โคคา-โคล่า

โคคา-โคล่า
Coca-Cola logo - see "Logo design" section
Coca-Cola bottle - see "Contour bottle design" section
ขวดน้ำอัดลมโคคา-โคล่า
ประเภทน้ำโคล่า
อุตสาหกรรมการผลิตโคคา-โคลา (บริษัท)
ประเทศต้นกำเนิด สหรัฐอเมริกา
เปิดตัว8 พฤษภาคม พ.ศ. 2429 (138 ปี)
สีสีคาราเมล (E-150d)
รูปแบบอื่น
สินค้าที่เกี่ยวข้องเป๊ปซี่
RC Cola
Afri-Cola
Postobón
Inca Kola
Kola Real
Cavan Cola
เว็บไซต์coca-cola.com

โคคา-โคล่า (อังกฤษ: Coca-Cola) หรือเรียกสั้นๆว่า โค้ก (Coke) เป็นน้ำอัดลมโคล่าที่ผลิตโดยบริษัทโคคา-โคล่า ในปี 2013 โค้กถูกขายในกว่า 200 ประเทศและดินแดนทั่วโลก โดยมีผู้บริโภคดื่มเครื่องดื่มของบริษัทมากกว่า 1.8 พันล้านคนต่อวัน[1] โคคา-โคล่าอยู่ในอันดับที่ 94 ในรายชื่อ Fortune 500 ประจำปี 2024 ของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาแบ่งตามรายได้

ส่วนผสมของโค้ก

ส่วนผสมของโค้กถือเป็นความลับของบริษัท โดยส่วนผสมของโค้กนั้น มีพนักงานในบริษัทโคคาโคล่าเพียงไม่กี่คนที่รู้ และได้มีส่วนร่วมในขั้นตอนการผสม โดยทางบริษัทใช้ชื่อส่วนผสมว่า "7X" โดยไม่ได้มีการกล่าวถึงว่า X หมายถึงอะไร และพนักงานบริษัทจะทำการผสมสูตรต่างๆ ตามหมายเลขของส่วนผสม แทนที่ชื่อของส่วนผสมเพื่อป้องกันสูตรรั่วไหล

ในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 พนักงานบริษัทโค้ก 2 คนและเพื่อนอีก 2 คน ถูกจับกุมข้อหาพยายามขโมยสูตรส่วนผสมโค้ก และขายให้แก่เป๊ปซี่ในราคา 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เรื่องเล่าและข่าวลือเกี่ยวกับโค้ก

โค้กมีเรื่องเล่าและข่าวลือมากมาย กล่าวถึงผลเสียเนื่องจากโค้ก ซึ่งข่าวลือยังมีปรากฏแม้แต่ในเว็บไซต์สภากาชาดไทย[2] เรื่องราวต่างๆ ส่วนมากจะเน้นในแนวขำขันและการนำโค้กไปใช้ในรูปแบบต่างๆ เช่น ปริมาณกรดในโค้กมีมากเพียงพอที่จะทำลายอวัยวะภายในร่างกาย ในความเป็นจริงค่าความเป็นกรดด่าง หรือ pH ของโค้กมีค่า 2.5 ซึ่งใกล้เคียงกับมะนาว หรือ เลมอน มีค่า pH 2.4 หรือ ส้ม มีค่า pH 3.5 หรือแม้แต่ข่าวลือว่าตำรวจสหรัฐอเมริกาใช้โค้กในการล้างเลือดบนถนนกรณีเกิดเหตุรถชน หรือแม้แต่โค้กสามารถละลายฟันในช่องปากในตอนกลางคืน หรือโค้กใช้ในการป้องกันการตั้งครรภ์โดยใช้โค้กที่มีฤทธิ์เป็นกรดเทฆ่าอสุจิ ซึ่งข่าวลือต่าง ๆ อาจเป็นเพียงเรื่องที่สร้างขึ้นเพื่อความสนุกสนาน หรืออาจเป็นการโจมตีโค้กโดยฝ่ายที่ต่อต้านน้ำอัดลมซึ่งมองว่าน้ำอัดลมเป็นอาหารขยะชนิดหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นที่น่าสังเกตว่าเรื่องนี้กล่าวถึงชื่อโค้กโดยตรง ไม่มีการกล่าวถึงน้ำอัดลมหรือน้ำโคล่ายี่ห้ออื่นเลย รายการมิธบัสเตอร์สได้เคยมีการทดสอบในการใช้โค้กช่วยในการล้างเลือดที่เปื้อนเสื้อผ้าซึ่งไม่ได้ผล ข่าวลือยังมีกล่าวว่าโค้กใช้ในการขจัดคราบเกลือ บริเวณขั้วแบตเตอรีรถยนต์ให้สะอาดได้ ซึ่งปกติแล้วคราบเกลือสามารถกำจัดได้โดยใช้แค่น้ำอุ่นธรรมดาได้เช่นเดียวกัน

