เทอร์เรซ เฮาส์ |
---|
|
ประเภท | เรียลลิตีโชว์ |
---|
พิธีกร | ยู เรนะ ทรินเดิล โยชิมิ โทกูอิ อาซูซะ บาบาโซโนะ เรียวตะ ยามาซาโตะ ฮิโรมิ โทซากะ อายูมุ โมจิซูกิ เค็นตาโร โชโนะ ฮายามะ |
---|
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศญี่ปุ่น |
---|
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาญี่ปุ่น |
---|
การผลิต |
---|
ผู้อำนวยการสร้าง | มาซาโตะ มาเอะดะ |
---|
ความยาวตอน | ไม่สม่ำเสมอ |
---|
บริษัทผู้ผลิต |
|
---|
ออกอากาศ |
---|
เครือข่าย | ฟูจิเทเลวิชัน เน็ตฟลิกซ์ |
---|
ออกอากาศ | 12 ตุลาคม ค.ศ. 2012 (2012-10-12) – 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 (2020-05-19) |
---|
เทอร์เรซ เฮาส์ (ญี่ปุ่น: テラスハウス; โรมาจิ: Terasu Haosu) เป็นแฟรนไชส์เรียลลิตีโชว์ญี่ปุ่น ที่ประกอบด้วย 5 ซีรีส์ และภาพยนตร์ 1 เรื่อง โดยในแต่ละซีรีส์จะมีสมาชิกทั้งหมด 6 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 3 คน และผู้หญิง 3 คนจากพื้นเพที่แตกต่างกันจะต้องมาอยู่ในบ้านเดียวกัน และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนสมาชิกภายในบ้าน[1] รายการโทรทัศน์นี้ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ชมสำหรับการผลิตเรียลลิตีโชว์อย่างจริงจัง[1][2]
ในซีรีส์แรกในชื่อ "Boy × Girls Next Door"[3] ที่ออกอากาศผ่านสถานีโทรทัศน์ฟูจิ ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2012 จนถึง 29 กันยายน 2014 และจบซีรีส์ด้วยภาพยนตร์ "Closing Door"[4] โดยซีรีส์ต่อ ๆ มาจะมีสถานีโทรทัศน์ฟูจิ และเน็ตฟลิกซ์เป็นผู้อำนวยการผลิต ซึ่งจะฉายในต่างประเทศเป็นที่แรกบนแพลตฟอร์มดังกล่าว ในขณะเดียวกันก็ยังคงออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ฟูจิไปพร้อม ๆ กัน[5] ซีรีส์ลำดับที่สองในชื่อ "รักวุ่น ๆ ของหนุ่มสาวชาวเมือง"[6] ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2015 จนถึง 27 กันยายน 2016 โดยได้มีการย้ายบ้านจากโชนัน ไปยังเขตอภิมหานครโตเกียว ซีรีส์ลำดับที่สาม ได้มีการถ่ายทำในรัฐฮาวาย ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2016 จนถึง 29 สิงหาคม 2017 ภายใต้ชื่อ "อโลฮ่า ฮาวาย"[7] ซีรีส์ลำดับที่สี่ในชื่อ "เปิดประตูสู่โอกาสใหม่"[8] ได้ย้ายการถ่ายทำกลับมายังจังหวัดนางาโนะ ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2017 จนถึง 12 กุมภาพันธ์ 2019 ในซีรีส์ลำดับที่ห้า และลำดับล่าสุด "โตเกียว 2019-2020" เริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2019 และออกอากาศตอนล่าสุดวันที่ 19 พฤษภาคม 2020 ซึ่งหยุดการถ่ายทำเนื่องจากการเสียชีวิตของฮานะ คิมูระ[9]
