อำเภอมวกเหล็ก

อำเภอมวกเหล็ก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Muak Lek
ย่านตลาดมวกเหล็กกับบรรยากาศยามเย็น
ย่านตลาดมวกเหล็กกับบรรยากาศยามเย็น
คำขวัญ: 
เนื้อนุ่ม นมดี กะหรี่ปั๊บดัง
คลังเครื่องหนัง วังรีสอร์ต ยอดน้ำตก
แผนที่จังหวัดสระบุรี เน้นอำเภอมวกเหล็ก
แผนที่จังหวัดสระบุรี เน้นอำเภอมวกเหล็ก
พิกัด: 14°39′20″N 101°11′54″E / 14.65556°N 101.19833°E / 14.65556; 101.19833
ประเทศ ไทย
จังหวัดสระบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด681.4 ตร.กม. (263.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด56,360 คน
 • ความหนาแน่น82.71 คน/ตร.กม. (214.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 18180, 18220 (เฉพาะตำบลซับสนุ่น),
30130 (เฉพาะตำบลลำพญากลางและตำบลลำสมพุง)
รหัสภูมิศาสตร์1911
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอมวกเหล็ก หมู่ที่ 3 ถนนเทศบาล ตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี 18180
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

มวกเหล็ก เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสระบุรี แต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอแก่งคอย

ประวัติศาสตร์

ในอดีตอำเภอมวกเหล็กเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอแก่งคอย กระทรวงมหาดไทยเห็นควรในการแบ่งเขตการปกครองของอำเภอแก่งคอยออกมาเป็น อำเภอมวกเหล็ก โดยรวมพื้นที่ตำบลมวกเหล็ก ตำบลคำพราน และตำบลแสลงพัน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2511 โดยไม่ผ่านการจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอ[1] ที่มาของชื่ออำเภอมวกเหล็กมีอยู่สองความคิด ความคิดแรกมวกเหล็กเป็นชื่อของเถาไม้ชนิดหนึ่งที่ ขึ้นอยู่ทั่วไปริมลำธารแห่งนี้ จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า มวกเหล็ก ความคิดหนึ่งเล่าว่าเคยพบหมวกเหล็กของนักรบโบราณที่ลำธารแห่งมวกเหล็กนี้ จึงเรียกว่า บ้านหมวกเหล็ก ต่อมาคนที่นี่เรียกเป็น มวกเหล็ก[2]

ที่ตั้งและอาณาเขต

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอมวกเหล็กแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล 80 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ จำนวนหมู่บ้าน
1. มวกเหล็ก Muak Lek 13 หมู่บ้าน
2. มิตรภาพ Mittraphap 10 หมู่บ้าน
3. หนองย่างเสือ Nong Yang Suea 14 หมู่บ้าน
4. ลำสมพุง Lam Somphung 10 หมู่บ้าน
5. ลำพญากลาง Lam Phaya Klang 18 หมู่บ้าน
6. ซับสนุ่น Sap Sanun 15 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอมวกเหล็กประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลมวกเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลมวกเหล็กและตำบลมิตรภาพ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมวกเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมวกเหล็ก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลมวกเหล็ก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมิตรภาพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมิตรภาพ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลมวกเหล็ก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองย่างเสือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองย่างเสือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำสมพุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำสมพุงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลำพญากลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำพญากลางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลซับสนุ่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลซับสนุ่นทั้งตำบล

การคมนาคม

เส้นทางที่น่าสนใจ ได้แก่

  • อุโมงค์ต้นไม้ บนเส้นทางมวกเหล็ก-วังม่วง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2089
  • เนินพิศวง บนเส้นทางสายมวกเหล็ก-ซับน้อยเหนือ หากจอดรถเข้าเกียร์ว่าง จะเกิดภาพลวงตามองเห็นรถเคลื่อนที่จากที่ต่ำไปยังที่สูง

เส้นทางรถไฟที่ผ่านมวกเหล็ก มี 3 สถานี

1. สถานีรถไฟมวกเหล็ก (สถานีหลัก)
2. สถานีรถไฟผาเสด็จ
3. สถานีรถไฟหินลับ

ทางรถยนต์

มีทางหลวงหลักคือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) และมีถนนเส้นหลัก 10 สาย ได้แก่

