เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2024 เกิดเหตุขับรถพุ่งชนคนในนครจูไห่ มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน เมื่อรถยนต์คันหนึ่งขับขึ้นตามทางลู่วิ่งของศูนย์กีฬาสนามกีฬาจูไห่เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 35 ราย และบาดเจ็บ 43 คน[2] หลังก่อเหตุ ผู้ต้องสงสัยก่อเหตุถูกควบคุมตัวและส่งโรงพยาบาลเนื่องจากเขาใช้มีดทำร้ายตนเอง[2] เข้าใจกันว่าเหตุจูงใจมาจากความโกรธเคืองเรื่องข้อตกลงหย่ากับภรรยาไม่นานมานี้[3]
เหตุโจมตีนี้ถูกเซนเซอร์อย่างหนักในโลกออนไลน์และข้อมูลรายละเอียดไม่ได้รับการเผยแพร่จนกระทั่งวันถัดมา[4][1] ซึ่งนำไปสู่ความตึงเครียดบนสื่อสังคมออนไลน์ในจีนซึ่งมีผู้คนแสดงความโมโหต่อความล่าช้าในการเผยแพร่ข้อมูล[3]
เหตุการณ์นี้ถือเป็นการโจมตีเดี่ยวที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประเทศจีนนับตั้งแต่เหตุก่อการร้ายในอูรุมชีเมื่อปี 2014[5][3][6]
เหตุการณ์
เมื่อเวลาประมาณ 19:48 น. (GMT+8)[7] ของวันที่ 11 พฤศิจกายน 2024 ผู้ก่อเหตุขับรถเอสยูวีพุ่งชนผู้คนที่กำลังออกกำลังกายบนลู่วิ่งของศูนย์กีฬาจูไห่[8] ในเวลานั้น นครจูไห่อยู่ภายใต้การดูแลด้านความปลอดภัยอย่างเข้มงวดขึ้นเนื่องจากมีกำหนดจัดการแสดงทางอากาศในวันรุ่งขึ้น[9] ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่าผู้ก่อเหตุขับรถขึ้นไปบนลู่วิ่งและชนผู้คนจำนวนมาก[10]
เหยื่อบางรายใส่เครื่องแบบออกกำลังกายของทีมไต่เขาท้องถิ่น[11] ผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่าเหยื่อส่วนใหญ่เป็นคนวัยกลางคนหรือคนชราที่อยู่ในกลุ่มนักไต่เขา โดยปกติจะมีกลุ่มนักไต่เขาหกถึงเจ็ดกลุ่มที่เดินประกอบดนตรีในศูนย์กีฬาเป็นประจำทุกวัน เสียงเพลงที่พวกเขาเปิดดังอาจปกปิดเสียงรถที่ขับเข้ามาโจมตี ส่งผลให้คนอื่นมีเวลาไม่มากพอที่จะหลบหนี[12]
สถาปนิกผู้ออกแบบศูนย์กีฬาระบุกับ เหลียนเหอเจ่าเป้า ว่าในบริเวณจัตุรัสที่เกิดเหตุนั้นไม่สามารถขับขี่รถยนต์ขึ้นไปได้เนื่องจากมีตัวกั้นหินและรั้วโดยรอบ ผู้ก่อเหตุน่าจะขับรถเข้ามาจากอีกฝั่งของสนามกีฬา[13]
ในวันที่ 12 นักข่าวจากบีบีซีนิวส์ ซึ่งรวมถึง สตีเฟน แม็กดอนเนิล ถูกรบกวนและข่มขู่ขณะถ่ายทอดสดรายงานข่าวจากสถานที่เกิดเหตุ โดยกลุ่มคนที่เป็นไปได้ว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากพรรคคอมมิวนิสต์จีนปลอมตัวเป็นคนธรรมดาเพื่อรบกวนการรายงานข่าว[14] ในขณะที่นักข่าวจากช่องทีบีเอสของญี่ปุ่น ทวีตข้อความระบุว่าตนถูกกลุ่มคนล้อมขณะรายงานข่าวก่อนจะถูกนำตัวไปส่งตำรวจซึ่งขอร้องให้เขาลบรายงานข่าวทิ้งทั้งหมด[15] นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นประจำการอยู่ด้านนอกหน่วยบริบาลผู้ป่วยหนักที่เหยื่อจากเหตุการณ์เข้ารับการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้นักข่าวสัมภาษณ์ครอบครัวของเหยื่อ[16]
ผู้ต้องสงสัย
ตามรายงานของตำรวจและรายงานทางการแพทย์ ผู้ต้องสงสัยก่อเหตุเป็นชายวัย 62 ปี สถานะหย่าร้าง จากเขตเซียงโจว ชื่อว่า ฝาน เหวย์ชิว (จีน: 樊维秋)[2][17] เขาถูกจับกุมขณะพยายามหลบหนี[6] โดยถูกพบหมดสติในรถยนต์ในสภาพมีแผลที่ลำคอมีลักษณะเข้าได้กับการทำร้ายตนเอง และได้รับการนำส่งไปยังโรงพยาบาล[2] ตำรวจระบุว่าฝานอยู่ในสภาพวะโคมาหลังเขาใช้มีดกรีดตนเองเข้าที่ลำคอและหน้าอก[18][19] รายงานในช่วงแรกระบุมูลเหตุจูงใจมาจากความไม่พึงพอใจในข้อตกลงเรื่องการหย่าร้าง[8][2][1] นอกจากนี้ ยังมีนักข่าวตั้งข้อสังเกตว่าความถดถอยทางเศรษฐกิจของจีนในภาพรวมอาจมีส่วน โดยระบุว่า แนวโน้มที่จะเกิดการโจมตีแบบสุ่มเช่นนี้ มีความสัมพันธ์กับความเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจและความตึงเครียดทางสังคมในประเทศ[20][21][22]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Driver rams his car into crowd in China, killing 35. Police say he was upset about his divorce". AP News (ภาษาอังกฤษ). 11 November 2024. สืบค้นเมื่อ 12 November 2024.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Dozens killed in Zhuhai, China, by driver who rammed car into crowd ahead of military expo, police say". CBS News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-11-12. สืบค้นเมื่อ 2024-11-12.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Kirton, David; Chan, Nicoco (November 12, 2024). "Zhuhai car attack: China clears memorial as government scrambles to respond". Reuters. สืบค้นเมื่อ 12 November 2024.
