เปลือกโลกภาคพื้นสมุทร เป็นเปลือกแข็งชั้นนอกสุดที่เป็นฐานแก่มหาสมุทร แบ่งเป็น เปลือกโลกภาคพื้นสมุทรชั้นบน ประกอบด้วยหินละลายรูปหมอนและผนังที่ซับซ้อน กับ เปลือกโลกภาคพื้นสมุทรชั้นล่าง ประกอบด้วยหินทรอกโทไลต์ หินแกบโบรและหินคูมูเลต[1][2] เปลือกโลกทอดตัวอยู่เหนือเนื้อโลกชั้นบนที่มีลักษณะแข็ง เปลือกโลกและชั้นเนื้อโลกแข็งรวมกันเป็นธรณีภาค
เปลือกโลกภาคพื้นสมุทรส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินเมฟิกและหินไซมาที่อุดมไปด้วยเหล็กและแมกนีเซียม เปลือกโลกภาคพื้นสมุทรบางกว่าเปลือกโลกภาคพื้นทวีปมาก โดยทั่วไปมีความหนาเฉลี่ยน้อยกว่า 10 กิโลเมตร มีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 3.0 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร มากกว่าเปลือกโลกภาคพื้นทวีปที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยอยู่ที่ 2.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร[3][4]
อ้างอิง