อำเภอทุ่งหว้า

อำเภอทุ่งหว้า
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Thung Wa
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ในท้องที่อำเภอทุ่งหว้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล และอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
คำขวัญ: 
เมืองท่าสุไหงอุเป เสน่ห์หาดทรายดำ
หลากหลายวัฒนธรรม รสล้ำกะปิดี
แผนที่จังหวัดสตูล เน้นอำเภอทุ่งหว้า
แผนที่จังหวัดสตูล เน้นอำเภอทุ่งหว้า
พิกัด: 7°6′33″N 99°45′21″E / 7.10917°N 99.75583°E / 7.10917; 99.75583
ประเทศ ไทย
จังหวัดสตูล
พื้นที่
 • ทั้งหมด416.03 ตร.กม. (160.63 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด24,506 คน
 • ความหนาแน่น58.90 คน/ตร.กม. (152.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 91120
รหัสภูมิศาสตร์9106
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอทุ่งหว้า หมู่ที่ 8 ถนนตรัง-สตูล ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล 91120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ทุ่งหว้า เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสตูล เคยชื่อว่า "สุไหงอุเป" หมายถึง คลองกาบหมาก เป็นเมืองเก่าแก่ในมณฑลไทรบุรี ก่อนที่ไทยจะยกไทรบุรีและปะลิส ไปอยู่ในความปกครองของอังกฤษ[1] จึงได้โอนเมืองสตูลมาขึ้นกับมณฑลภูเก็ต และในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อจากสุไหงอุเปเป็น "ทุ่งหว้า"[2] จนถึงปัจจุบัน

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอทุ่งหว้า มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

ทุ่งหว้าเดิมเรียกว่า "สุไหงอุเป" (Su-ngai Upe) หมายถึง คลองกาบหมาก ขณะนั้น (ปี พ.ศ. 2440) ทำการค้ากับชาวต่างประเทศมีความเจริญรุ่งเรืองมาก สินค้าที่มีชื่อเสียงคือ พริกไทย ในภูมิภาคแถบนี้ขนานนามว่า "ปีนังน้อย" หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460 ทางราชการได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอสุไหงอุเป จังหวัดสตูล เป็นชื่อ "อำเภอทุ่งหว้า"[2] อย่างเป็นทางการ คำว่า "ทุ่งหว้า" มีที่มาจากที่ตั้งของตลาด ร้านค้า และสถานที่ราษฎร ตั้งอยู่กลางทุ่ง มีต้นไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า "ต้นหว้า" จึงขนามตามลักษณะที่ตั้งว่า "ทุ่งหว้า"

อำเภอทุ่งหว้าเดิมเคยเป็นที่ตั้งของอำเภอละงู ขณะนั้นตัวอำเภอละงู (ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน) มีฐานะเป็นกิ่งอำเภอละงู และขึ้นการปกครองกับอำเภอทุ่งหว้า ในปี พ.ศ. 2473 ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอทุ่งหว้า ไปตั้งที่กิ่งอำเภอละงู และตั้งเป็น "อำเภอละงู" ส่วนที่ว่าการกิ่งอำเภอละงู ไปตั้งที่ตำบลทุ่งหว้า และยุบอำเภอทุ่งหว้าลงเป็น "กิ่งอำเภอทุ่งหว้า"[3] และขึ้นการปกครองกับอำเภอละงูตั้งแต่นั้นมา ก่อนที่ภายหลังจะจัดตั้งเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2516