- ↑ Kirton, David (November 12, 2024). "Zhuhai car attack kills 35 as driver rams into crowd in southern China". Reuters. สืบค้นเมื่อ November 12, 2024.
- ↑ Wong, Foster (November 12, 2024). "Driver Kills 35 in China's Deadliest Attack in at Least a Decade". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 2024-11-13.
- ↑ 6.0 6.1 Gan, Nectar; Deng, Shawn; Danaher, Caitlin (13 November 2024). "35 killed after driver plows car into crowds at sports center in China's deadliest known attack in a decade". CNN. สืบค้นเมื่อ 14 November 2024.
- ↑ Dang, Yuanyue (2024-11-12). "35 dead after car attack in Chinese city of Zhuhai, suspect arrested, police say". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-11-12. สืบค้นเมื่อ 2024-11-12.
- ↑ 8.0 8.1 Alund, Natalie Neysa. "Driver rams SUV into crowd exercising in Zhuhai, China leaving 35 dead, dozens injured". USA TODAY (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-11-13.
- ↑ Gan, Nectar (12 November 2024). "35 killed after car plows into crowds outside sports center in Chinese city, police say". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 12 November 2024.
- ↑ McDonell, Stephen; Mao, Frances (13 November 2024). "Zhuhai: Dozens killed in car rampage through Chinese stadium". BBC. สืบค้นเมื่อ 13 November 2024.
- ↑ "越野車來回撞 珠海體園10死百傷 62歲男司機被捕 部分傷者屬長者健步團 - 20241112 - 中國". Ming Pao (ภาษาChinese (Hong Kong)). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2024. สืบค้นเมื่อ 13 November 2024.
- ↑ 林, 煇智 (2024-11-13). "珠海致命撞车事件目击者:受害者大多数是中老年人". Lianhe Zaobao (ภาษาChinese (Singapore)). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2024. สืบค้นเมื่อ 13 November 2024.
- ↑ 林, 煇智 (13 November 2024). "珠海越野车撞人35死43伤 学者:官方如何化解社会戾气至关重要". Lianhe Zaobao (ภาษาChinese (Singapore)). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2024. สืบค้นเมื่อ 14 November 2024.
- ↑ McDonell, Stephen (12 November 2024). "When horror hits China, the first instinct is shut it down". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2024. สืบค้นเมื่อ 12 November 2024.
- ↑ "TBS記者、中国で取材中「警察呼ばれ、全て素材削除させられた」 広東の車暴走死傷で". 産経新聞 (ภาษาญี่ปุ่น). 13 November 2024. สืบค้นเมื่อ 13 November 2024.
- ↑ "After Deadly Car Rampage, Chinese Officials Try to Erase Any Hint of It". The New York Times.
- ↑ "珠海車撞人通報傳有2版本 刪疑犯離婚訴訟內容". Oriental Daily (ภาษาChinese (Hong Kong)). 13 November 2024.
- ↑ "At least 35 killed in China car ramming" (ภาษาอังกฤษ). Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 2024-11-12.
- ↑ "China removes memorials to car ramming attack victims amid public outrage". Al Jazeera. 13 November 2024. สืบค้นเมื่อ 14 November 2024.
- ↑ 日本放送協会 (12 November 2024). "中国の車暴走事件 日本大使館が滞在の日本人に注意呼びかけ | NHK". NHKニュース (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 12 November 2024.
- ↑ "越野车冲撞珠海民众35人死亡43人受伤 社媒视频被急删". Radio Free Asia (ภาษาChinese (China)). 12 November 2024. สืบค้นเมื่อ 13 November 2024.
- ↑ "中國報復社會暴力事件頻生 官方披露少真相難知" (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). Central News Agency (Taiwan). 13 November 2024. สืบค้นเมื่อ 13 November 2024.