดยไม่มีคำอธิบาย แต่ยกตัวอย่างที่สองว่าเป็น อย่างโคลงแช่งน้ำพระพัฒน์ ซึ่งก็คือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ นั่นเอง มีผู้พยายามอธิบายฉันทลักษณ์ของโคลงห้าอยู่หลายคนได้แก่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี (พ.ณ ประมวญมารค) พระยาอุปกิตศิลปสาร และจิตร ภูมิศักดิ์
คำอธิบายของ จิตร ภูมิศักดิ์ ค่อนข้างจะมีน้ำหนักมากกว่าข้อสันนิษฐานของคนอื่น โดยมีข้อสนับสนุนจากลักษณะโคลงลาวที่ปรากฏในวรรณคดีล้านช้างเรื่อง ท้าวฮุ่งท้าวเจือง โดยจิตร อธิบายว่า โคลงห้าเป็นโคลงดั้นชนิดหนึ่ง มีบาทละ 5 คำ นิยมแต่งในอาณาจักรลาวล้านช้างยุคโบราณ ส่งสัมผัสแบบโคลงบาทกุญชร และอาจเพิ่มคำต้นบาท รวมทั้งมีสร้อยได้ทุกบาท ทั้งยังสามารถตัดใช้เพียงบทละ 2 - 3 บาท ได้เช่นเดียวกับโคลงลาวด้วย อีกทั้งเมื่อจัดวางรูปแบบฉันทลักษณ์ตามที่จิตรเสนอ มีความเป็นไปได้ค่อยข้างมาก
ตัวอย่างโคลงห้า จากลิลิตโองการแช่งน้ำ (จัดตามรูปแบบที่จิตรแนะนำ)
๏ นานา |
อเนกน้าว |
เดิมกัลป์
|
จักร่ำ |
จักราพาฬ |
เมื่อไหม้
|
กล่าวถึง |
ตระวันเจ็ด |
อันพลุ่ง
|
|
น้ำแล้งไข้ |
ขอดหาย ๚ะ
|
๏ เจ็ดปลา |
มันพุ่งหล้า |
เป็นไฟ
|
วาบ |
จตุราบาย |
แผ่นคว่ำ
|
|
ชักไตรตรึงส์ |
เป็นเผ้า
|
|
แลบ่ล้ำ |
สีลอง ๚ะ
|
๏ สมรรถญาณ |
ควรเพราะเกล้า |
ครองพรหม
|
ฝูงเทพ |
นองบนปาน |
เบียดแป้ง
|
|
สรลมเต็ม |
พระสุธาวาส
|
|
ฟ้าแจ้งจอด |
นิโรโธ ๚ะ
|
๏ กล่าวถึง |
น้ำฟ้าฟาด |
ฟองหาว
|
|
ดับเดโช |
ฉ่ำหล้า
|
|
ปลาดินดาว |
เดือนแอ่น
|
|
ลมกล้าป่วน |
ไปมา ๚ะ
|
พัฒนาการของโคลง
กวีในแต่ละสมัยได้สอดแทรกประดิษฐการต่างๆ ไว้ในการแต่งโคลง เพื่อให้งานของตนมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษขึ้นกว่าธรรมดา จากการศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมคำโคลงในแต่ละสมัยพบว่ามีลักษณะร่วมสมัยบางประการที่ได้พัฒนามาเป็นขนบการแต่งโคลง ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะที่เพิ่มความไพเราะแก่โคลงนอกเหนือจากฉันทลักษณ์ปกติ ได้แก่
พัฒนาการใช้คำ
การนับคำในร้อยกรองทำได้ 2 แบบ คือ นับแยกหนึ่งพยางเป็นหนึ่งคำ กับนับรวมหลายพยางค์เป็นหนึ่งคำ ซึ่งแต่ละแบบจะให้รสของโคลงที่ต่างกัน
การแต่งโคลงโดยนับแยกหนึ่งพยางค์เป็นหนึ่งคำ
