หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุล |
---|
หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ เมื่อ พ.ศ. 2492 |
สารนิเทศภูมิหลัง |
---|
เกิด | 14 มกราคม พ.ศ. 2452 หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุล |
---|
เสียชีวิต | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 (67 ปี) |
---|
คู่สมรส | ลดา ดิศกุล ณ อยุธยา |
---|
อาชีพ | ผู้กำกับภาพ ผู้กำกับภาพยนตร์ |
---|
ผลงานเด่น | ผู้กำกับ สุภาพบุรุษเสือไทย (2492) |
---|
พระสุรัสวดี | พ.ศ. 2500 - รางวัลพิเศษ ผู้นำการสร้างภาพยนตร์ (16 ม.ม.) |
---|
หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุล (14 มกราคม พ.ศ. 2452 [1] - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519) [2] หรือ ท่านชายขาว ช่างภาพ ผู้กำกับ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย
หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุล เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติแต่หม่อมแสง ดิศกุล ณ อยุธยา [3] เสกสมรสกับ หม่อมลดา ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม: อินทรกำแหง ณ ราชสีมา)
หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุล นายช่างถ่ายภาพยนตร์ และเป็นหัวหน้าแผนกโฆษณา กรมรถไฟ มีผลงานกำกับภาพยนตร์ของกรมรถไฟ ซึ่งเป็นภาพยนตร์ไทยสีธรรมชาติ คือเรื่อง "โตนงาช้าง" หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศฯอยู่ในวงการภาพยนตร์ไทยตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นผู้กำกับภาพ ภาพยนตร์ รวมไทย ภาพยนตร์ปลุกระดมการเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส ของกรมสาธารณสุขและกรมรถไฟ [4] กำกับภาพ ภาพยนตร์ กะเหรี่ยงไทรโยค (2478) ของขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต [2]
ท่านเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท ปรเมรุภาพยนตร์ [5] เพื่อสร้างภาพยนตร์ สุภาพบุรุษเสือไทย ซึ่งอำนวยการสร้างโดยแท้ ประกาศวุฒิสาร โดยท่านเป็นผู้กำกับ และประสบความสำเร็จสูงสุดในปี พ.ศ. 2492 ต่อมาบริษัทปรเมรุภาพยนตร์ ได้สร้างภาพยนตร์ มรดกพระจอมเกล้า โดยการสนับสนุนจากสำนักข่าวสารอเมริกัน เพื่อเทอดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว [6] หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศท่านเป็น 1 ใน 2 ช่างถ่ายภาพที่ได้บันทึกภาพในภาพยนตร์ส่วนพระองค์ชุด พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างวันที่ 4-8 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ร่วมกับนาย แก้วขวัญ วัชโรทัย
ท่านได้รับการเชิดชูเกียรติในฐานะเป็นผู้นำการสร้างภาพยนตร์ 16 ม.ม.ในพิธีประกาศผลรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2500 [4]
พงศาวลี
พงศาวลีของหม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุล
|
|
อ้างอิง