ภาพรวม
เทอร์เรซ เฮาส์ เป็นเรียลลิตีโชว์ที่ติดตามชีวิตของคนแปลกหน้า 6 คนที่ย้ายเข้ามาอยู่ด้วยกัน[2] โดยสมาชิกภายในบ้านจะถูกแบ่งออกเป็นผู้ชาย 3 คน และผู้หญิง 3 คน ที่มีอายุราว 18 ถึง 30 ปี ถึงแม้ว่าเทอร์เรซ เฮาส์ไม่ได้อธิบายลักษณะ หรือประเภทของรายการโทรทัศน์ออกเดต แต่ผู้ชมรายการนี้ยังคงจัดให้อยู่ในประเภทดังกล่าวอยู่ดี[10] รายการโทรทัศน์นี้แสดงให้เห็นถึงสมาชิกภายในบ้านแต่ละคนไล่ตามชีวิตรัก และรับมือกับความแตกต่างในบุคลิกภาพ, ความหวัง และความฝันของสมาชิกภายในบ้าน[11]
เรียลลิตีโชว์นี้มอบบ้านพร้อมเครื่องเรือนและรถยนต์ 2 คัน ซึ่งได้มีการติดตั้งกล้องไว้บนผนัง โดยสมาชิกในเทอร์เรซ เฮาส์ สามารถไปทำงานและใช้ชีวิตตามปกติสุข ในบางโอกาสอาจมีการถ่ายชีวิตส่วนตัว ที่ทำงาน เพื่อน และครอบครัวของของสมาชิกอย่างเป็นพิเศษ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะให้น้ำหนักไปยังการเดท และเหตุการณ์สำคัญระหว่างสมาชิกภายในบ้านมากกว่า ในกรณีที่สมาชิกภายในบ้านคนใดคนหนึ่งตัดสินใจที่จะออกจากรายการโทรทัศน์นี้ สมาชิกคนใหม่ เพศ]ดียวกัน จะถูกเชิญให้มาแทนที่สมาชิกคนก่อน พิธีกรในสตูดิโอจะทำหน้าที่แนะนำรายการในแต่ละตอน และจะชมไปพร้อม ๆ กับผู้ชมทางบ้าน ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง รายการจะตัดเข้าภาพในสตูดิโอ พิธีกรจะวิเคราะห์ถึงบทสนทนา ถอดความหมายภาษากาย และพูดสนุกขำขันเกี่ยวกับภาพคลิปวีดิโอ 10 นาที สุดท้ายก่อนตัดเข้าสตูดิโอ[12][13]
ข้อโต้เถียง
ในการสัมภาษณ์ของอดีตสมาชิก ลอว์เรน ไช่ ในซีรีส์ "อโลฮ่า ฮาวาย" เดือนธันวาคม 2017 ผ่านนิตยสารเมโทรโฟลิส ได้พูดถึงเทอร์เรซ เฮาส์ว่า "น่าจะเป็นรายการโทรทัศน์เรียลลิตีโชว์ที่ไม่สมจริงที่สุด" เธออ้างว่าสมาชิกภายในบ้านมาพักอาศัยอยู่ในบ้านเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน หรือก็ต่อเมื่อมีการออกท่องเที่ยว การเดทเท่านั้น อีกทั้งสมาชิกภายในบ้านยังถูกไม่ให้พูดคุยกันในระยะเวลาราว 20 ชั่วโมงที่เหลือของวัน ถึงแม้ว่ารายการนี้จะแจ้งแล้วว่าไม่มีการบอกบทก็ตาม แต่ไช่กล่าวว่าทีมงานให้หัวข้อภาพรวมอย่างคร่าว ๆ ว่าจะให้พูดเรื่องอะไร[14] โดยในเวลาต่อมาเมโทรโฟลิสได้ลบบทสัมภาษณ์ส่วนนี้ออกจากบทความออนไลน์
การเสียชีวิตของฮานะ คิมูระ