ทำให้เสียงของโคลงมีน้ำหนักชัดเจน พบในงานสมัยต้นอยุธยาเป็นส่วนใหญ่ โดยกวีเพิ่มความไพเราด้วยการซ้ำคำหรือซ้ำเสียงพยัญชนะ การเลือกใช้คำหนักเบาเพื่อสื่ออารมณ์ ตัวอย่างเช่น
๏ รบินรเบียบท้าว
|
|
เบาราณ
|
รบอบรบับยล
|
|
ยิ่งผู้
|
ระเบียบรบิการย
|
|
เกลากาพย ก็ดี
|
รเบอดรบัดรู้
|
|
รอบสรรพ ๚ะ
|
— ลิลิตยวนพ่าย
|
๏ เสียงโหยเสียงไห้มี่
|
|
เรือนหลวง
|
ขุนหมื่นมนตรีปวง
|
|
ป่วยซ้ำ
|
เรือนราษฎร์ร่ำตีทรวง
|
|
ทุกข์ทั่ว กันนา
|
เมืองจะเย็นเป็นน้ำ
|
|
ย่อมน้ำตาครวญ ๚ะ
|
— ลิลิตพระลอ
|
การแต่งโคลงโดยนับรวมหลายพยางค์เป็นหนึ่งคำ
จะทำให้เสียงของโคลงสะบัดไหว มีจังหวะหนัก-เบา เกิดความไพเราะแปลกหู กวีผู้ชอบแต่งโคลงลักษณะนี้ ได้แก่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ สุนทรภู่ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และ น.ม.ส. ตัวอย่าง
๏ พระอนุชาข้าแกล้งกล่าว
|
|
กลอนถวาย
|
พยัญชนะคลาดบาทกลายหลาย
|
|
แห่งพลั้ง
|
ผิดอรรถะขจัดขจายปลาย
|
|
สลายสล่ำ
|
แม้นพลาดประมาทประมาณยั้ง
|
|
โทษะร้ายขจายเสีย ๚ะ
|
— สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์
|
๏ มหาสดำคำไก่ต้น
|
|
ทนดี
|
หางตะเค่เนระภูศรี
|
|
ซ่มกุ้ง
|
ชาเลือดเหมือดคนมี
|
|
สมอพิเภพ เอกเอย
|
ลมป่วนทวนหอมฟุ้ง
|
|
เปลือกไม้ใบยา ๚ะ
|
— โคลงนิราศสุพรรณ
|
๏ การเวกหรือวิเวกร้อง
|
|
ระงมสวรรค์
|
เสนาะมิเหมือนเสนาะฉันท์
|
|
เสนาะซึ้ง
|
ประกายฟ้าสุริยาจันทร์
|
|
แจร่มโลก ไฉนฤๅ
|
เมฆพยับอับแสงสะอึ้ง
|
|
อร่ามแพ้ประพนธ์เฉลย ๚ะ
|
— กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
|
๏ สมบัติขัติยผู้
|
|
ผดุงขัณฑ์
|
เครื่องราชกกุธภัณฑ์
|
|
คู่แคว้น
|
ฉัตรตั้งดั่งไอศวรรย์
|
|
เสวยราชย์
|
คนก็ยับทรัพย์แร้น
|
|
สุดหล้าหาไหน ๚ะ
|
— สามกรุง
|
พัฒนาการด้านการใช้สัมผัสใน
การใช้สัมผัสอักษร
โคลงที่แต่งโดยใช้สัมผัสอักษรจะให้น้ำเสียงหนักแน่นชัดเจนกว่าโคลงที่ใช้สัมผัสสระ และไพเราะกว่าโคลงที่ไม่ใช้สัมผัสเลย
๏ เสร็จพระทางเครื่องต้น
|
|
แต่งกาย ท่านนา
|
สวมสอดสนับเพลาพราย
|
|
อะเคื้อ
|
ภูษิตพิจิตรลาย
|
|
แลเลิศ แล้วแฮ
|
ทรงสุภาภรณ์เสื้อ
|
|
เกราะแก้วก่องศรี ๚ะ
|
— ลิลิตตะเลงพ่าย
|
พระยาตรังคภูมิบาล และกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นผู้นำแบบแผนการใส่สัมผัสอักษรในคำที่ 5 กับ 6 ทุกบาท
๏ เบญจศีลทรงสฤษฎิส้อง
|
|
