แก้วหูทะลุ (อังกฤษ: perforated eardrum) คือภาวะที่แก้วหูมีรูทะลุเกิดขึ้น อาจเกิดภายหลังการติดเชื้อหูชั้นกลางอักเสบ อุบัติเหตุ (เช่นจากการแคะหู) แรงระเบิด การกระแทก (เช่นจากการถูกตบเข้าหู) เสียงดัง หรือการผ่าตัด หรือจากการเปลี่ยนแปลงความกดอากาศ เช่นการขึ้นลงเครื่องบินขณะที่ท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ (เช่น ขณะเป็นหวัด)[1]
แก้วหูทะลุทำให้เกิดการได้ยินลดลงชนิดที่เป็นจากการนำเสียง (conductive hearing loss) ซึ่งมักเป็นอยู่ชั่วคราว อาการอื่นเช่นการได้ยินเสียงในหู ปวดหู หรือมีสารคัดหลั่งไหลจากหูได้[2]
การรักษา
รูทะลุมักหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ หรือ 2-3 เดือน[3] บางกรณีเท่านั้นที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ซึ่งอาจทำโดยการแปะแผ่นเยื่อเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมรูทะลุ หรือการผ่าตัดเยื่อแก้วหูเทียม[4][5] บางกรณีรูทะลุอาจคงอยู่ได้หลายปีและไม่สามารถหายเองได้ กรณีเช่นนี้มักเกิดจากอุบัติเหตุระหว่างการผ่าตัดหู
การได้ยินมักกลับเป็นปกติได้ในที่สุด แต่หากมีการติดเชื้อเรื้อรังอาจทำให้การได้ยินเสียไปอย่างถาวร ผู้ป่วยที่มีรูทะลุใหญ่อาจต้องใส่ที่อุดหูเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้า
ขณะมีรูทะลุที่แก้วหู ผู้ป่วยสามารถขึ้นเครื่องบินได้ตามปกติ และอาจจะปวดหูน้อยกว่าคนที่มีแก้วหูปกติด้วย[6]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค | |
---|
ทรัพยากรภายนอก | |
---|