อำเภอเมืองระนอง |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Ranong |
---|
อนุสาวรีย์พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง ณ ระนอง) อยู่บนถนนเพิ่มผล ด้านหน้าเทศบาลเมืองระนอง ตำบลเขานิเวศน์ โดยได้นำรูปปั้นท่านมาประดิษฐานเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี เจ้าเมืองระนองผู้ทำคุณประโยชน์ในด้าน การทำเหมืองแร่และอากรดีบุกแก่บ้านเมืองและท้องถิ่น |
คำขวัญ: แหล่งท่องเที่ยวมากมี ไมตรีมากล้น ทุกคนปลอดภัย |
แผนที่จังหวัดระนอง เน้นอำเภอเมืองระนอง |
พิกัด: 9°58′2″N 98°38′2″E / 9.96722°N 98.63389°E / 9.96722; 98.63389 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | ระนอง |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 713.7 ตร.กม. (275.6 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2564) |
---|
• ทั้งหมด | 94,706 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 132.70 คน/ตร.กม. (343.7 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 85000 |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 8501 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองระนอง เลขที่ 300 หมู่ที่ 1 ถนนเพชรเกษม ตำบลบางริ้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 85000 |
---|
|
เมืองระนอง เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครอง เศรษฐกิจ และการคมนาคมของจังหวัดระนอง มีพื้นที่ใน 1 เขตสงวนชีวมณฑลโลกและ 4 อุทยานแห่งชาติ คือพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง[1] อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว[2][3] อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี[4] อุทยานแห่งชาติแหลมสน[5]
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอเมืองระนองมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
ประวัติ
ระนอง หรือเมืองแร่นอง เดิมเป็นหัวเมืองเล็ก ๆ มีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเมืองชุมพรมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 2 เมือง คือ เมืองระนองและเมืองตระ ซึ่งอยู่ในการปกครองเมืองชุมพร เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง เรียกชื่อตามนามเมืองว่า “หลวงระนอง” ครั้นต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีชาวจีนฮกเกี้ยนชื่อ “ คอซู้เจียง ” ได้ยื่นขอประมูลอากรดีบุกในเขตเมืองระนองและเมืองตระ[6] พระบาทสมเด็จหลวงรัตนเศรษฐี ดำรงตำแหน่งนายอากรเมืองตระและเมืองระนอง
ตำแหน่งเจ้าเมืองระนองว่างลงในปี พ.ศ. 2397 เนื่องจากหลวงระนองป่วยถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์ หลวงรัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) ขึ้นเป็นพระรัตนเศรษฐี เป็นเจ้าเมืองระนอง เมื่อพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษและรัฐบาลอังกฤษได้จัดการปกครองหัวเมืองที่ได้ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่าเมืองระนองและเมืองตระ เป็นเมืองขึ้นอยู่ในเมืองชุมพรจะรักษาราชการ ทางชายแดนไม่สะดวก จึงโปรดฯ ให้ยกเมืองตระและเมืองระนอง เป็นหัวเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระรัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) ขึ้นเป็นผู้ว่าราชการเมืองระนอง เมื่อ พ.ศ. 2405 และในปี พ.ศ. 2420 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ระนองมีฐานะเป็นหัวเมืองอิสระและต่อมาได้ยกฐานะ เป็นจังหวัดและได้มีการยุบเมืองตระเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอกระบุรี โดยให้ขึ้นกับจังหวัดระนองตั้งแต่นั้นมาจังหวัดระนองในอดีตมีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองดีบุก เมืองชายแดน[7]