เสพย์นิพัทธ์ กาลนา
|
บาปเบื่อฤๅรางรคน
|
|
ขาดแท้
|
เบญจาวิธเวรสงัด
|
|
สงบระงับ เหือดเฮย
|
ทั่วทุจริตเว้นแว้
|
|
ว่างาม ๚ะ
|
— ประชุมจากรึกวัดพระเชตุพนฯ
|
การใช้สัมผัสสระ
นิยมใช้เฉพาะในโคลงสี่สุภาพเพราะช่วยทำให้เสียงของโคลงอ่อนหวานขึ้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์โคลงสี่สุภาพ โดยกำหนดสัมผัสสระอย่างเป็นระบบในคำที่ 2 - 3 หรือ 3 - 4 ของทุกบาท ลักษณะเช่นนี้ปรากฏในงานของพระศรีมโหสถ และพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ด้วย ตัวอย่าง
๏ ราตรีศรีส่องฟ้า
|
|
แสดงโฉม
|
แสงสว่างกลางโพยม
|
|
แจ่มฟ้า
|
มหรสพจบการโลม
|
|
ใจโลกย
|
เปียนบ่ายรายเรียงหน้า
|
|
นั่งล้อมเล็งแล ๚ะ
|
— กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ
|
สุนทรภู่ รับอิทธิพลการแต่งโคลงแบบมีสัมผัสสระเช่นนี้มาใช้ในโคลงนิราศสุพรรณ แล้วเพิ่มสัมผัสสระอีกแห่งในคำที่ 7 -8 ของบาทที่สาม และคำที่ 8 - 9 ของบาทสุดท้าย รวมทั้งเพิ่มสัมผัสอักษรในคำที่ 5 - 6 และสัมผัสในอื่น ๆ ตามอัตลักษณ์อีกด้วย ตัวอย่าง
๏ รอกแตแลโลดเลี้ยว
|
|
โลดโผน
|
นกหกจกจิกโจน
|
|
จับไม้
|
ยางเจ่าเหล่ายางโทน
|
|
ท่องเที่ยว เหยี่ยวเอย
|
โฉบฉาบคาบปลาได้
|
|
ด่วนขึ้นกลืนกิน ๚ะ
|
— โคลงนิราศสุพรรณ
|
พัฒนาการด้านฉันทลักษณ์
จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เสนอฉันทลักษณ์โคลงห้าพัฒนา โดยปรับปรุงจากฉันทลักษณ์โคลงห้าในโองการแช่งน้ำ โดยกำหนดให้หนึ่งบทมีสี่บาท หนึ่งบาทมีห้าคำ แบ่งเป็นสองวรรค วรรหน้าสามคำ วรรคหลังสองคำ บังคับเอก 4 โท 4 สัมผัสเหมือนโคลงสี่สุภาพ สร้อยเหมือนสร้อยโคลงดั้น เอกโทวรรคแรกอาจสลับที่กันได้ และโทคู่วรรคที่สี่อาจอยู่แยกกันได้ ดังตัวอย่าง
๐ เอก โท
|
|
๐ x (๐ ๐)
|
๐ ๐ x
|
|
เอก โท
|
๐ ๐ x
|
|
๐ เอก (๐ ๐)
|
๐ โท โท
|
|
เอก ๐ (๐ ๐)
|
๏ กรุงเทพคลุ้ง
|
|
คาวหืน
|
ควันกามกลืน
|
|
กลบไหม้
|
ดาวกลางคืน
|
|
คลุมทาบ
|
เมืองร้องไห้
|
|
เหือดขวัญ ๚ะ
|
๏ น้ำฟ้าฟาด
|
|
ฟองหาว
|
คือกามฉาว
|
|
ชุ่มฟ้า
|
กลิ่นสาบสาว
|
|
กำซาบ
|
กามย้อมหล้า
|
|
แหล่งสยาม ๚ะ
|
— ดาวกลางคืน
|
ศักดิ์สิริ มีสมสืบ กวีรางวัลซีไรต์ ได้บิดฉันทลักษณ์ เพิ่มสัมผัสใหม่ให้กับโคลงสี่ โดยเพิ่มสัมผัสคำที่ ๗ กับคำที่ ๕ ของบาทถัดไป อย่างสม่ำเสมอ (คล้ายกับร่าย) ตัวอย่างโคลงจากหนังสือรวมบทกวี มือนั้นสีขาว
