Harpoon |
---|
ขีปนาวุธฮาร์พูน ตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ |
ชนิด | ขีปนาวุธต่อต้านเรือ |
---|
แหล่งกำเนิด | สหรัฐอเมริกา |
---|
บทบาท |
---|
ประจำการ | พ.ศ. 2520–ปัจจุบัน |
---|
ผู้ใช้งาน | สหรัฐอเมริกา |
---|
ประวัติการผลิต |
---|
บริษัทผู้ผลิต | โบอิง ดีเฟนซ์, สเปชแอนด์ซีเคียวริตี้ |
---|
มูลค่าต่อหน่วย | US$1,200,000 สำหรับบล็อก II[1] |
---|
ข้อมูลจำเพาะ |
---|
มวล | 1,523 lb (691 kg) |
---|
ความยาว | อากาศยาน: 12.6 ft (3.8 m);พื้นดินหรือเรือดำน้ำ 15 ft (4.6 m) |
---|
เส้นผ่าศูนย์กลาง | 1.1 ft (0.34 m) |
---|
ความยาวระหว่างปลายปีก | 3 ft (0.91 m) |
---|
หัวรบ | 488 ปอนด์ (221 กิโลกรัม) |
---|
|
เครื่องยนต์ | เทเลไดน์ เทอร์โบเจ็ต/ส่วนขับดัน แรงขับมากกว่า 600 ปอนด์ (มากกว่า 272.2 กิโลกรัม) |
---|
พิสัยปฏิบัติการ | 124 กิโลเมตร |
---|
ความสูงปฏิบัติการ | เรี่ยผิวน้ำ |
---|
ความเร็วสูงสุด | 864 กม./ชม. (537 ไมล์/ชั่วโมง) |
---|
ระบบนำวิถี | ผิวน้ำควบคุมโดยเรดาร์ / แอคทีฟเรดาร์โฮมมิง |
---|
ฐานยิง | หลายรูปแบบ
- RGM-84A เรือผิวน้ำ
- AGM-84A อากาศยาน
- UGM-84A เรือดำน้ำ
|
---|
เอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน เป็นระบบขีปนาวุธนำวิถีพื้นสู่พื้น และอากาศสู่พื้น โจมตีเรือรบผิวน้ำในระยะขอบฟ้าทุกสภาพอากาศ พัฒนาและผลิตโดยบริษัทแมคดอนเนลล์ดักลาส (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโบอิง) มีจำนวนผลิตกว่า 7,000 ลูก นับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในปี พ.ศ. 2520 ฮาร์พูนได้รับการพัฒนาและดัดแปลงจำนวนหลายบล็อก เช่น บล็อก I, II, ID และ IG ปัจจุบันได้รับการพัฒนาเป็นบล็อก III นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบขีปนาวุธฮาร์พูนเป็นรุ่นโจมตีภาคพื้นดินเรียกอีกชื่อว่า สแลม (Standoff Land Attack Missile)
ฮาร์พูนใช้เรดาร์แอคทีฟโฮมมิ่งนำทางเข้าหาเป้าหมาย โดยจะบินเรี่ยผิวน้ำในระดับต่ำเพื่อหลบหลีกการถูกตรวจจับจากเรดาร์ข้าศึก สามารถยิงได้ทั้งจากเรือผิวน้ำ เรือดำน้ำ อากาศยาน และจากฐานยิงบนบก แบ่งออกดังนี้
- อากาศยานปีกตรึง (เอจีเอ็ม-84 รุ่นปราศจากจรวดขับดันเชื้อเพลิงแข็ง)
- เรือรบผิวน้ำ (อาร์จีเอ็ม-84 รุ่นติดตั้งจรวดขับดันเชื้อเพลิงแข็ง )
- เรือดำน้ำ (ยูจีเอ็ม-84 รุ่นตั้งภายในจรวดเชื้อเพลิงขับดันภายในแคปซูล ใช้ยิงจากท่อยิงตอร์ปิโด)
- ฐานยิงบนบก
ฮาร์พูนเทียบเคียงได้กับขีปนาวุธรุ่นใกล้เคียงอื่นๆ เช่น เอ็กโซเซ่ต์ ของฝรั่งเศส, อาร์บีเอส-15 ของสวีเดน, เอสเอส-เอ็น-25 ของรัสเซีย, ซี อีเกิล ของอังกฤษ, และ ซี 802 ของจีน
การพัฒนา
ฮาร์พูนรุ่นแรก