1. สายมวกเหล็ก–วังม่วง
2. สายมวกเหล็ก–ซับน้อยเหนือ
3. สายซับประดู่–บ้านท่าเสา
4. สายแก่งคอย–วังม่วง
5. สายเขาไม้เกวียน–หลังสถานีรถไฟ
6. สายหมู่ 3 – บ้านมอมะเกลือ
7. สายซับตาเพ็ง
8. สายบ้านปากคลอง–บ้านดงน้ำฉ่า
9. สายหมู่ 4 – หมู่ 7
10. สายสถานีอนามัย–บ้านหินลับ

รถประจำทาง จำนวน 3 สาย ได้แก่

  • สายกรุงเทพฯ (จตุจักร) – มวกเหล็ก
  • สายมวกเหล็ก – วังม่วง
  • สายสระบุรี – มวกเหล็ก – น้ำตกเจ็ดสาวน้อย

สถานที่ท่องเที่ยว

  • ไร่องุ่น ตั้งอยู่ริมสองข้างทาง เส้นทางมวกเหล็ก-วังม่วง
  • น้ำตกเจ็ดสาวน้อย เป็นน้ำตกที่มีถึงเจ็ดชั้น ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย
  • สวนรุกขชาติมวกเหล็กและน้ำตกมวกเหล็ก
  • ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค[3] เป็นหนึ่งในฟาร์มโคนมที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นสำนักงานใหญ่ของ อ.ส.ค.[4] เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งแรกๆของประเทศไทย มีกิจกรรมเช่น ปั่นเรือปั่น ฝึกรีดนมวัวโดยการสอนของเจ้าหน้าที่ ป้อนนมลูกวัว โชว์จับวัวด้วยเชือก และมีการทัวร์ทั่วฟาร์ม ที่มีฉากหลังเป็นภูเขา และท้องฟ้า บรรยากาศที่สดชื่น มีลานหญ้ากว้างขนาดใหญ่ และจุดจอดเฮลิคอปเตอร์สำหรับการเดินทางมาเยือนด้วยเฮลิคอปเตอร์ บริเวณนี้เป็นที่นิยมถ่ายรูปกันเป็นอย่างมาก

เทศกาล

  • เทศกาลศาลเจ้าพ่อมวกเหล็ก เป็นการแห่เฉลิมฉลองแด่ศาลเจ้าพ่อมวกเหล็กของมวกเหล็ก ในยามค่ำคืนจะเป็นงานเทศกาลออกร้านของกิน เครื่องเล่น และมีการแสดงเช่น งิ้ว ลิเก มีขึ้นในช่วงปลายเดือนธันวาของทุกปี
  • เทศกาลวันโคนมแห่งชาติ เป็นการเฉลิมฉลองการเกิดขึ้นของโคนมไทย จัดขึ้นในช่วงครึ่งเดือนมกราคมของทุกปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จมาเปิดงาน ภายในเทศกาลจะมีเครื่องเล่น ของกิน และการออกร้านของเจ้าของผลิตภัณฑ์นมต่าง ๆ
  • เทศกาลทุ่งดอกทานตะวัน เทศกาลปลูกทุ่งทานตะวันสีเหลืองสุดสายตา กับฉากหลังเป็นภูเขาปลูกขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ของทุกปี
  • เทศกาลถือศีลกินผัก มวกเหล็กมีคนไทยเชื้อสายจีนอยู่ และมีศาลเจ้าพ่อมวกเหล็ก เมื่อถึงเทศกาลกินเจ จะมีการจัดซุ้มอาหารตามจุดต่าง ๆ ทั่วเมือง จัดขึ้นในทุกวันตรุษจีน เพื่อความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เมตตาแก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์ทุกชนิด จนถึงธรรมชาติ