๏ พี่ชายสวมหน้ากาก
|
|
ผีร้าย
|
น้องสาวหวีดวี้ดว้าย
|
|
วุ่นวิ่ง
|
พี่โยนหน้ากากทิ้ง
|
|
แย้มแฉ่ง
|
น้องน้อยวิ่งรี่แย่ง
|
|
ฉกหน้ากากสวม ๚ะ
|
๏ เด็กน้อยสวมหน้ากาก
|
|
ยอดมนุษย์
|
เหินฟากฟ้าเร่งรุด
|
|
โลดลิ่ว
|
แต่เท้ายังเฉียดฉิว
|
|
ยอดหญ้า
|
เด็กน้อยครั้งถอดหน้า
|
|
เจอะหน้าเนื้อหนอ ๚ะ
|
ข้อมูลเกี่ยวกับโคลงที่นำเสนอมานี้ จะช่วยผู้ศึกษากวีนิพนธ์ของไทยเข้าใจฉันทลักษณ์ของโคลงชนิดต่าง ๆ และลักษณะพิเศษของโคลงในแต่ละสมัยที่พัฒนามาเป็นขนบการแต่งโคลงที่ถือว่าไพเราะในปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเข้าใจว่ากวีทุกสมัยได้ใช้เสรีภาพในการสร้างสรรค์กวีนิพนธ์ในกรอบของฉันทลักษณ์แต่ละประเภทตลอดมา
อ้างอิง
- ↑ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2475, 5 มิถุนายน). ตำนานโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน. บันทึกสมาคมวรรณคดี. ม.ป.ท.
- ↑ มณี พยอมยงค์. (2513). ประวัติและวรรณคดีล้านนา. มปท. หน้า 196.
- ↑ นพดล จันทร์เพ็ญ และคนอื่น ๆ. (2520). ร้อยกรอง. กรุงเทพฯ : ธเนศวรการพิมพ์. หน้า 41.
- ↑ กรมศิลปากร. (2512). จินดามณี เล่ม 1-2 กับบันทึกหนังสือจินดามณี และจินดามณีฉบับพระเจ้าบรมโกศ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา. หน้า 37-40.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp เก็บถาวร 2009-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (1 พฤษภาคม 2551).
- ↑ 6.0 6.1 วราภรณ์ บำรุงกุล. (2542). ร้อยกรอง. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ 1999. หน้า 50-51.
- ↑ 7.0 7.1 สุภาพร มากแจ้ง. กวีนิพนธ์ไทย 1. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2535.
- ↑ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนชีวะ). (2514). ชุมนุมนิพนธ์ อ.น.ก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.
- ↑ สิทธิ พินิจภูวดล และคนอื่น ๆ. (2515). ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง.
- ↑ ประทีป วาทิกทินกร และสิทธา พินิจภูวดล. (2516). ร้อยกรอง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
- ↑ 11.0 11.1 กำชัย ทองหล่อ. (2519). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : เจริญรัตน์การพิมพ์.
แหล่งข้อมูลอื่น