เหล่าทหารการข่าว (กองทัพบกสหรัฐ)

เหล่าทหารการข่าว
Military Intelligence Corps
ประเทศ สหรัฐอเมริกา
เหล่า กองทัพบกสหรัฐ
รูปแบบข่าวกรองทางทหาร
กองบัญชาการกองอำนวยการข่าวกรองและความมั่นคงแห่งกองทัพบกสหรัฐฟอร์ตเบลวัวร์ รัฐเวอร์จิเนีย
คำขวัญออกด้านหน้าเสมอ
เพลงหน่วย"ฟรีดอมออนพาเหรด"
ปฏิบัติการสำคัญสงครามกลางเมืองอเมริกา
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
สงครามโลกครั้งที่สอง
สงครามเกาหลี
สงครามเวียดนาม
ปฏิบัติการจัสต์คอส
ปฏิบัติการพายุทะเลทราย
ปฏิบัติการเสรีภาพยั่งยืน
ปฏิบัติการเสรีภาพอิรัก
ผู้บังคับบัญชา
รองเสนาธิการกองทัพบกสหรัฐ (จี2—ข่าวกรอง)พลโท ลอรา เอ. พอตเตอร์
ผู้บังคับบัญชา (กองอำนวยการข่าวกรองและความมั่นคงแห่งกองทัพบกสหรัฐ)พลตรี มิเชล เอช. เบรเดนแคมป์
เครื่องหมายสังกัด
เครื่องหมายเหล่า
(ค.ศ. 1962–ปัจจุบัน)
แผ่นโลหะเหล่า
ตราอาร์มประจำกรมทหาร
เครื่องหมายเหล่าเดิม
(ค.ศ. 1923–1962)

เหล่าทหารการข่าว (อังกฤษ: Military Intelligence Corps) เป็นเหล่าข่าวกรองของกองทัพบกสหรัฐ ภารกิจหลักของหน่วยข่าวกรองทางทหารในกองทัพบกสหรัฐ คือการให้การสนับสนุนด้านข่าวกรองและการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ที่ตรงเวลา, ตรงประเด็น, แม่นยำ และสอดคล้องกัน แก่ผู้บังคับบัญชาระดับยุทธวิธี, ปฏิบัติการ และยุทธศาสตร์ กำลังรบของกองทัพบกนี้ทำข่าวกรอง ทั้งสำหรับใช้ในกองทัพบก และเพื่อการแบ่งปันในชุมชนด้านการข่าวแห่งชาติ[1]

ประวัติ

กำลังพลข่าวกรองได้เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพภาคพื้นทวีปตั้งแต่เริ่มก่อตั้งใน ค.ศ. 1775

ครั้นใน ค.ศ. 1776 พลเอก จอร์จ วอชิงตัน ได้มอบหมายหน้าที่หน่วยข่าวกรองแห่งแรก โดยโนวล์ตันส์เรนเจอส์ ซึ่งตั้งชื่อตามพันเอก ทอมัส โนวล์ตัน ได้กลายเป็นกองกำลังชั้นยอดที่ได้รับการจัดตั้งกลุ่มแรก ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของหน่วยปฏิบัติการพิเศษสมัยใหม่ เช่น หน่วยจู่โจมกองทัพบกสหรัฐ, กองกำลังเดลตา และอื่น ๆ โดยเลข "1776" บนตราหน่วยข่าวกรองของกองทัพบกสหรัฐดังกล่าว หมายถึงการก่อตั้งโนวล์ตันส์เรนเจอส์

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1863 พลตรี โจเซฟ ฮูเกอร์ ได้ก่อตั้งสำนักสารสนเทศทางการทหารสำหรับกองทัพสหภาพระหว่างสงครามกลางเมือง ซึ่งนำโดยจอร์จ เอช. ชาร์ป ส่วนแอลลัน พิงเคอร์ตัน และลาฟาเยตต์ ซี. เบเกอร์ ได้จัดการปฏิบัติการที่คล้ายคลึงกันสำหรับผู้บังคับบัญชาภูมิภาคของตน โดยปฏิบัติการทั้งหมดเหล่านี้ได้ปิดตัวลงเมื่อสิ้นสุดสงครามกลางเมืองใน ค.ศ. 1865[2]

ใน ค.ศ. 1885 กองทัพบกได้จัดตั้งกองพลข่าวกรองทางทหาร ครั้นใน ค.ศ. 1903 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกองเสนาธิการใหม่ในระดับสูง[3]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1942 กองพลข่าวกรองทางทหารได้รับการจัดระเบียบใหม่เป็นหน่วยข่าวกรองทางทหาร เดิมประกอบด้วยคนเพียง 26 คน โดยเป็นเจ้าหน้าที่ 16 คน ซึ่งได้ขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วอันประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ 342 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่เกณฑ์และพลเรือน 1,000 คน มีหน้าที่รวบรวม, วิเคราะห์ และกระจายข่าวกรอง ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีประกอบด้วย:

  • กองธุรการ
  • กองข่าวกรอง
  • กองต่อต้านข่าวกรอง
  • กองปฏิบัติการ
  • โรงเรียนภาษา

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1942 อัลเฟรด แม็กคอร์แม็ก ได้จัดตั้งเหล่าพิเศษของหน่วยข่าวกรองทางทหาร ซึ่งเชี่ยวชาญด้านข่าวกรองทางการสื่อสาร

ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 เหล่ากองทัพบกสหรัฐแห่งทหารสารวัตรซึ่งก่อตั้งขึ้นในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้รับการแต่งตั้งใหม่ในฐานะเหล่าต่อต้านข่าวกรองของกองทัพบกสหรัฐ ครั้นใน ค.ศ. 1945 เหล่าพิเศษดังกล่าวได้กลายเป็นสำนักงานความมั่นคงกองทัพบก

เมื่อถึงจุดสูงสุดในช่วงต้น ค.ศ. 1946 โรงเรียนภาษาของเหล่าทหารการข่าวมีผู้สอน 160 คนและนักเรียน 3,000 คนเรียนในห้องเรียนมากกว่า 125 ห้อง โดยมีนักเรียนมากกว่า 6,000 คนสำเร็จการศึกษาเมื่อสิ้นสุดสงคราม สิ่งที่เริ่มต้นจากโครงการฝึกอบรมภาษาหน่วยข่าวกรองทางทหารรุ่นทดลองที่เปิดตัวด้วยงบประมาณ 2,000 ดอลลาร์ ในที่สุดก็กลายเป็นผู้บุกเบิกสถาบันภาษากลาโหมในปัจจุบันสำหรับนักภาษาศาสตร์หลายหมื่นคน ที่ช่วยเหลือผลประโยชน์ของชาวอเมริกันทั่วโลก[4]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. United States Intelligence Community Official Website เก็บถาวร 21 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "Intelligence in the Civil War" (PDF). Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 December 2013. สืบค้นเมื่อ 2014-07-24.
  3. Theoharis, Athan G., บ.ก. (1999). The FBI: A Comprehensive Reference Guide. Phoenix, OR: The Oryx Press. p. 160. สืบค้นเมื่อ 20 May 2011.
  4. Hammons, Steve (2015-04-22). "The Japanese-American U.S. Army Intelligence Unit that helped win WWII". Defense Language and National Security Education Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-18. สืบค้นเมื่อ 2020-03-14.

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!