อำเภอตะพานหิน |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Taphan Hin |
---|
|
คำขวัญ: อำเภอตะพานหิน ถิ่นชะอมไร้หนาม งามหลวงพ่อโต งานประเพณีกำฟ้า ทอผ้าป่าแดง |
แผนที่จังหวัดพิจิตร เน้นอำเภอตะพานหิน |
พิกัด: 16°12′54″N 100°25′18″E / 16.21500°N 100.42167°E / 16.21500; 100.42167 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | พิจิตร |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 468.930 ตร.กม. (181.055 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2564) |
---|
• ทั้งหมด | 65,187 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 139.01 คน/ตร.กม. (360.0 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 66110 |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 6604 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอตะพานหิน ถนนแดงทองดี ตำบลตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร 66110 |
---|
|
ตะพานหิน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิจิตร เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบางมูลนาก อำเภอโพทะเล และอำเภอเมืองพิจิตร ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองตำบลทับคล้อ ตำบลคลองคูณ ของอำเภอบางมูลนาก ตำบลวังสำโรง ของอำเภอโพทะเล และตำบลห้วยเกตุ ของอำเภอเมืองพิจิตร ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอตะพานหิน[1]
และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอตะพานหิน[2]
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอตะพานหินเป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
ประวัติ
ท้องที่อำเภอตะพานหิน เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบางมูลนาก อำเภอโพทะเล และอำเภอเมืองพิจิตร ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองตำบลทับคล้อ ตำบลคลองคูณ ของอำเภอบางมูลนาก ตำบลวังสำโรง ของอำเภอโพทะเล และตำบลห้วยเกตุ ของอำเภอเมืองพิจิตร ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอตะพานหิน[1] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2479 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม ปีเดียวกัน โดยให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองพิจิตร
และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอตะพานหิน[2] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2483 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน ปีเดียวกัน ประกอบไปด้วย 7 ตำบล (ในขณะนั้น) ได้แก่ ตำบลตะพานหิน ตำบลห้วยเกตุ ตำบลทับคล้อ ตำบลคลองคูณ ตำบลวังสำโรง ตำบลทุ่งโพธิ์ และตำบลท้ายทุ่ง
- วันที่ 24 มกราคม 2479 แยกพื้นที่ตำบลห้วยเกตุ ของอำเภอเมืองพิจิตร ตำบลทับคล้อ ตำบลคลองคูณ ของอำเภอบางมูลนาก และตำบลวังสำโรง ของอำเภอโพทะเล มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอตะพานหิน[1] ขึ้นกับอำเภอเมืองพิจิตร
- วันที่ 25 กรกฎาคม 2481 ตั้งตำบลตะพานหิน แยกออกจากตำบลห้วยเกตุ[3]
- วันที่ 25 มีนาคม 2482 เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอบางมูลนาก กับกิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอเมืองพิจิตร โดยโอนพื้นที่ตำบลทุ่งโพธิ์ และตำบลท้ายทุ่ง ของอำเภอบางมูลนาก มาขึ้นกับกิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอเมืองพิจิตร[4]
- วันที่ 16 เมษายน 2483 ยกฐานะกิ่งอำเภอตะพานหิน อำเภอเมืองพิจิตร เป็น อำเภอตะพานหิน[2] ประกอบไปด้วย 7 ตำบล (ในขณะนั้น) ได้แก่ ตำบลตะพานหิน ตำบลห้วยเกตุ ตำบลทับคล้อ ตำบลคลองคูณ ตำบลวังสำโรง ตำบลทุ่งโพธิ์ และตำบลท้ายทุ่ง
- วันที่ 26 ธันวาคม 2487 จัดตั้งเทศบาลตำบลตะพานหิน ในท้องที่ตำบลตะพานหิน[5]
