เจ้าหญิงฮานาโกะ พระชายาในเจ้าชายมาซาฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 正仁親王妃華子; โรมาจิ: Masahito Shinnōhi Hanako; 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2483) พระนามเดิม ฮานาโกะ สึงารุ (ญี่ปุ่น: 津軽華子; โรมาจิ: Tsugaru Hanako) เป็นพระชายาในเจ้าชายมาซาฮิโตะ ฮิตาจิโนะมิยะ พระราชอนุชาในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ
พระประวัติ
ครอบครัวและการศึกษา
เจ้าหญิงฮานาโกะประสูติเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 เป็นธิดาคนที่สี่ของเคานต์โยชิตากะ สึงารุ กับฮิซาโกะ (สกุลเดิม โมริ) ซึ่งทั้งสองต่างมีพื้นเพมาจากตระกูลขุนนางเก่าแก่ของญี่ปุ่น
โดยโยชิตากะพระชนก เป็นผู้สืบตระกูลสึงารุคนสุดท้ายและเป็นบุตรบุญธรรมของไดเมียวแคว้นสึงารุ (ปัจจุบันคือเมืองฮิโรซากิ จังหวัดอาโอโมริ) ซึ่งแท้จริงแล้วพระชนกสืบเชื้อสายมาจากตระกูลโอวาริอันเป็นสาขาย่อยของตระกูลโทกูงาวะ และเป็นขุนนางชั้นสูงในยุคฟื้นฟูเมจิ ส่วนฮิซาโกะพระชนนีมาจากตระกูลโมริ ซึ่งตระกูลดังกล่าวเคยมีตำแหน่งเป็นไดเมียวปกครองแคว้นโชชูหรืออดีตจังหวัดนางาโตะ (ปัจจุบันคือจังหวัดยามางูจิ)
ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงมีพระประยูรญาติจำนวนมากทั้งฝ่ายพระชนกและพระชนนี เช่น เจ้าหญิงคิกูโกะ พระชายาในเจ้าชายโนบูฮิโตะเป็นพระญาติชั้นที่สองเมื่อนับจากพระชนก และเป็นญาติชั้นที่สองของทากามาซะ อิเกดะอดีตผู้สืบตระกูลอิเกดะ พระภัสดาของอัตสึโกะ อิเกดะ พระเชษฐภคินี (พี่สะใภ้)
เจ้าหญิงฮานาโกะทรงเข้ารับการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมศึกษาจนถึงระดับมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนกากูชูอิงอันเป็นโรงเรียนสำหรับลูกหลานชนชั้นเจ้านายและขุนนาง แล้วทรงศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษา ณ วิทยาลัยหญิงกากูชูอิงเมื่อปี พ.ศ. 2504
เสกสมรส
เจ้าหญิงฮานาโกะทรงมีปฏิสันถารกับเจ้าชายมาซาฮิโตะมาแต่เมื่อครั้งยังทรงศึกษาอยู่ในโรงเรียนกากูชูอิง สำนักพระราชวังได้ประกาศกำหนดการพระราชพิธีหมั้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 โดยมีพระราชพิธีหมั้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2507 และพระราชพิธีเสกสมรสเมื่อวันที่ 30 กันยายนปีเดียวกัน การนี้เจ้าชายมาซาฮิโตะได้รับพระราชทานพระอิสริยยศเป็น "ฮิตาจิโนะมิยะ" เป็นมหาสาขาใหม่ของพระราชวงศ์ แต่ทั้งสองพระองค์มิได้มีพระประสูติการพระราชบุตรเลยแม้แต่พระองค์เดียว
ปัจจุบันเจ้าชายมาซาฮิโตะและพระชายาประทับ ณ วังโคมาซาวาโดริ เขตชิบูยะ โตเกียว[1]
พระเกียรติยศ
ธรรมเนียมพระยศของ เจ้าหญิงฮานาโกะ พระชายาฯ |
---|
ตราประจำพระอิสริยยศ |
ธงประจำพระอิสริยยศ |
การทูล | ชินโนฮิเด็งกะ |
---|
การแทนตน | โบกุ (บุรุษ) / วาตาชิ (สตรี) |
---|
การขานรับ | เด็งกะ (殿下) |
---|
พระอิสริยยศ
- 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2483 – 30 กันยายน พ.ศ. 2507 : เลดีฮานาโกะ สึงารุ
- 30 กันยายน พ.ศ. 2507 – ปัจจุบัน : เจ้าหญิงฮานาโกะ พระชายาฯ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พงศาวลี
พงศาวลีของเจ้าหญิงฮานาโกะ พระชายาฯ[2]
|
| | | | | | | | | | | | | | | | |
| 16. โยชิตัตสึ มัตสึไดระ |
|
| | | | |
| 8. โยชิกัตสึ โทกูงาวะ | |
|
| | | | | | | |
| 17. ทาดาฮิเมะ โทกูงาวะ |
|
| | | | |
| 4. โยชิกูมิ โทกูงาวะ | |
|
| | | | | | | | | | |
| 18. นายซูซูกิ |
|
| | | | |
| 9. คัตสึ ซูซูกิ | |
|
| | | | | | | |
| 19. |
|
| | | | |
| 2. โยะชิตะกะ สึงารุ | |
|
| | | | | | | | | | | | | |
| 20. นาริโมริ โฮโซกาวะ |
|
| | | | |
| 10. สึงูอากิระ สึงารุ | |
|
| | | | | | | |
| 21. นางอาโอกิ |
|
| | | | |
| 5. ฮิโรโกะ สึงารุ | |
|
| | | | | | | | | | |
| 22. มันซูเกะ อิเซยะ |
|
| | | | |
| 11. อามิ อิเซยะ | |
|
| | | | | | | |
| 23. |
|
| | | | |
| 1. เจ้าหญิงฮานาโกะ พระชายาฯ | |
|
| | | | | | | | | | | | | | | | |
| 24. โมโตยูกิ โมริ |
|
| | | | |
| 12. โมโตโตชิ โมริ | |
|
| | | | | | | |
| 25. คิโนโกะ สึชิยะ |
|
| | | | |
| 6. โมริโอะ โมริ | |
|
| | | | | | | | | | |
| 26. ซาเนนารุ โองิมาชิซันโจ |
|
| | | | |
| 13. ยาซูโกะ โองิมาชิซันโจ | |
|
| | | | | | | |
| 27. นางอิมากิ |
|
| | | | |
| 3. ฮิซาโกะ โมริ | |
|
| | | | | | | | | | | | | |
| 28. นาริอากิ โทกูงาวะ |
|
| | | | |
| 14. อากิตาเกะ โทกูงาวะ | |
|
| | | | | | | |
| 29. มุตสึโกะ มาเดโนโกจิ |
|
| | | | |
| 7. มาซาโกะ โทกูงาวะ | |
|
| | | | | | | | | | |
| 30. โทรูยูกิ ไซโต |
|
| | | | |
| 15. ยาเอะ ไซโต | |
|
| | | | | | | |
| 31. |
|
| | | | |
|
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
เจ้าหญิงญี่ปุ่นโดยการเสกสมรส |
---|
|
รุ่นที่ 1 | | |
---|
รุ่นที่ 2 | |
---|
รุ่นที่ 3 | |
---|
รุ่นที่ 4 | |
---|
† เป็นเจ้าหญิงญี่ปุ่นมาแต่แรกประสูติ |