- วันที่ 14 มีนาคม 2479 จัดตั้งเทศบาลเมืองระนอง ในท้องที่ตำบลเขานิเวศน์[8]
- วันที่ 14 พฤศจิกายน 2481 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเขานิเวศน์ จังหวัดระนอง เป็น อำเภอเมืองระนอง[9]
- วันที่ 20 กรกฎาคม 2486 เปลี่ยนแปลงเขตกิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง กับอำเภอกระบุรี โดยโอนพื้นที่หมู่ 4 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางแก้ว กิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง ไปขึ้นกับตำบลลำเลียง อำเภอกระบุรี[10]
- วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2490 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอกระบุรี กับกิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง โดยโอนพื้นที่บ้านเขาฝาชี ของตำบลลำเลียง อำเภอกระบุรี ไปตั้งเป็นหมู่ 4 ของตำบลบางแก้ว กิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง[11]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบางนอน แยกออกจากตำบลปากน้ำ ตั้งตำบลหงาว แยกออกจากตำบลบางริ้น ตั้งตำบลละอุ่นเหนือ แยกออกจากตำบลละอุ่น ตั้งตำบลบางพระเหนือ แยกออกจากตำบลบางพระ ตั้งตำบลบางหิน แยกออกจากตำบลกะเปอร์ ตั้งตำบลเชี่ยวเหลียง แยกออกจากตำบลบ้านนา และตั้งตำบลนาคา แยกออกจากตำบลกำพวน[12]
- วันที่ 28 กันยายน 2491 โอนพื้นที่หมู่ 3 (ในขณะนั้น) ของตำบลปากน้ำ ไปขึ้นกับตำบลหงาว[13]
- วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2494 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดระนอง กับจังหวัดชุมพร โดยโอนพื้นที่ตำบลเขาทะลุ กิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง ไปขึ้นกับ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร[14]
- วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลกะเปอร์ ในท้องที่บางส่วนของตำบลกะเปอร์[15]
- วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลละอุ่น ในท้องที่บางส่วนของตำบลละอุ่น[16]
- วันที่ 28 กรกฎาคม 2502 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเมืองระนอง กับกิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง โดยโอนพื้นที่ตำบลทรายแดง กิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง มาขึ้นกับ อำเภอเมืองระนอง[17]
- วันที่ 27 กรกฎาคม 2507 ยกฐานะกิ่งอำเภอกะเปอร์ อำเภอเมืองระนอง เป็น อำเภอกะเปอร์[18]
- วันที่ 28 มิถุนายน 2516 ยกฐานะกิ่งอำเภอละอุ่น อำเภอเมืองระนอง เป็น อำเภอละอุ่น[19]
- วันที่ 22 มกราคม 2517 จัดตั้งสุขาภิบาลหงาว ในท้องที่บางส่วนของตำบลหงาว[20]
- วันที่ 15 มิถุนายน 2519 จัดตั้งสุขาภิบาลปากน้ำ ในท้องที่บางส่วนของตำบลปากน้ำ[21]
- วันที่ 26 กันยายน 2529 ตั้งตำบลเกาะพยาม แยกออกจากตำบลปากน้ำ[22]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลหงาว และสุขาภิบาลปากน้ำ เป็นเทศบาลตำบลหงาว และเทศบาลตำบลปากน้ำ ตามลำดับ[23]
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอเมืองระนองแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล 39 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ
|
อักษรไทย
|
อักษรโรมัน
|
จำนวนหมู่บ้าน
|
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[24]
|
แผนที่
|
1.
|
เขานิเวศน์[9]
|
Khao Niwet
|
–
|
18,609
|
|
2.
|
ราชกรูด
|
Ratchakrut
|
8
|
9,691
|
3.
|
หงาว
|
Ngao
|
5
|
9,413
|
4.
|
บางริ้น
|
Bang Rin
|
6
|
23,054
|
5.
|
ปากน้ำ
|
Pak Nam
|
6
|
10,450
|
6.
|
บางนอน
|
Bang Non
|
4
|
14,418
|
7.
|
หาดส้มแป้น
|
Hat Som Paen
|
3
|
3,197
|
8.
|
ทรายแดง
|
Sai Daeng
|
4
|
3,941
|
9.
|
เกาะพยาม
|
Ko Phayam
|
2
|
1,255
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเมืองระนองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
|
---|
|