- วันที่ 22 เมษายน 2484 ตั้งตำบลหนองพยอม แยกออกจากตำบลตะพานหิน[6]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลดงตะขบ แยกออกจากตำบลทุ่งโพธิ์ และตั้งตำบลวังสำโรง แยกออกจากตำบลคลองคูณ[7]
- วันที่ 16 มีนาคม 2491 ตั้งตำบลงิ้วราย แยกออกจากตำบลตะพานหิน และตำบลห้วยเกตุ[8]
- วันที่ 16 พฤศจิกายน 2491 ตั้งตำบลไทรโรงโขน แยกออกจากตำบลห้วยเกตุ[9]
- วันที่ 7 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลทับคล้อ ในท้องที่บางส่วนของตำบลทับคล้อ[10]
- วันที่ 23 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลเขาเจ็ดลูก แยกออกจากตำบลหนองพยอม ตั้งตำบลวังหว้า แยกออกจากตำบลคลองคูณ และตำบลห้วยเกตุ ตั้งตำบลเขาทราย แยกออกจากตำบลทับคล้อ และตำบลท้ายทุ่ง[11]
- วันที่ 26 สิงหาคม 2512 จัดตั้งสุขาภิบาลเขาทราย ในท้องที่บางส่วนของตำบลเขาทราย[12]
- วันที่ 4 ธันวาคม 2522 ตั้งตำบลวังหลุม แยกออกจากตำบลหนองพยอม[13]
- วันที่ 18 ธันวาคม 2524 ขยายเขตเทศบาลตำบลตะพานหิน[14] ตามความเจริญของชุมชน โดยครอบคลุมมาถึงบางส่วนของตำบลห้วยเกตุ บางส่วนของตำบลหนองพยอม และบางส่วนของตำบลงิ้วราย
- วันที่ 26 เมษายน 2526 แยกพื้นที่ตำบลทับคล้อ ตำบลเขาทราย ตำบลเขาเจ็ดลูก และตำบลท้ายทุ่ง อำเภอตะพานหิน ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอทับคล้อ ขึ้นกับอำเภอตะพานหิน[15]
- วันที่ 2 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลทับหมัน แยกออกจากตำบลวังสำโรง[16]
- วันที่ 12 สิงหาคม 2530 ยกฐานะกิ่งอำเภอทับคล้อ อำเภอตะพานหิน เป็น อำเภอทับคล้อ[17]
- วันที่ 24 กันยายน 2538 ยกฐานะเทศบาลตำบลตะพานหิน เป็น เทศบาลเมืองตะพานหิน[18]
- วันที่ 9 มกราคม 2539 ตั้งตำบลไผ่หลวง แยกออกจากตำบลไทรโรงโขน และตำบลห้วยเกตุ[19]
- วันที่ 18 กรกฎาคม 2551 ยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพยอม เป็น เทศบาลตำบลหนองพยอม
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอตะพานหินแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 13 ตำบล 97 หมู่บ้าน ได้แก่
1. |
ตะพานหิน |
|
(Taphan Hin) |
|
- |
|
|
|
8. |
คลองคูณ |
|
(Khlong Khun) |
|
7 หมู่บ้าน
|
2. |
งิ้วราย |
|
(Ngio Rai) |
|
8 หมู่บ้าน |
|
|
|
9. |
วังสำโรง |
|
(Wang Samrong) |
|
7 หมู่บ้าน
|
3. |
ห้วยเกตุ |
|
(Huai Ket) |
|
11 หมู่บ้าน |
|
|
|
10. |
วังหว้า |
|
(Wang Wa) |
|
8 หมู่บ้าน
|
4. |
ไทรโรงโขน |
|
(Sai Rong Khon) |
|
4 หมู่บ้าน |
|
|
|
11. |
วังหลุม |
|
(Wang Lum) |
|
10 หมู่บ้าน
|
5. |
หนองพยอม |
|
(Nong Phayom) |
|
11 หมู่บ้าน |
|
|
|
12. |
ทับหมัน |
|
(Thap Man) |
|
6 หมู่บ้าน
|
6. |
ทุ่งโพธิ์ |
|
(Tung Pho) |
|
7 หมู่บ้าน |
|
|
|
13. |
ไผ่หลวง |
|
(Phai Luang) |
|
7 หมู่บ้าน
|
7. |
ดงตะขบ |
|
(Dong Takhop) |
|
10 หมู่บ้าน |
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอตะพานหินประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองตะพานหิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะพานหินทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหนองพยอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองพยอมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลงิ้วรายและตำบลไทรโรงโขนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเกตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยเกตุทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งโพธิ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดงตะขบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงตะขบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองคูณ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองคูณทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังสำโรงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังหว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังหว้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังหลุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังหลุมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทับหมัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับหมันทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่หลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่หลวงทั้งตำบล
