เส้นข้างลำตัว

รูปมุมเฉียงของปลาทอง (Carassius auratus) แสดงรูที่เกล็ดปลาซึ่งเป็นส่วนของ lateral line system

เส้นข้างลำตัว (อังกฤษ: lateral line) เป็นระบบอวัยวะรับความรู้สึก (sensory organ system) ของสัตว์น้ำมีกระดูกสันหลัง ซึ่งใช้ตรวจจับการเคลื่อนไหว แรงสั่น และความแตกต่างของแรงดันในน้ำรอบ ๆ ตัว อาศัยเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวที่แปลงไป ซึ่งเรียกว่า เซลล์ขน และตอบสนองต่อการขยับเหตุการเคลื่อนไหวโดยถ่ายโอนสัญญาณเป็นกระแสประสาท เป็นอวัยวะสำคัญสำหรับพฤติกรรมอยู่เป็นฝูง การล่าเหยื่อ และการรู้ทิศทาง ยกตัวอย่างเช่น ปลาสามารถใช้เส้นข้างลำตัวเพื่อติดตามกระแสน้ำวนที่สร้างจากเหยื่อที่กำลังหนี ปกติเส้นข้างลำตัวจะเห็นเป็นเส้นจาง ๆ ประกอบด้วยรู ยาวไปตามลำตัว ตั้งแต่ที่ปิดเหงือกไปจนถึงโคนหาง ในปลาบางชนิด อวัยวะรับความรู้สึกที่เส้นข้างลำตัวได้เปลี่ยนไปทำหน้าที่เป็นตัวรับรู้ไฟฟ้า (electroreceptor) ซึ่งสามารถตรวจจับพัลส์ไฟฟ้า ดังนั้น จึงยังเป็นอวัยวะที่คล้าย ๆ กัน ตัวอ่อนสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกโดยมากและที่โตแล้วจะมีระบบรับรู้แรงกลที่เทียบกับเส้นข้างลำตัวได้[1]

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. "A lateral line analogue in cephalopods: Water waves generate microphonic potentials in the epidermal head lines of Sepia and Lolliguncula". 1988. PMID 3236259. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!