เขตปกครองและมณฑลของบริติชอินเดีย

แผนที่ของบริติชราชในปี 1909 สีชมพูคือมณฑลของบริติชอินเดีย (ปกครองโดยอังกฤษ) สีเหลืองคือรัฐพื้นเมือง (ปกครองโดยเหล่ามหาราชา)

มณฑลของอินเดีย (Provinces of India) หรือเดิมคือ เขตปกครอง (Presidency) เป็นหน่วยบริหารราชการในสมัยที่อังกฤษเข้าไปปกครองในอนุทวีปอินเดีย สามารถแบ่งเป็นสามช่วงเวลาได้แก่

  • ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1612 บริษัทอินเดียตะวันออกได้ตั้งบริษัททำการค้าในหลายๆ แห่งบริเวณชายฝั่งทางตะวันออกของอินเดียโดยได้รับการยินยอมจากเหล่ามหาราชา ซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองรัฐพื้นเมืองในอินเดีย อย่างไรก็ตาม อังกฤษไม่ใช่ชาติเดียวที่เข้ามาทำประโยชน์ในอินเดีย แต่ยังมีชาติอื่นอย่างฮอลแลนด์ และฝรั่งเศส ในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมืองในปกครอง (Presidency towns) ของอังกฤษทั้งสิ้น 3 แห่งคือ มัทราส, บอมเบย์ และกัลกัตตา เริ่มเติบโตมากขึ้น
  • ในปี ค.ศ. 1757 แคว้นเบงกอลขัดแย้งกับบริษัทฯจนเกิดเป็นยุทธการที่ปลาศี อังกฤษได้รับชัยชนะและเริ่มยุคการปกครองของบริษัทในอินเดีย บริษัทประสบความสำเร็จในการมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนส่วนมากในอนุทวีปอินเดีย ดินแดนเหล่านี้ถูกเรียกว่า เขตปกครอง (Presidency) บริหารโดยบริษัทภายใต้การกำกับของรัฐสภาอังกฤษ
  • หลังจากเกิดเหตุกบฏซีปอยในปี ค.ศ. 1857 รัฐสภาอังกฤษได้ตราพระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858 อำนาจการปกครองในอินเดียถูกโอนจากบริษัทไปขึ้นตรงกับสมเด็จพระราชินีนาถ ซึ่งได้ทรงตั้งข้าหลวงต่างพระองค์ไปปกครองอินเดียโดยมีที่ทำการรัฐบาลอยู่ในกัลกัตตา เขตปกครองทั้งหมดถูกเปลี่ยนเป็น มณฑล[1]

อ้างอิง

  1. Imperial Gazetteer of India vol. IV 1908, p. 5

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!