เวียงเจ้าเงาะ

โบราณสถานเวียงเจ้าเงาะ

แหล่งประวัติศาสตร์เวียงเจ้าเงาะ ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงหมายเลข 102 ประมาณ 3 กิโลเมตรเศษ เห็นป้ายบอกทางแยกเข้าเวียงเจ้าเงาะทางด้านขวามือ การเดินทางสะดวกปลอดภัย บริเวณที่ตั้งเวียงเจ้าเงาะอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมุมเมืองทุ่งยั้ง มีเนื้อที่ประมาณ 129 ไร่ 1 งาน 61 ตารางวา หรืออยู่ห่างจากวัดพระแท่นศิลาอาสน์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 800 เมตร ภูมิประเทศของเวียงเจ้าเงาะนั้นเป็นที่ราบดินปนศิลาแลง บางตอนเป็นศิลาแลงล้วน ด้านทิศเหนือติดต่อกับหนองพระแลและหนองพระทัยอันเป็นที่ลุ่ม ปัจจุบันคันคูเมืองส่วนที่ขุดลงไปในศิลาแลงบางตอนตื้นเขินมาก ส่วนคันคูเมืองด้านที่เป็นคันดินถูกราษฎรบุกรุกทำลาย พื้นที่ในบริเวณคูเมืองด้านในและในคูเมืองมีต้นไม้ต้นหญ้าขึ้นรก บางส่วนของพื้นที่ในบริเวณเวียงเจ้าเงาะมีราษฏรจับจองปลูกพืชทำมาหากิน

มีตำนานที่สืบต่อกันมาเล่าขานกันว่า เวียงเจ้าเงาะมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง เช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัยของจังหวัดสุโขทัย โดยสังเกตเห็นได้จากพระบรมธาตุเมืองทุ่งยั้งในอดีตมีทรงเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์ แต่ปัจจุบันได้บูรณะซ่อมแซมเป็นทรงลังกาครอบทรงเดิมเอาไว้ในรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 ปัจจุบันคูเมืองส่วนที่ขุดลงไปในศิลาแลงบางตอนตื้นเขินมาก ส่วนคูเมืองด้านที่เป็นคันดินถูกราษฎรบุกรุกทำลาย[1]

ชื่อเรียกในอดีต

  1. เวียงเจ้าเงาะ
  2. เวียงเท้าสามล
  3. ตรีสมบูรณ์
  4. ทุ่งยั้ง
  5. ศรีนพวงศ์
  6. กัมโพชนคร
  7. ธรรมบาลนคร

ลักษณะผังเมือง

  1. เป็นเมืองรูปไข่ มีคูเมือง3ชั้นกำแพงเจาะลงไปถึงคูเมืองชั้นที่3 มีคูล้อมรอบ(กำแพง)
  2. คูเมืองชั้นนอกก่อด้วยศิลาแลง ชั้นสองก่อด้วยอิฐ ชั้นสามก็ด้วยศิลาแลง

โบราณสถานที่ค้นพบ

  1. บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ หรือบ่อน้ำทิพย์ 18 บ่อ
  2. วัดพระบรมธาตทุ่งยั้ง
  3. คูเมืองเก่า3ชั้น

โบราณวัตถุ ที่ค้นพบ

  1. กำไลหิน
  2. โครงกระดูก
  3. แหวนสำริด
  4. แหวนหิน
  5. สร้อยทำจากลูกปัด
  6. ลูกปัดโบราณ
  7. ลูกปัดสำริด
  8. กลองมโหระทึกแขก
  9. กลองมโหระทึกละว้า
  10. พร้าสำริด
  11. มีดสำริด
  12. ถ้วยชามสังคโลก
  13. ภาชนะดินเผาไม่เคลือบ
  14. ภาชนะดินเผาเคลือบสี

การเดินทาง

  1. ใช้ถนนหมายเลข 102 (ศรีสัชนาลัย-อุตรดิตถ์) จากตัวเมืองอุตรดิตถ์บริเวณแยกห้วยไผ่ ผ่านแยกทุ่งยั้ง วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ตลาดทุ่งยั้ง จนถึงป้ายบอกทางเข้าเวียงเจ้าเงาะอยู่ฝั่งตรงข้ามวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง เวียงเจ้าเงาะจะตั้งอยู่ก่อนถึงสำนักงานขนส่งจังหวัดอุตรดิตถ์

อ้างอิง

  1. "แหล่งโบราณคดีเวียงเจ้าเวาะ". แหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ - สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม.
  1. สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุตรดิตถ์
  2. สถานโทรทัศน์กองทัพบกแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2008-12-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!