หลังจากการเสียชีวิตของ ฮานะ คิมูระ ในเดือนพฤษภาคม 2020 เดอะนิวยอร์กไทมส์รายงานว่าสมาชิกทุกคนได้ลงนามในสัญญาการเก็บรักษาความลับ ที่ห้ามพวกเขาพูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นเบื้องหลัง[15] สมาชิกภายในบ้านสามคน ได้ให้สัมภาษณ์กับเดอะนิวยอร์กไทมส์ได้กล่าวว่าทีมงานนั้นเข้าไปมีส่วนในกิจกรรมของสมาชิกในบ้าน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ให้สัมภาษณ์สองคนกล่าวว่าพวกเขาไม่เคยได้รับคำแนะนำให้ทำบางสิ่งอย่างเจาะจง และผู้ให้สัมภาษณ์อีกหนึ่งคนอธิบายว่าสมาชิกภายในบ้านจะแสดงอากัปกิริยาที่แตกต่างกันไปเมื่อมีกล้องถ่ายพวกเขาอยู่[15] แม่ของฮานะ คิมูระกล่าวว่าลูกสาวของเธอถูกกดดันให้แสดงท่าทีที่รุนแรงออกหน้ากล้อง[16] เดอะเจแปนไทมส์รายงานว่าสถานีโทรทัศน์ฟูจิยอมรับว่าสมาชิกได้ลงนามข้อตกลงในข้อที่เกี่ยวข้องกับการยินยอมที่จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ การตัดสินใจในตารางเวลา และวิธีการถ่ายทำของแต่ละฉาก รวมถึงกลวิธีในการตัดต่อหลังจากนี้ด้วย แต่ถึงแม้จะเป็นเช่นนั้น ก็ไม่มีการบังคับขู่เข็ญ และผู้อำนวยการสร้างไม่ได้ให้คำแนะนำใด ๆ ต่อสมาชิกให้ไปมีส่วนช่วยในการเปลี่ยนแปลงสภาพจิตใจของสมาชิกแต่อย่างใด พวกเขายังกล่าวว่าทีมผลิตไม่ได้ต้องการให้สมาชิกปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างละเว้นไม่ได้ แต่ถ้าหากพบสมาชิกคนใดคนหนึ่ง ละเมิดสัญญาการเก็บรักษาความลับ แล้วส่งผลกระทบในภาพรวมต่อรายการโทรทัศน์ ก็จะต้องเสียค่าปรับจำนวนหนึ่งสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น[17]
ซีรีส์
บอยส์ × เกิร์ล เน็กท์ดอร์ (2012–2014)
รักวุ่น ๆ ของหนุ่มสาวชาวเมือง (2015-2016)
อโลฮ่า ฮาวาย (2016-2017)
เปิดประตูสู่โอกาสใหม่ (2017-2019)
โตเกียว 2019-2020 (2019-2020)
พิธีกรในสตูดิโอ
พิธีกร
|
บอยส์ × เกิร์ล เน็กท์ดอร์
|
รักวุ่น ๆ ของหนุ่มสาวชาวเมือง
|
อโลฮ่า ฮาวาย
|
เปิดประตูสู่โอกาสใหม่
|
โตเกียว 2019-2020[a]
|
ยู
|
ตอนที่ 1–98
|
ตอนที่ 1–46
|
ตอนที่ 1–36
|
ตอนที่ 1–49
|
ตอนที่ 1–40
|
เรนะ ทรินเดิล
|
ตอนที่ 14–98
|
ตอนที่ 1–46
|
ตอนที่ 1–36
|
ตอนที่ 1–49
|
ตอนที่ 1–40, 43–44
|
โยชิมิ โทคุอิ
|
ตอนที่ 26–98
|
ตอนที่ 1–46
|
ตอนที่ 1–36
|
ตอนที่ 1–49
|
ตอนที่ 1–24
|
อาซูซะ บาบะโซโนะ
|
ตอนที่ 26–98
|
ตอนที่ 1–46
|
ตอนที่ 1–36
|
ตอนที่ 1–49
|
ตอนที่ 1–40
|
เรียวตะ ยามาซาโตะ
|
ตอนที่ 26–98
|
ตอนที่ 1–46
|
ตอนที่ 1–36
|
ตอนที่ 1–49
|
ตอนที่ 1–44
|
ฮิโรมิ โทซากะ
|
ตอนที่ 26–98
|
|
|