แหล่งท่องเที่ยว
- วัดเทวประสาท พระพุทธเกตุมงคล หรือหลวงพ่อใหญ่ วัดเทวประสาทเป็นพระพุทธรูป ปางประทานพร หน้าตักกว้าง 20 เมตร เฉพาะองค์พระสูง 30 เมตรแท่นสูง 4 เมตรรวมความสูงทั้งสิ้น 34 เมตรสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กเมื่อปีพ.ศ. 2513นับเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะสวยงามได้สัดส่วนและใหญ่ที่สุดของจังหวัดพิจิตร หากท่านเดินทางโดยรถไฟจะมองเห็นองค์พระเหลืองอร่ามแต่ไกล
- วัดพระพุทธบาทเขารวก ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ตำบลวังหลุม อำเภอตะพานหิน อยู่ห่างจากอำเภอตะพานหินไปประมาณ 10 กิโลเมตร ภายในวัดมีรอยประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งจำลองมาจากวัดพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรีมีพระอาจารย์โง่นไสรโย อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดังองค์หนึ่งจำพรรษาอยู่ ซึ่งท่านเป็นผู้สร้างพระพุทธวิโมกข์ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง29 นิ้ว มอบให้โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีกลองที่ทำด้วยไม้ประดู่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และรูปปั้นฤๅษีอายุ 1,000-1,500 ปีซึ่งเป็นหินศิลาแลงจากลุ่มแม่น้ำเขิน ภายในวัดยังมีสวนสัตว์ขนาดเล็กซึ่งมีสัตว์หลายชนิดไว้ให้ชมและศีกษาอีกด้วย
- บึงน้ำกลัด ตั้งอยู่ที่หมู่ 6 บ้านน้ำกลัดตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน อยู่ห่างจากอำเภอตะพานหินประมาณ15 กิโลเมตรโดยใช้เส้นทางสายตะพานหิน - วังสำโรง และเส้นทาง วังสำโรง – ไผ่ท่าโพ (ทางหลวงหมายเลข 1070) จากอำเภอตะพานหินถึงทางแยกเข้าบึงมีป้ายบอกหมู่บ้าน อพป.บึงน้ำกลัด เลี้ยวขวาประมาณ 400 เมตร เป็นถนนลาดยางจากนั้นเลี้ยวซ้ายประมาณ 300 เมตรสภาพทั่วไปเป็นบึงกว้าง พื้นที่ประมาณ 120 ไร่และในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนพฤศจิกายน - พฤษภาคม จะมีนกเป็ดน้ำ นกกระยางขาวและนกตับแคจำนวนมากบินอพยพหนีความหนาวจากไซบีเรีย ประเทศจีนมาอาศัยอยู่บริเวณบึงน้ำกลัดแห่งนี้โดยเฉพาะในเดือนธันวาคม จะเป็นเดือนที่มีนกชนิดต่าง ๆ อาศัยอยู่มากที่สุด
- กลุ่มผ้าทอด้วยมือบ้านป่าแดง กลุ่มผ้าทอด้วยมือบ้านป่าแดงมีการทอผ้าด้วยมือ ไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ชมและ เลือกซื้อเป็นผ้าจากผ้าย ผสมไหมที่มีสีสันต่าง ๆ มากมายทั้งยังมีราคาถูกกว่า ผ้าทอด้วยมือของจังหวัดอื่นมาก ด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้เองที่ทำให้ ผ้าทอด้วยมือ ของบ้านป่าแดง อำเภอตะพานหินเป็นที่นิยม อย่างแพร่หลายจนถึงประเทศในทวีปยุโรป บางประเทศ เช่น อิตาลีและฝรั่งเศส เป็นต้นผ้าทอมือนี้ สามารถหาซื้อได้จาก บ้านป่าแดง หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 6 ตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหินห่างจากอำเภอประมาณ 5 กิโลเมตร
- งานประเพณีกำฟ้า จัดขึ้นในวันขึ้น 2 - 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวไทยพวน จัดขึ้นที่วัดป่าแดงพยอม บ้านป่าแดง ตำบลหนองพยอม ประเพณีนี้จัดขึ้นเพื่อแสดงความเคารพบูชาเทวดาและพระมหากษัตริย์เมื่อถึงวันกำฟ้าชาวไทยพวนจะกลับมายังบ้านของตน เพื่อร่วมทำบุญกับญาติพี่น้อง พบปะสังสรรค์ และเล่นกีฬาพื้นบ้าน
อ้างอิง
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
|
---|
|