เอหิปัสสิโก (อังกฤษ : Come and See ) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวสารคดี กำกับโดยณฐพล บุญประกอบ ผลิตโดย อันเดอร์ด็อค ฟิล์ม ว่าด้วยเรื่องราวคดีของพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2560 กำหนดฉายเป็นการทั่วไปตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2564[ 1]
ภาพยนตร์ประกอบด้วยบทสัมภาษณ์ของพระและศิษยานุศิษย์ของวัดพระธรรมกาย, อดีตพระและศิษยานุศิษย์, นักกิจกรรมด้านพุทธศาสนา เช่น ไพบูลย์ นิติตะวัน , อดีตพระผู้เคยมีตำแหน่งทางบริหารของธรรมกาย มโน เลาหวณิช [en] และนักวิชาการด้านศาสนา เช่น พระไพศาล วิสาโล และ นิธิ เอียวศรีวงศ์
งานสร้าง
งานวิทยานิพนธ์จบการศึกษาระดับปริญญาโทของณฐพล บุญประกอบ ด้าน Social Documentary Film ที่ School of Visual Arts นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา [ 2] เล่าเรื่องราวว่าด้วยความขัดแย้งระหว่างวัดธรรมกายกับฝ่ายรัฐ ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2560 หลังจากมีการกล่าวหาว่าวัดมีส่วนเกี่ยวข้องในคดีฟอกเงินและรับของโจรจากสหกรณ์ยูเนี่ยนคลองจั่นมูลค่า 1,400 ล้านบาท นำมาซึ่งการถกเถียงอย่างกว้างขวางทั้งในเรื่องคดีความ คำสอน หลักการ รวมไปถึงเบื้องหลังความร่ำรวยมหาศาลของวัดพระธรรมกาย[ 3]
ที่มาที่ณฐพล บุญประกอบ เลือกนำเรื่องราวของวัดธรรมกายมาเป็นงานวิทยานิพนธ์จบการศึกษา คือ มีเพื่อนของณฐพลไปบวชตอนมัธยม แล้วรู้สึกว่ามีความน่ากลัว เพราะวัดธรรมกายดูแปลก เหมือนซีรีส์หนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น ทเวนตี้เซนจูรี่บอย รวมกับตอนทำงานวิทยานิพนธ์แล้วได้เห็นข่าวที่พระนั่งสมาธิเพื่อขัดขวางตำรวจที่จะเข้าไปตรวจสอบวัดธรรมกาย เลยตัดสินใจทำสารคดีเรื่องนี้[ 4]
การออกฉาย
โรงภาพยนตร์
ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการคัดเลือกให้เข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติในต่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2562 ณ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ปูซาน ครั้งที่ 24 เมืองปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ [ 5] ต่อมาได้ออกฉายในรายการภาพยนตร์สโมสร ณ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) [ 6] ในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563 และภาพยนตร์เข้าฉายอย่างเป็นทางการในประเทศไทยในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2564[ 1] [ 7]
โฮมมีเดีย
เอหิปัสสิโก ได้กำหนดการเผยแพร่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 บน เน็ตฟลิกซ์ โดยสามารถรับชมได้เฉพาะใน เน็ตฟลิกซ์ ประเทศไทย[ 8]
รางวัล
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์ (April 1, 2021). "เอหิปัสสิโก สารคดีเหตุการณ์คดียักยอกทรัพย์ของ พระธัมมชโย เตรียมเข้าฉาย 6 เมษายนนี้ ใน 11 โรงภาพยนตร์" . The Standard . สืบค้นเมื่อ April 7, 2021 .
↑ สหธร เพชรวิโรจน์ชัย (July 24, 2019). " "สารคดี = ความจริง เป็นการหลอกตัวเอง" สัมภาษณ์ ณฐพล บุญประกอบ ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดี" . The People . สืบค้นเมื่อ April 15, 2021 .
↑ "เอหิปัสสิโก Come and See" . หอภาพยนตร์ . สืบค้นเมื่อ April 7, 2021 .
↑ "วัดธรรมกาย พุทธศาสนาไทย และปัญหาของคนทำสารคดี ความจริงที่ซ่อนอยู่ใน 'เอหิปัสสิโก' " . THE MOMENTUM . April 6, 2021. สืบค้นเมื่อ April 7, 2021 .
↑ " "เอหิปัสสิโก" ผ่านกองเซ็นเซอร์ ฉายได้โดยไม่ต้องตัด" . ประชาไท . March 10, 2021. สืบค้นเมื่อ April 7, 2021 .
↑ "หอภาพยนตร์ชวนชม "เอหิปัสสิโก" สารคดีชวนมาดูธรรม (กาย) แบบฉบับ ไก่ ณฐพล" . sanook.com . August 11, 2020. สืบค้นเมื่อ April 11, 2021 .
↑ underDOC Film (April 8, 2021). "[ข่าวดี] เอหิปัสสิโกเข้าฉายเพิ่มอีก 12 โรง ทั้ง กทม และต่างจังหวัด! ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น!" . facebook . สืบค้นเมื่อ April 8, 2021 .
↑ @netflixth (July 4, 2021). "ใครที่กำลังรอดูภาพยนตร์สารคดี 'เอหิปัสสิโก' 1 สิงหาคมนี้ กำลังจะมีให้ดูใน Netflix แล้วครับ กับผลงานที่จะชวนตั้งคำถาม ท้าทายความเชื่อเรื่องศาสนา โดยฝีมือผู้กำกับ 'ณฐพล บุญประกอบ' " (ทวีต). สืบค้นเมื่อ July 9, 2021 – โดยทาง ทวิตเตอร์ .
↑ "ตัวเต็งมาแน่น! เปิดโผผู้เข้าชิง คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 18" . TrueID. 2022-02-25.
↑ Jeaneration (2022-07-27). "สรุปผลรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 30 "4Kings" นำ "เอหิปัสสิโก" ซิวหนังแห่งปี" . ทรูไอดี . สืบค้นเมื่อ 2022-07-27 .
แหล่งข้อมูลอื่น