เรือกระบี่ปราบเมืองมาร

เรือกระบี่ปราบเมืองมาร ในช่วงซ้อมพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562
ประวัติ
ประเทศไทย
ชื่อ
  • ไทย: กระบี่ปราบเมืองมาร
  • อังกฤษ: Krabi Prab Meung Maan
สัญลักษณ์
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือรูปสัตว์
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 5.62 ตัน
ความยาว: 26.80 เมตร
ความกว้าง: 2.10 เมตร
กินน้ำลึก: 0.25 เมตร
ความลึก: 0.51 เมตร
ลูกเรือ: 38
หมายเหตุ: ฝีพาย 36 คน
นายท้าย 2 คน

เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เป็นเรือพระราชพิธี ชนิดหนึ่ง[1] หน้ามีลักษณะเหมือนรูปโขน ลำเดิมเป็นเรือพื้นดำ[2] ยาว 13 วา 2 ศอก 1 คืบ กว้าง 4 ศอก ลึก 1 ศอก กำลัง 5 ศอก 4 นิ้ว ลำเดิมถูกระเบิดเสียหาย กรมศิลปากรเก็บหัวเรือท้ายเรือไว้ ในพิพิธภัณฑ์เมื่อปี พ.ศ. 2591

ส่วนลำปัจจุบันสร้างใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยใช้หัวเรือเดิมนำมาซ่อมแซม ช่างแกะสลักลวดลายทำงานประมาณ 12 เดือน ช่างรักทำงานประมาณ 4 เดือน ช่างเขียนทำงานประมาณ 6 เดือน ช่างปิดทองและประดับกระจกทำงานประมาณ 4 เดือน น้ำหนัก 5.62 ตัน ยาว 26.80 เมตร กว้าง 2.10 เมตร ลึก 0.51 เมตร กินน้ำลึก 0.25 เมตร ฝีพาย 36 นาย นายท้าย 2 นาย หัวเรือมีช่องสำ หรับติดตั้งปืนใหญ่ 1 กระบอก ขนาด 65 มม. เหนือช่องปืนและเป็นรูปขุนกระบี่สีขาว

  • พ.ศ. 2512[3] จัดทำเครื่องตกแต่งเรือใหม่ตั้งแต่ 29 กันยายน พ.ศ. 2512 จนถึง 25 กุมภาพันธ์
  • พ.ศ. 2513 โดยบริษัท สำนักงานเกษรดอก ประดู่ จำกัด เป็นผู้ทำ
  • พ.ศ. 2525 ซ่อมใหญ่เปลี่ยนไม้ตัวเรือที่ผุหรือชำรุดบางส่วน ลงรักปิดทอง ทาสีตัวเรือใหม่และอื่น ๆ เพื่อให้ทันใช้ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2525 เริ่มซ่อมทำตั้งแต่ 4 กันยายน
  • พ.ศ. 2524 จนถึงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2525 โดยมี บริษัท สหายสันต์ จำกัด เป็นผู้รับเหมาซ่อมทำ การแต่งกายของผู้ประจำเรือ นายลำนุ่งปูม สวมเสื้อเข้มขาบ โพกขลิบทอง

อ้างอิง

  1. http://www.navy.mi.th/sctr/royal_barge_60/brage3.php
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-17. สืบค้นเมื่อ 2012-07-29.
  3. http://www.navy.mi.th/sctr/royal_barge_60/kabeprabmerngman.php


Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!