เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ

เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ (อังกฤษ: muscle tissue) เป็นเนื้อเยื่อชนิดหนึ่งที่พบได้ในร่างกายและจัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue) เมื่อเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อมารวมกันจะกลายเป็นเส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fibers) ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของมัดกล้ามเนื้อ โดยเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อนั้นสามารถหดตัวได้ และทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย[1]

เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อชนิดต่าง ๆ

คุณสมบัติ

  1. การถูกกระตุ้นได้ (excitability) : เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อสามารถตอบสนองต่อสารเคมีที่ถูกหลังมาจากเซลล์ประสาทได้
  2. การหดตัวได้ (contractility) : เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อสามารถหดให้สั้นลงทำให้เกิดแรงขึ้น
  3. การยืดขยายได้ (extensibility) : เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อสามารถทนต่อแรงเค้นที่เกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่งโดยไม่ปรากฏความเสียหายขึ้นบนเนื้อเยื่อ
  4. ความยืดหยุ่น (elasticity) : เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อสามารถคืนรูปเดิมได้หลังจากเกิดการยืดขยายออก

ชนิด

  • กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) : เป็นกล้ามเนื้อที่ไม่มีลาย ถูกควบคุมนอกเหนืออำนาจจิตใจ (involuntary control) มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5–10 มิลลิเมตร และมีความยาว 30–200 มิลลิเมตร ไม่มี T tubules
  • กล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle) : เป็นกล้ามเนื้อมีลาย ถูกควบคุมภายใต้อำนาจจิตใจ (voluntary control) มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100 มิลลิเมตร[2] และมีความยาวขึ้นกับตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งอาจยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร
  • กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) : เป็นกล้ามเนื้อที่มีลาย อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ พบได้ที่หัวใจ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10–20 มิลลิเมตร และมีความยาว 50–100 มิลลิเมตร โดยกล้ามเนื้อหัวใจจะมีลักษณะต่างจากกล้ามเนื้อชนิดอื่นตรงที่ไม่เกิดอาการล้า จึงสามารถทำงานได้ตลอดเวลาและต่อเนื่อง

อ้างอิง

  1. "Muscle Tissue TheVisualMD.com". thevisualmd.com. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2015.
  2. Hugh Potter. "Muscle Tissue". New Jersey: Union College of Union County. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2014.


Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!