ตลาด

  • ย่านตลาดมวกเหล็ก เป็นบริเวณก่อนถึงทางรถไฟ หากมาจากทิศใต้ บริเวณนี้เป็นตลาดที่มีครบทุกอย่าง ทั้งผักสดในตอนเช้า ร้านขายยา ร้านขายอุปกรณ์ต่าง ๆ อุปกรณ์การเกษตร ร้านกาแฟ ร้านสเต๊ก โต้รุ่ง มีร้านช่างตัดผมที่เปิดมาอย่างยาวนานมากมาย อาคารไม้ที่ดั้งเดิม และสวยงาม
  • ย่านตลาดสีทองคำ เป็นย่านที่ตั้งของเทศบาลตำบลมวกเหล็ก มีร้านเช่นเดียวกับย่านตลาดมวกเหล็ก
  • ย่านริมทางรถไฟ เป็นเพียงถนนสายสั้น ๆ ริมทางรถไฟ เป็นย่านที่มีอาคารไม้แบบโบราณที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ที่สร้างโดยการรถไฟ เป็นบรรยากาศที่คลาสสิกอย่างมาก จะมีร้านค้า เช่น ร้านขนมเบเกอร์รี่ ร้านตัดผม ร้านขายเสื้อผ้า ร้านตัดเย็บ
  • ย่านโต้รุ่ง มวกเหล็กมีโต้รุ่งอยู่ 2 แห่ง แห่งแรกคือตลาดโต้รุ่งหน้าน้ำตก และตลาดโต้รุ่งริมทางรถไฟ
  • ตลาดนัดวันเสาร์ (ช่วงเช้า) ในช่วงเช้าของวันเสาร์เลยไปรษณีย์มวกเหล็ก จะพบกับถนนคนเดินที่ถอดยาว เต็มไปด้วยร้านค้ามากมาย เป็นถนนคนเดินแห่งแรกของมวกเหล็ก และเก่าแก่ ร้านค้าในยุคก่อนยังคงอยู่ ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ชีวิต รวมตัวอยู่ที่นี่
  • ถนนคนเดินมวกเหล็ก (ช่วงเย็น) ก่อนพระอาทิตย์จะตกดิน พ่อค้าแม่ค้าจะเริ่มตั้งร้านของตัวเอง ริมศูนย์เพาะพันธ์ไม้มวกเหล็ก ถนนคนเดินแห่งนี้ตั้งอยู่ริมไม้สูง บรรยากาศร่มรื่นกับพระอาทิตย์ตก ร้านค้าของกินอร่อย ๆ มากมาย ของใช้ที่มาจากช่างฝีมือ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ อาหารอร่อย ขนมต่าง ๆ
  • ตลาดนัดสี่แยกต้นแค ตั้งอยู่ที่สี่แยกไฟแดงแห่งเดียวของมวกเหล็ก ซึ่งเป็นจุดตัดของถนนสายมวกเหล็กวังม่วงและมวกเหล็ก-ซับน้อยเหนือ ที่นี่มีร้านของกิน วัตถุดิบทำอาหาร ของใช้ในประจำวัน อยู่มากมาย ตลาดเริ่มขึ้นช่วงเย็นทุกวันจันทร์ พฤหัส ศุกร์ และอาทิตย์
  • ตลาดนัดวันพุธ ในอดีตเคยอยู่ที่ริมทางรถไฟ พ่อค้าแม่ค้าย้ายมาเช่าพื้นที่วัดมวกเหล็กนอกที่ตั้งอยู่ใกล้ ขอใช้ที่เป็นตลาดแทน ตลาดแห่งนี้ตั้งอยู่ในวัด เช่นเดียวกับตลาดนัดสี่แยกต้นแคร์ที่มีร้านค้าของกิน และวัตถุดิบทำอาหาร แต่จะมีร้านน้อยกว่าเล็กน้อย เนื่องจากมีพื้นที่จำกัด แต่จะได้เห็นความสวยงามของโบสถ์คู่กับตลาดนัดยามเย็น

ของกินท้องถิ่น

  • กะหรี่ปั๊บ เป็นขนมแบบตะวันตกผสมกับอินเดีย คาดว่าท้าวทองกีบม้าคิดค้นขึ้น เป็นขนมที่ทอดกรอบสอดไส้หลากหลายเช่น ไส้สัปปะรด ไส้พริกเผา ไส้เห็ดหอม ไส้เผือก ไส้องุ่นที่เป็นการผสมผสานกับองุ่นที่ปลูกมากในมวกเหล็ก รวมทั้งยังมีอีกหลากหลายไส้
  • องุ่น ภูมิอากาศที่เหมาะสมในหน้าหนาวทำให้มีหลายคนปลูกองุ่นกัน รวมทั้งเพื่อการแวะชมสวน