รูปภาพโค้กจากสื่อต่างๆ

ในประเทศไทย

โคคา-โคล่า หรือ โค้ก ออกจำหน่ายในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2492 ในปริมาณบรรจุขวดละ 6.5 ออนซ์ จำหน่ายราคา 1.50 บาท โดย รักษ์ ปันยารชุน นักธุรกิจชาวไทยร่วมกับหุ้นส่วนชาวต่างชาติ คือ Bill Davis และ Ray Derrick และดำเนินการขออนุมัติลิขสิทธิ์ขวด เป็นผู้จัดจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 [3] โดยได้มีการเปิดโรงงานบรรจุขวด "Rak Derrick & Davis Bottling" เพื่อผลิตและจำหน่ายอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 เมษายน 2492[4] และต่อมาได้ขายลิขสิทธิ์ดังกล่าวให้แก่ กลุ่มบริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ของ พจน์ สารสิน ในปี 2502 โคคา-โคล่า จัดจ้างผลิต ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ในประเทศไทย เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2521[5]

ปัจจุบัน กลุ่มบริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ดำเนินการผลิตและจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ของ โคคา-โคล่า ทั้งประเทศ ยกเว้น 14 จังหวัดภาคใต้ ที่มี บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่ม โคคา-โค่ลา โดยมี บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบด้านกิจกรรมการตลาด โดยได้มีการรวมตัวกันเป็น กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย[6]

ในประเทศไทยมีการจัดการประกวดดนตรี โดยใช้ชื่อว่า โค้กมิวสิกอวอร์ด มีศิลปินที่เคยชนะเลิศจากเวทีประกวดแห่งนี้ เช่น โมเดิร์นด็อก (พ.ศ. 2535), อัมรินทร์ เหลืองบริบูรณ์ (พ.ศ. 2536), สมเกียรติ (พ.ศ. 2553)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Elmore, 2013, p. 717
  2. น้ำ กับ โค้ก เก็บถาวร 2007-05-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผลเสียของโค้กจากเว็บไซต์สภากาชาดไทย
  3. โคคา โคลามาถึงไทยแล้ว, หน้า 39 กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485- 2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3
  4. “พันตรี รักษ ปันยารชุน” นำเข้า “โค้ก” ให้ชาวไทยได้ลิ้มรสเป็นครั้งแรก และเปลี่ยนโลโก้เป็นสีเขียว" The People
  5. ใครผลิตโค้ก ในประเทศไทย? ลงทุนแมน สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2019
  6. กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย เก็บถาวร 2019-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด

แหล่งข้อมูลอื่น

หนังสือและบทความ

  • อภิสิทธิ์ ปานอิน และวีรภัทร ผิวผ่อง. (2564). ต้องโคกซิ! ใน สารสิน: อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ นายพงส์ สารสิน. บรรณาธิการโดย วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย. หน้า 272-333. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

เว็บไซต์

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!