เอกสารขอความเห็น (อังกฤษ: Request for Comments (RFC)) เป็นสิ่งพิมพ์จากหน่วยงานที่ทำหน้าที่พัฒนาทางเทคนิคหลักและกำหนดมาตรฐานสำหรับ อินเทอร์เน็ต โดยมักจะเป็น คณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet Engineering Task Force (IETF)) RFC แต่ละฉบับจะจัดทำโดยบุคคลหรือกลุ่มวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ในรูปแบบของบันทึกที่อธิบายวิธีการ พฤติกรรม การวิจัย หรือนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของอินเทอร์เน็ตและระบบที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต RFC จะถูกส่งเพื่อรับพิชญพิจารณ์ หรือเพื่อถ่ายทอดแนวคิด ข้อมูลใหม่ๆ หรืออารมณ์ขันทางวิศวกรรมในบางครั้ง [1]
คณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ตนำข้อเสนอบางส่วนที่เผยแพร่เป็น RFC มาใช้เป็นมาตรฐานบนอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม RFC จำนวนมากมีลักษณะเป็นการให้ข้อมูลหรือเป็นการทดลอง และไม่ใช่มาตรฐาน [2] ระบบ RFC ถูกคิดค้นโดยสตีฟ คร็อกเกอร์ (Steve Crocker) ในปี 2512 เพื่อช่วยบันทึกบันทึกอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับการพัฒนา ARPANET ตั้งแต่นั้นมา RFC ได้กลายเป็นเอกสารอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับข้อกำหนดอินเทอร์เน็ต โพรโทคอล ขั้นตอน และเหตุการณ์ต่างๆ [3] ตามข้อมูลของคร็อกเกอร์ เอกสารดังกล่าว "กำหนดรูปแบบการทำงานภายในของอินเทอร์เน็ตและเกื้อหนุนความสำเร็จของระบบอินเตอร์เน็ต" แต่ไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางภายนอกชุมชนนักพัฒนาอินเทอร์เน็ต[4]
ภายนอกชุมชนนักพัฒนาอินเทอร์เน็ต เอกสารอื่นๆ ที่เรียกว่า Request for Comments ก็ได้รับการตีพิมพ์โดย รัฐบาลกลางสหรัฐ เช่น การบริหารความปลอดภัยการจราจรบนทางหลวงแห่งชาติ [5]
การเข้าดูเอกสารขอความเห็น
แหล่งเก็บ RFC อย่างเป็นทางการคือ RFC Editor โดย RFC ที่ได้รับการเผยแพร่แล้วสามารถเข้าถึงได้โดยยูอาร์แอล เช่น http://www.rfc-editor.org/rfc/rfc5000.txt จะนำทางไปยัง RFC 5000 เป็นต้น
ลิขสิทธิ์
โดยทั่วไปจะถือว่าผู้เขียนเอกสารขอความเห็นนั้นๆ หรือผู้ว่าจ้างของเขาได้ถือลิขสิทธิ์ เว้นแต่ถ้าพวกเขาโอนย้ายลิขสิทธิ์อย่างชัดแจ้ง[6]
อ้างอิง
- ↑ A Standard for the Transmission of IP Datagrams on Avian Carriers. doi:10.17487/RFC1149. RFC 1149.
- ↑ Huitema, Christian; Postel, Jon; Crocker, Steve (April 1995). Not All RFCs are Standards. IETF. doi:10.17487/RFC1796. RFC 1796. สืบค้นเมื่อ May 15, 2018.
- ↑ "RFC's, Internet Request For Comments". Livinginternet.com. สืบค้นเมื่อ April 3, 2012.
- ↑ "Stephen D. Crocker, How the Internet Got Its Rules, The New York Times, 6 April 2009". The New York Times. April 7, 2009. สืบค้นเมื่อ April 3, 2012.
- ↑ "Notice and Request for Comments". Federal Register. 2018-01-16.
- ↑ "Reproducing RFCs". IETF Trust. สืบค้นเมื่อ 2021-08-12.