เรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำ (อังกฤษ: submarine tender) เป็นเรือบรรทุกสัมภาระสำหรับเรือใต้น้ำที่จัดส่งและสนับสนุนเรือดำน้ำ
การพัฒนา
เรือดำน้ำมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับเรือข้ามมหาสมุทรส่วนใหญ่ และโดยทั่วไปไม่มีความสามารถในการพกพาอาหาร, เชื้อเพลิง, ตอร์ปิโด และวัสดุอื่น ๆ จำนวนมากได้ รวมถึงไม่สามารถบรรทุกขบวนอุปกรณ์บำรุงรักษาและบุคลากรได้มากนัก แต่เรือพี่เลี้ยงจะบรรทุกของทั้งหมดเหล่านี้ให้ อีกทั้งจัดให้พบกับเรือดำน้ำเพื่อเสริมกำลัง หรือเตรียมการเหล่านี้ในขณะที่จอดที่ท่าเรือใกล้กับบริเวณที่เรือดำน้ำปฏิบัติการ ในบางกองทัพเรือ เรือพี่เลี้ยงได้จัดให้มีห้องเครื่องเพื่อการซ่อมบำรุง และเป็นหอพักแบบลอยตัวพร้อมลูกเรือบรรเทาทุกข์
ด้วยขนาดที่เพิ่มขึ้นและระบบอัตโนมัติของเรือดำน้ำสมัยใหม่ รวมทั้งในกองทัพเรือบางแห่งได้ริเริ่มพลังงานนิวเคลียร์ เรือพี่เลี้ยงก็ไม่จำเป็นต้องบรรทุกเชื้อเพลิงให้อีกต่อไป[1]
แคนาดา
เรือบรรทุกสัมภาระสำหรับเรือดำน้ำลำแรกของแคนาดาคือเรือหลวงเชียร์วอเตอร์
ชิลี
คำที่ใช้ในกองทัพเรือชิลีคือ "เรือแม่ของเรือดำน้ำ" ดังตัวอย่างเช่น เบเอเมเอเซ (บูเกมาเดรเดซุบมาริโนส) อัลมิรันเตเมริโน
เยอรมนี
ไม่สามารถปฏิบัติการเรือพี่เลี้ยงผิวน้ำตามแบบแผนได้จำนวนมากในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งครีคส์มารีเนอของเยอรมนีใช้เรือดำน้ำแบบ XIV (ชื่อเล่นคือวัวนม) จำนวนมากเพื่อการเสริมกำลังในทะเล
รัสเซีย
กองทัพเรือรัสเซียได้ปลดประจำการเรือพี่เลี้ยงชั้นดอนและอูกราทั้งหมดที่สืบทอดมาจากกองทัพเรือโซเวียตในปี ค.ศ. 2001 เรือลำสุดท้ายที่เหลืออยู่ในชั้นนี้คือไอเอ็นเอส อัมบา (A54) ซึ่งขายให้กองทัพเรืออินเดียในปี ค.ศ. 1968 เพื่อใช้กับกองเรือเรือดำน้ำชั้นฟอกซ์ทรอต และมีรายงานว่ามันถูกปลดประจำการในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006[ต้องการอ้างอิง]
เนเธอร์แลนด์
กองทัพเรือเนเธอร์แลนด์มีเรือสนับสนุนเรือดำน้ำหนึ่งลำคือเรือหลวงแมคูเออ (A900) ซึ่งขึ้นระวางในปี ค.ศ. 1987 เพื่อทดแทนเรือหลวงโอนเวอโชแกน์ (M886) หรือที่รู้จักกันหลังจากนั้นในนามเรือหลวงแมคูเออ (A 856) ซึ่งขึ้นระวางในปี ค.ศ. 1956 ในฐานะเรือกวาดทุ่นระเบิดชั้นแอกเกรสซีฟเคลื่อนที่ในมหาสมุทร ซึ่งสร้างขึ้นในสหรัฐ และใช้เป็นเรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำในภายหลัง
ไทย
กองทัพเรือไทย ใข้เรืออู่ลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกเป็นเรือพี่เลี้ยงเรือดำน้ำครั้งแรกของโลก คือ เรือหลวงช้าง (LPD-792)
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น