อำเภอวังทอง |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Wang Thong |
---|
น้ำตกวังนกแอ่น (สวนรุกชาติสกุโณทยาน) |
คำขวัญ: ล้ำค่าเขาสมอแคลง ล่องแก่งชมไพร ผัดไทยขึ้นชื่อ เลื่องลือส้มแผ่น ดินแดนน้ำตกงาม |
แผนที่จังหวัดพิษณุโลก เน้นอำเภอวังทอง |
พิกัด: 16°49′27″N 100°25′43″E / 16.82417°N 100.42861°E / 16.82417; 100.42861 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | พิษณุโลก |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 1,687.05 ตร.กม. (651.37 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2564) |
---|
• ทั้งหมด | 118,501 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 70.24 คน/ตร.กม. (181.9 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 65130, 65220 (เฉพาะตำบลบ้านกลางและแก่งโสภา) |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 6508 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอวังทอง ถนนพิษณุโลก-หล่มสัก ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 65130 |
---|
|
วังทอง เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก เดิมมีพื้นที่ขนาดใหญ่มาก ต่อมามีการแบ่งพื้นที่การปกครองออกในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ครอบคลุมท้องที่ทั้งหมดของอำเภอวังทอง อำเภอเนินมะปราง[1] บางส่วนของอำเภอบางกระทุ่ม[2] ในจังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ทั้งหมดของอำเภอสากเหล็ก บางส่วนของอำเภอเมืองพิจิตร บางส่วนของอำเภอวังทรายพูน[3] ในจังหวัดพิจิตร รวมไปถึงพื้นที่ของอำเภอวังโป่งทั้งหมด ในจังหวัดเพชรบูรณ์
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอวังทองมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
ประวัติ
ตามหลักฐาน อำเภอวังทองตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2438 ในเวลานั้นยังไม่มีเขตการปกครอง ตั้งอยู่ที่บ้านสามเรือน ซึ่งเรียกว่า อำเภอนครป่าหมาก[4] ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2441 ได้ย้ายจากบ้านสามเรือน ตำบลนครป่าหมาก มาตั้งที่บ้านวังทอง ตำบลตลาดชุม (ปัจจุบัน คือ ตำบลวังทอง ตรงกับตลาดเทศบาลวังทอง) แต่ยังคงใช้ชื่อเดิม[5]
ในปี พ.ศ. 2451 ท้องที่ตำบลสากเหล็ก ตำบลป่ามะคาบ และตำบลวังโป่ง เขตอำเภอนครป่าหมาก มีระยะทางห่างไกลจากตัวอำเภอจึงได้โอนพื้นที่ตำบลสากเหล็ก ตำบลป่ามะคาบ ไปขึ้นกับอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร และโอนพื้นที่ตำบลวังโป่งไปขึ้นกับกิ่งอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์[3]
ในปี พ.ศ. 2470 ได้ประกาศจัดตั้งเขตการปกครองกิ่งอำเภอบางกระทุ่ม โดยขึ้นต่ออำเภอเมืองพิษณุโลก มีการโอนพื้นที่ตำบลเนินกุ่ม ตำบลไผ่ล้อม และตำบลนครป่าหมาก ไปเป็นเขตปกครองของกิ่งอำเภอบางกระทุ่ม[2][6] และได้รับโอนพื้นที่ตำบลบ้านกลาง ตำบลแก่งโสภา ซึ่งขณะนั้นอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองนครไทย ให้มาขึ้นกับเขตการปกครองของทางอำเภอ[7] ต่อมาบริเวณที่ว่าการอำเภอนครป่าหมากได้ถูกน้ำเซาะตลิ่งพัง จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภออีกครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อตำบลที่ตั้งอำเภอจากชื่อตำบลตลาดชุม เป็น "ตำบลวังทอง" และเปลี่ยนชื่ออำเภอให้เป็น "อำเภอวังทอง"[8] มาจนถึงปัจจุบันนี้
ในปี พ.ศ. 2519 ได้มีการแบ่งพื้นที่อีกครั้งโดยประกาศจัดตั้งเขตการปกครองกิ่งอำเภอเนินมะปราง โดยมีพื้นที่ตำบลชมพู ตำบลบ้านมุง ตำบลไทรย้อย[1] ที่แยกออกไป
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอวังทองแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 168 หมู่บ้าน ได้แก่
1. |
วังทอง |
|
|
(Wang Thong) |
|
|
15 หมู่บ้าน |
|
|
|
|
7. |
ท่าหมื่นราม |
|
|
(Tha Muen Ram) |
|
|
14 หมู่บ้าน
|
2. |
พันชาลี |
|
|
(Phan Chali) |
|
|
17 หมู่บ้าน |
|
|
|
|
8. |
วังนกแอ่น |
|
|
(Wang Nok Aen) |
|
|
20 หมู่บ้าน
|
3. |
แม่ระกา |
|
|
(Mae Raka) |
|
|
15 หมู่บ้าน |
|
|
|
|
9. |
หนองพระ |
|
|
(Nong Phra) |
|
|
12 หมู่บ้าน
|
4. |
บ้านกลาง |
|
|
(Ban Klang) |
|
|
27 หมู่บ้าน |
|
|
|
|
10. |
ชัยนาม |
|
|
(Chai Nam) |
|
|
8 หมู่บ้าน
|
5. |
วังพิกุล |
|
|
(Wang Phikun) |
|
|
15 หมู่บ้าน |
|
|
|
|
11. |
ดินทอง |
|
|
(Din Thong) |
|
|
11 หมู่บ้าน
|
6. |
แก่งโสภา |
|
|
(Kaeng Sopha) |
|
|
13 หมู่บ้าน
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอวังทองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลวังทอง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลวังทอง
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังทอง (นอกเขตเทศบาลตำบลวังทอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลพันชาลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพันชาลีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ระกา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ระกาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังพิกุล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังพิกุลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งโสภา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแก่งโสภาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหมื่นราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหมื่นรามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังนกแอ่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพระ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองพระทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชัยนาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชัยนามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดินทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดินทองทั้งตำบล
อ้างอิง
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
|
---|
|