  • วันที่ 8 สิงหาคม 2452 โอนมณฑลไทรบุรี และมณฑลปะลิส ไปอยู่ในความปกครองของอังกฤษ กับโอนเมืองสตูล มาขึ้นกับมณฑลภูเก็ตให้เป็นเมืองจัตวา[1] และแยกพื้นที่บางตำบลของอำเภอสุไหงอุเป จัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอละงู ให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอสุไหงอุเป
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอสุไหงอุเป จังหวัดสตูล เป็น อำเภอทุ่งหว้า[2]
  • วันที่ 14 กันยายน 2473 ย้ายที่ว่าการอำเภอทุ่งหว้า ไปตั้งที่กิ่งอำเภอละงู และตั้งเป็น อำเภอละงู และให้มีเขตการปกครอง 7 ตำบล คือ ตำบลแหลมแค ตำบลโตละเหนือ ตำบลโตละใต้ ตำบลปากบารา ตำบลปากละงู ตำบลกาแบง และตำบลโกตา ส่วนที่ว่าการกิ่งอำเภอละงู ไปตั้งที่ตำบลทุ่งหว้า และยุบอำเภอทุ่งหว้าลงเป็น กิ่งอำเภอทุ่งหว้า[3] ขึ้นการปกครองกับอำเภอละงู และให้มีเขตการปกครอง 3 ตำบล คือ ตำบลทุ่งหว้า ตำบลมะหงัง และตำบลเปรีย
  • วันที่ 10 กันยายน 2489 โอนพื้นที่หมู่ 2,5,6,7 (ในขณะนั้น) ของตำบลขอนคลาน ไปขึ้นกับตำบลกำแพง อำเภอละงู[4]
  • วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลทุ่งหว้า ในท้องที่บางส่วนของตำบลทุ่งหว้า[5]
  • วันที่ 4 กรกฎาคม 2515 ตั้งตำบลนาทอน แยกออกจากตำบลทุ่งหว้า[6]
  • วันที่ 13 ธันวาคม 2515 จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในพื้นที่กิ่งอำเภอควนกาหลง อำเภอเมืองสตูล และกิ่งอำเภอทุ่งหว้า อำเภอละงู[7]
  • วันที่ 28 มิถุนายน 2516 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอทุ่งหว้า อำเภอละงู เป็น อำเภอทุ่งหว้า[8]
  • วันที่ 7 เมษายน 2524 ตั้งตำบลทุ่งบุหลัง แยกออกจากตำบลขอนคลาน[9]
  • วันที่ 30 มีนาคม 2525 ตั้งตำบลป่าแก่บ่อหิน แยกออกจากตำบลทุ่งหว้า[10]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2525 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลทุ่งหว้า[11] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
  • วันที่ 24 ตุลาคม 2534 กำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอทุ่งหว้า โดยให้ตำบลทุ่งหว้า มีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน[12] และกำหนดเขตตำบลให้มีความถูกต้องแม่นยำ
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลทุ่งหว้า เป็นเทศบาลตำบลทุ่งหว้า[13] ด้วยผลของกฎหมาย

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอทุ่งหว้าแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 35 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[14]
1. ทุ่งหว้า Thung Wa
10
7,398
2. นาทอน Na Thon
9
7,442
3. ขอนคลาน Khon Khlan
4
2,860
4. ทุ่งบุหลัง Thung Bulang
5
2,386
5. ป่าแก่บ่อหิน Pa Kae Bo Hin
7
4,492

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอทุ่งหว้าประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลทุ่งหว้า ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลทุ่งหว้า
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งหว้า (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลทุ่งหว้า)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาทอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาทอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลขอนคลาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขอนคลานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบุหลัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งบุหลังทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแก่บ่อหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าแก่บ่อหินทั้งตำบล

แหล่งท่องเที่ยว

  • น้ำตกธารปลิว
  • ถ้ำเลสเตโกดอน[15]
  • พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า จ.สตูล[16]
  • จุดชมวิวบ้านท่าอ้อย
  • หาดทุ่งสะโบ๊ะ
  • สำนักสงฆ์เขาทะนาน

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศให้เมืองสตูลเป็นเมืองจัตวารวมอยู่ในมณฑลภูเก็ต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 26 (0 ง): 1005. 8 สิงหาคม 2452.
  2. 2.0 2.1 2.2 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 34 หน้า 65 วันที่ 29 เมษายน 2460
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายสับเปลี่ยนที่ว่าการอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ก): 193. 14 กันยายน 2473. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-09. สืบค้นเมื่อ 2020-07-18.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดสตูล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (59 ง): 137. 10 กันยายน 2489.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลทุ่งหว้า กิ่งอำเภอทุ่งหว้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (75 ง): (ฉบับพิเศษ) 102-104. 20 กันยายน 2499.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่กิ่งอำเภอทุ่งหว้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (102 ง): 1708–1710. 4 กรกฎาคม 2515.
  7. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๔๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (190 ก): (ฉบับพิเศษ) 255-256. 13 ธันวาคม 2515.
  8. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเขาพนม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแม่อาย อำเภอขามสะแกแสง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอหนองพอก อำเภอละอุ่น อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอศรีธาตุ พ.ศ. ๒๕๑๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (75 ก): (ฉบับพิเศษ) 32-36. 28 มิถุนายน 2516. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2019-09-05.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (52 ง): 1020–1021. 7 เมษายน 2524.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอทุ่งหว้า กิ่งอำเภอท่าแพ อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (45 ง): 1077–1081. 30 มีนาคม 2525.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 99 (71 ง): 1751–1754. 25 พฤษภาคม 2525.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (186 ง): 10645–10649. 24 ตุลาคม 2534.
  13. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-07-18.
  14. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
  15. "ท่องเที่ยวชุมชนตำบลทุ่งหว้า จ.สตูล".
  16. naritcha (2020-08-04). "ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า - ชมคลิป". เที่ยวทุ่งหว้า.ไทย.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!