การกีฬา

ชาวมวกเหล็กมีสถานที่สำหรับเล่นกีฬา พักผ่อนได้หลายแห่ง เช่น

  • ฟิตเนสเทศบาลตำบลมวกเหล็ก
  • สนามฟุตซอลมวกเหล็ก
  • สนามบอลโรงพักมวกเหล็ก

รวมทั้งลานกีฬาและสนามเด็กเล่นอีกหลายแห่ง

ศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ

ลานจอดรถที่ศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ มวกเหล็ก
บรรยากาศฟ้าหลังฝน

ศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติมวกเหล็กตั้งอยู่บริเวณด้านซ้ายมือของถนนมิตรภาพ ก่อนถึงเทพประทานปาร์ควิว (กรณีเดินทางจากมวกเหล็ก-กรุงเทพมหานคร) ซึ่งอดีตนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2543 ดำเนินการก่อสร้างบนพื้นที่กว่า 600 ไร่ ภายใต้งบประมาณประจำปี 2552 จำนวน 140 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2553 ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลเพิ่มเติม ได้แก่ งบประมาณไทยเข้มแข็ง จำนวน 76 ประกอบด้วยการก่อสร้างอาคารดังนี้

  • อาคารที่พักนักกีฬา 5 ชั้น อาคารกีฬาในร่ม (กีฬามวย)
  • อาคารกีฬาคนพิการ
  • สระว่ายน้ำขนาดมาตรฐาน 50 เมตรพร้อมหลังคาและสระกระโดด[5] ตั้งอยู่ ที่ 329 หมู่ 4 ถนนมิตรภาพ ตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี มีทัศนียภาพที่สวยงามท่ามกลางบรรยากาศที่โอบล้อมด้วยภูเขา มีโอโซนบริสุทธิ์เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย และตั้งอยูในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสระบุรีเหมาะสำหรับการพักผ่อนและเล่นกีฬาและให้เช่าสถานที่จัดกิจกรรม ประชุม สัมมนา ฯลฯ เป็นศูนย์กีฬาเพื่อสุขภาพ และห้องพักราคาประหยัดพร้อมสถานที่พักผ่อน ออกกำลังกายท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม[6]

มวกเหล็กคัพ

มวกเหล็กมีกิจกรรมแข่งขันกีฬา มวกเหล็กร่วมใจต้านภัยยาเสพติด ประจำทุกปี เริ่มแข่งในครั้งแรกในปี 2543 เราต้องการส่งเสริมให้คนที่นี่ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์กับตัวเอง ไม่ไปยุ่งกับสิ่งมอมเมา ยาเสพติด และเป็นการดูแลสุขภาพให้กับเรา ที่งานนี้มีการแข่งขัน ฟุตบอลชายและหญิง แบ่งประเภทเป็นกลุ่มบริหาร กลุ่มสตรีและแม่บ้าน และกลุ่มประชาชน ซึ่งทุกตำบลจะคัดเลือกส่งทีมเข้าแข่งขันประเภทละ 1 ทีม การแข่งขันเป็นระบบเหย้าเยือน หมุนเวียนกันไป พิธีเปิด-ปิดและนัดชิงชนะเลิศใช้สนามกีฬาของมหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิกเป็นสนามกลางในกลางแข่งขัน[7]

การศึกษา

สถาบันการศึกษาของรัฐบาล

การศึกษาโดยเอกชน

อ้างอิง

  1. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอมวกเหล็ก พ.ศ. ๒๕๑๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (121 ก): 1051–1053. December 31, 1968. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2021-08-03.
  2. "บรรยายสรุปจังหวัดสระบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-20. สืบค้นเมื่อ 2015-01-30.
  3. "ประวัติความเป็นมาฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-10. สืบค้นเมื่อ 2013-10-01.
  4. อ.ส.ค.
  5. ศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติมวกเหล็ก ไทยรัฐ
  6. "เกี่ยวกับศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2013-10-14.
  7. "การกีฬาอำเภอมวกเหล็ก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-10. สืบค้นเมื่อ 2013-10-14.
  8. "ที่ตั้งโรงเรียนนายเรือกาศ ณ สนามบินมวกเหล็ก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-11. สืบค้นเมื่อ 2013-08-25.
  9. "สถานที่ตั้งสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2010-12-26.
  10. "โรงเรียนพีระวิทยา อำเภอมวกเหล็ก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-10-01.

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Muak Lek District

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!