|
|
อายูมุ โมจิซุกิ
|
|
ตอนที่ 1–18
|
|
|
|
เคนทาโร
|
|
ตอนที่ 19–46
|
ตอนที่ 1–36
|
|
|
โชโนะ ฮายามะ
|
|
|
|
ตอนที่ 1–49
|
ตอนที่ 1–40
|
เสียงตอบรับ
เสียงตอบรับเชิงวิจารณ์
เทอร์เรซ เฮาส์ได้รับการชื่นชมจากการนำความสมจริงกลับสู่เรียลลิตีโชว์ การที่ไม่ค่อยเน้นไปทางดราม่ามากเท่าไหร่ ทำให้รายการโทรทัศน์นี้มีความโดดเด่น และน่าติดตาม[21] นิตยสารจีคิวได้อธิบายลักษณะของรายการโทรทัศน์นี้ว่า "เป็นรายการเรียลลิตีสำหรับคนที่เกลียดรายการเรียลลิตี"[22] จากความสำเร็จของเทอร์เรซ เฮาวส์ เรียลลิตีโชว์ที่ปราศจากดราม่า วิทยากรอาวุโสในวัฒนธรรมญี่ปุ่นร่วมสมัย วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน ได้ให้ความคิดเห็นว่า "ผมคิดว่าหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้รายการโทรทัศน์นี้เป็นที่สนใจในหมู่มาก คือการที่ผู้ชมสามารถรู้สึกได้ว่าพวกเขามีความเกี่ยวข้อง หรือรู้สึกสัมพันธ์กันกับสมาชิกในรายการโทรทัศน์นี้"[1] จูดี้ เบอร์แมน ของนิตยสารไทม์ ได้จัด "เทอร์เรซ เฮาส์: เปิดประตูสู่โอกาสใหม่" เป็นอันดับที่ 6 ของรายการโทรทัศน์ที่ดีที่สุดในปี 2018[23]
เรตติง
ในช่วงแรกของการออกอากาศ Boys × Girls Next Door ทางสถานีโทรทัศน์ฟูจิ ส่วนแบ่งผู้ชมรายการเพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 5.5% ตั้งแต่ตอนแรกของซีรีส์ ถึง 6.9% ในตอนจบ โดยตอนที่ 74 มีส่วนแบ่งผู้ชมถึง 9.1% นับเป็นเรตติ้งรายการสูงที่สุดของซีรีส์เรื่องนี้[24] ถึงแม้ว่าเน็ตฟลิกซ์ไม่ได้เปิดเผยถึงข้อมูลผู้ชม แต่หัวหน้าฝ่ายเนื้อหาเน็ตฟลิกซ์ญี่ปุ่น คาตะ ซากะโมโตะ กล่าวกับบลัซฟีด นิวส์ว่าเทอร์เรซ เฮาส์ได้ผลตอบรับที่ดีเกิดความคาดหมายในแง่ของผู้ชมต่างประเทศ[25]
หมายเหตุ
- ↑ พิธีกรในสตูดิโอมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง ในเดือนตุลาคม 2019 โยชิมิ โทคุอิ ได้ยุติบทบาทในวงการบันเทิงชั่วคราวหลังถูกเปิดเผยว่าหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี 3 ปีติดต่อกัน[18] ในเดือนเมษายน 2020 การถ่ายทำก็ได้หยุดชะงักจากการระบาดทั่วของโควิด-19[19] และออกอากาศตามปกติอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม 2020 ส่วนตอนที่เหลือในซีรีส์นี้ถูกยกเลิกหลังการเสียชีวิตของฮานะ คิมูระ[20]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Tan, Yvette (2018-06-29). "Japan's nice, calm antidote to Love Island". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2018-09-21.