ขีปนาวุธฮาร์พูนได้รับการเปิดเผยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2520 ภายหลังเหตุการณ์เรือพิฆาตของอิสราเอลโดนโจมตีจากขีปนาวุธโจมตีเรือ พี-15 เทอร์มิต ซึ่งผลิตในโซเวียต ทำให้มีการพัฒนาขีปนาวุธสำหรับยิงจากอากาศยานลาดตระเวน พี-3 โอไรออน อีกทั้งได้รับการดัดแปลงให้ใช้ทิ้งจากเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-52 สตราโตฟอร์เทรส ซึ่งสามารถบรรทุกได้แปดถึงสิบสองลูก ฮาร์พูนได้รับความนิยมจากชาติพันธมิตรของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาติสมาชิกนาโต อาทิเช่น แคนาดา สหราชอาณาจักร เยอรมนี อิตาลี และชาติพันธมิตรนอกนาโต เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไทย และในส่วนอื่นๆของโลก
ฮาร์พูนได้รับการดัดแปลงให้ใช้ยิงจากเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน ของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งได้กับอากาศยานของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เช่น พี-3 โอไรออน, เอ-6 อินทรูเดอร์, เอส-3 ไวกิ้ง, เอวี-8 แฮริเออร์, และเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท
ฮาร์พูน บล็อก ID
ฮาร์พูนรุ่นดังกล่าวได้รับการดัดแปลงเพิ่มขนาดถังเชื้อเพลิง แต่มีจำนวนการผลิตที่จำกัดในสมัยสงครามเย็น (ใช้ในสงครามกับประเทศสนธิสัญญาวอร์ซอของยุโรปตะวันออก) หรือเรียกอีกชื่อว่า เอจีเอ็ม-84 เอฟ[2][3]
แสลม เอทีเอ (บล็อก IG)
อยู่ในระหว่างการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการบินวนโจมตีเป้าหมาย มีความสามารถใกล้เคียงกับขีปนาวุธร่นโทมาฮอร์ก โดยขีปนาวุธจะทำการคำนวณเป้าหมายที่อยู่เบื้องหน้ากับเป้าหมายที่ได้ระบุไว้ โดยการเปรียบเทียบภาพเป้าหมายจริงกับภาพเป้าหมายที่บันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์[4]
ฮาร์พูน บล็อก II
พัฒนาโดยโบอิง โดยเพิ่มขีดความสามารถในการต่อต้านต่อต้านทางอิเล็กโทรนิก (ECM) และระบบชี้เป้าด้วยระบบดาวเทียม (GPS)
ฮาร์พูน บล็อก III
แผนการพัฒนาโดยกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา โดยการปรับปรุงระบบควบคุมการยิง สำหรับติดตั้งบนเรือลาดตระเวนติดอาวุธนำวิถี เรือพิฆาตติดอาวุธนำวิถี และใช้ติดตั้งบนเครื่องบินโจมตี/ขับไล่แบบ เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท แต่ภายหลังการพัฒนาที่ล่าช้า นโยบายการควบคุมจำนวนเรือ การทดสอบที่ถูกเลื่อนออกไป ทำให้แผนการพัฒนาถูกยกเลิกในเดือน เมษายน พ.ศ. 2552
ประเทศผู้ใช้งาน
- ออสเตรเลีย
- เบลเยียม
- บราซิล
- แคนาดา
- ชิลี
- เดนมาร์ก
- อียิปต์
- เยอรมนี
- กรีซ
- อินเดีย
- อินโดนีเซีย
- อิหร่าน
- อิสราเอล
- ญี่ปุ่น
- มาเลเซีย
- เม็กซิโก
- โมร็อกโก
- เนเธอร์แลนด์
- ปากีสถาน
- โปแลนด์
- โปรตุเกส
- กาตาร์
- เกาหลีใต้
- ซาอุดีอาระเบีย
- สิงคโปร์
- สเปน
- สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
- ไทย
- ตุรกี
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- สหราชอาณาจักร
- ยูเครน
- สหรัฐอเมริกา
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น