เคนดริก ลามาร์ ดักเวิร์ธ (อังกฤษ : Kendrick Lamar Duckworth ; เกิด 17 มิถุนายน ค.ศ. 1987) เป็นแร็ปเปอร์และนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เป็นที่รู้จักจากการทำดนตรีแนวโพรเกรสซิฟแร็ป และการแต่งเพลงเกี่ยวกับจิตสำนึกทางสังคม เขามักถูกมองว่าเป็นหนึ่งในศิลปินฮิปฮอปที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุคของเขา [ 1] [ 2] ลามาร์เกิดและเติบโตในคอมป์ตัน รัฐแคลิฟอร์เนีย เขาเริ่มต้นอาชีพขณะยังเป็นวัยรุ่นภายใต้ชื่อในการแสดงว่า เค.ดอต ต่อมาได้รับความสนใจจากผู้คนในท้องถิ่นอย่างรวดเร็วและทำให้เขาได้เซ็นสัญญากับท็อปดอว์กเอนเตอร์เทนเมนต์ (TDE) ในปี 2005[ 3]
หลังจากกลายเป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งของซูเปอร์กรุป แบล็กฮิปปี ลามาร์หันไปใช้ชื่อจริงและชื่อกลางของเขาเป็นชื่อในวงการ ในปี 2011 เขาออกสตูดิโออัลบั้มแรก เซกชัน.80 ซึ่งได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวก รวมถึงซิงเกิลเปิดตัวอย่าง "ไฮพาวเวอร์ " ด้วย ในปี 2012 ลามาร์ได้เซ็นสัญญากับอาฟเตอร์แมธเอนเตอร์เทนเมนต์ ของดร. เดร ภายใต้สังกัดของอินเตอร์สโคปเรเคิดส์ และออกอัลบั้มชุดที่สอง กูดคิด, เอ็ม.เอ.เอ.ดี ซิตี ดนตรีเป็นแนวเวสต์โคสต์ฮิปฮอป และแก๊งสตาแร็ป อัลบั้มนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะซิงเกิลชื่อ "สวิมมิงพูลส์ (ดริง) ", "แบ็กซีตฟรีสไตล์ " และ "บิตช์, โดนต์คิลมายไวบ์ "[ 4]
การไปเยือนแอฟริกาใต้เป็นแรงบันดาลใจให้กับอัลบั้มชุดที่สามของลามาร์ ทูพิมอะบัตเตอร์ฟลาย (2015) ซึ่งมีกลิ่นอายของดนตรีแจ๊ส[ 5] อัลบั้มได้รับคำสรรเสริญอย่างมากและกลายเป็นอัลบั้มแรกของเขาที่ขึ้นอันดับหนึ่งบนชาร์ตบิลบอร์ด 200[ 6] ในปีเดียวกัน เขายังขึ้นอันดับสูงสุดบนชาร์ตบิลบอร์ด ฮอต 100 เป็นครั้งแรกด้วยเพลงฉบับรีมิกซ์ "แบดบลัด " ของเทย์เลอร์ สวิฟต์ [ 7] ลามาร์ได้ทดลองดนตรีแนวอาร์แอนด์บี ป็อป และไซเคเดลิกโซลในอัลบั้มชุดที่สี่ แดมน์ (2017) เพลง "ฮัมเบิล " กลายเป็นซิงเกิลเดี่ยวอันดับหนึ่งซิงเกิลแรกของเขาและยังเป็นผลงานชิ้นแรกที่ไม่ใช่เพลงคลาสสิกและเพลงแจ๊สที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ประเภทดนตรี [ 8] หลังจากห่างหายไปนานถึง 4 ปี ลามาร์ออกอัลบั้มชุดที่ห้า มิสเตอร์มอเรลแอนด์เดอะบิกสเต็ปเปอส์ (2022) นอกจากนั้นเขายังกำกับและผลิตมิวสิกวิดีโอหลายตัว และภาพยนตร์อีกหลายเรื่องร่วมกับเดฟฟรี รวมถึงก่อตั้งบริษัทร่วมกันในชื่อ พีจีแลง ในปี 2019
ลามาร์มียอดขายกว่า 70 ล้านชุดในสหรัฐ อัลบั้มทั้งหมดของเขาได้รับการรับรองระดับทองคำขาว หรือสูงกว่านั้นจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA)[ 9] ตลอดอาชีพการงานของเขา ลามาร์ได้รับรางวัลมากมาย รวมถึงรางวัลแกรมมี 14 รางวัล รางวัลไพรม์ไทม์เอมมี 1 รางวัล อเมริกันมิวสิกอะวอดส์ 2 รางวัล บิลบอร์ดมิวสิกอะวอดส์ 6 รางวัล เอ็มทีวีวิดีโอมิวสิกอะวอดส์ 11 รางวัล บริตอะวอดส์ 1 รางวัล และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ ในปี 2015 ลามาร์ได้รับรางวัลไอคอนแห่งยุคจากวุฒิสภารัฐแคลิฟอร์เนีย และอยู่ในการจัดอันดับอีกมากมาย เช่น ไทม์ 100 และผู้ทรงอิทธิพลที่มีอายุไม่เกิน 30 ปีของฟอบส์ [ 10] [ 11] อัลบั้มของเขาถึงสามชุดอยู่ในรายชื่อ "500 อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล " ของนิตยสาร โรลลิงสโตน
อ้างอิง
↑ Gee, Andre (2019-12-30). "The 2010s: The Most Influential Rappers of the Decade" . Okayplayer (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-11 . Sonic experimentation, Afrocentric themes, and social commentary are in the fiber of popular music. And as “King Kendrick,” widely believed to be the best rapper of his generation, he played a huge part in that shift.
↑ Weiss, Jeff (2019-11-18). "The Best Rappers of the 2010s" . Complex (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-11-11 . A genius at writing dense literary missives that became massively popular anthems, he might be the closest analogue that rap has produced to Bob Dylan. Except there can only be one Kendrick Lamar, the one who made the times change.
↑ "Kendrick Lamar's Complete Discography – Tea & Weed" . teaandweed.com . February 12, 2021. สืบค้นเมื่อ March 23, 2022 .
↑ "Kendrick Lamar: the rise of a good kid rapper in a mad city" . The Guardian (ภาษาอังกฤษ). December 8, 2012. สืบค้นเมื่อ May 9, 2022 .
↑ " 'To Pimp a Butterfly' remains an important display of the life and struggles of modern-day Black America" . REVOLT (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ May 9, 2022 .
↑ "Best Albums of the Decade" . Metacritic (ภาษาอังกฤษ). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ April 6, 2019. สืบค้นเมื่อ April 1, 2020 .
↑ Lipshutz, Jason (2015-05-27). "Kendrick Lamar Scores First Hot 100 No. 1 Thanks to Taylor Swift" . Billboard (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-09 .
↑ Johnston, Chris (April 17, 2018). "Kendrick Lamar wins Pulitzer music prize" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). BBC News. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2018. สืบค้นเมื่อ May 31, 2018 .
↑ "Gold & Platinum" . RIAA (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ May 9, 2022 .
↑ "Time 100: Kendrick Lamar" . Time . April 21, 2016. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2016. สืบค้นเมื่อ April 21, 2016 .
↑ Greenburg, Zack O'Malley. "Kendrick Lamar, Conscious Capitalist: The 30 Under 30 Cover Interview" . Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-10-05 .
แหล่งข้อมูลอื่น