- ↑ 2.0 2.1 Rivera, Joshua (2018-07-06). "This Is the Netflix Reality Show for People Who Hate Reality Shows". GQ (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-09-21.
- ↑ "テラスハウス - フジテレビ". フジテレビ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2018-09-21.
- ↑ "テラスハウス クロージング・ドア". テラスハウス クロージング・ドア (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-14. สืบค้นเมื่อ 2018-09-21.
- ↑ "Netflix、9月2日よりサービス開始". シネマトゥデイ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2016-05-24.
- ↑ "เทอร์เรซ เฮาส์: รักวุ่นๆ ของหนุ่มสาวชาวเมือง | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ Netflix". www.netflix.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "เทอร์เรซ เฮาส์: อโลฮ่า ฮาวาย | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ Netflix". www.netflix.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "เทอร์เรซ เฮาส์: เปิดประตูสู่โอกาสใหม่ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ Netflix". www.netflix.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "Fuji TV to end reality show "Terrace House" after cast member death". Kyodo News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-05-27. สืบค้นเมื่อ 2020-05-27.
- ↑ "'Terrace House' Is the Perfect Show to Watch With Your (My) Mom". Esquire (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-08-14. สืบค้นเมื่อ 2018-09-21.
- ↑ "help! i'm obsessed with netflix's terrace house". I-d (ภาษาอังกฤษ). 2018-03-27. สืบค้นเมื่อ 2018-09-21.
- ↑ Tan, Yvette (2018-06-29). "Japan's nice, calm antidote to Love Island". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2018-09-21.
- ↑ Ryall, Julian (2018-06-29). "Japanese fall for tranquil reality of Terrace House, the polite answer to Love Island". The Telegraph (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0307-1235. สืบค้นเมื่อ 2018-09-21.
- ↑ Siegel, Taryn (2017-12-22). "Lauren Tsai - Drawing inspiration from disparate places". Metropolis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-22. สืบค้นเมื่อ 2020-08-01.
- ↑ 15.0 15.1 Margolis, Eric (2020-07-20). "The Fall of 'Terrace House'". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-08-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "Hana Kimura's mother claims Terrace House producers forced her to be violent onscreen". Yahoo! (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- ↑ "Fuji TV had deal with 'Terrace House' cast on how scenes played out". เดอะเจแปนไทมส์ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-07-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-25. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ "Japanese comedian Tokui apologizes over $1 million in unreported income". The Mainichi. October 24, 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
- ↑ Brzeski, Patrick (2020-04-13). "Netflix's 'Terrace House' Halts Production as Coronavirus Lockdowns Finally Come to Japan". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
- ↑ "ศาลสั่งปรับผู้ต้องหาคดีไซเบอร์บูลลี่ 'นักมวยปล้ำหญิง' 3,000 บาท ชาวเน็ตชี้โทษเบาไป". ข่าวสด. 2021-03-31. สืบค้นเมื่อ 2021-10-07.
- ↑ "Letter of Recommendation: 'Terrace House'" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-09-21.
- ↑ Rivera, Joshua (2018-07-06). "This Is the Netflix Reality Show for People Who Hate Reality Shows". GQ (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-09-21.
- ↑ Berman, Judy (2018-11-15). "The 10 Best TV Shows of 2018". Time. สืบค้นเมื่อ 2019-08-17.
- ↑ "テラスハウス視聴率の完全なまとめ 過去最高・最低記録だったのはいつ? | 裏テラスハウス物語". niche-domain-news.jp (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-22. สืบค้นเมื่อ 2018-09-21.
- ↑ "How A Japanese Reality TV Show About Nothing Became A Global Hit". BuzzFeed News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-09-21.