สโมสรวอลเลย์บอลบางกอกกล๊าส

บางกอกกล๊าส
ชื่อเต็มสโมสรวอลเลย์บอลบางกอกกล๊าส
ชื่อสั้นบีจี
ฉายากระต่ายแก้ว
ก่อตั้งพ.ศ. 2557
ยุบพ.ศ. 2561
สนามบีจี ฮอลล์ จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย
(ความจุ: 4,000 คน)
ประธานไทย ปวิณ ภิรมย์ภักดี
ผู้จัดการไทย กิตติศักดิ์ จิรภาสุขสกุล
ลีกวอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก
2017–18อันดับที่ 3
(ฤดูกาลสุดท้าย)
เว็บไซต์โฮมเพจสโมสร
เครื่องแบบ
ทีมเหย้า
ทีมเยือน
ทีมของบางกอกกล๊าส
ฟุตบอล (ชาย) ฟุตบอลบี (ชาย) วอลเลย์บอล (หญิง) (ยุบ)
ฟุตซอล (ชาย) อีสปอร์ต

สโมสรวอลเลย์บอลบางกอกกล๊าส เป็นสโมสรวอลเลย์บอลอาชีพหญิงในอดีตของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี โดยทีมนี้เคยเข้าแข่งขันในวอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก มีนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยร่วมทีมหลายคน ได้แก่ พรพรรณ เกิดปราชญ์ จรัสพร บรรดาศักดิ์ และปลื้มจิตร์ ถินขาว ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีม ปัจจุบันยุบทีมแล้ว

ประวัติสโมสร

สโมสรวอลเลย์บอล บางกอกกล๊าส ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท บีจีเอฟซี สปอร์ต จำกัด ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2557 ด้วยปณิธานของคณะผู้บริหารที่ต้องการส่งเสริมอาชีพในสายกีฬาในหลากหลายประเภทให้มีความเป็นมืออาชีพและร่วมพัฒนาวงการกีฬาของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนให้เป็นที่ยอมรับและสามารถเทียบชั้นในระดับสากล เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดนั้น สโมสรวอลเลย์บอลบางกอกกล๊าส จึงถูกวางรากฐานอย่างมั่นคง โดยการสร้างทีมอย่างมีกลยุทธ์ ด้วยการรวมทีมงานคุณภาพระดับมืออาชีพ ทั้งทีมบริหาร ทีมผู้ฝึกสอน และตัวผู้เล่น เพื่อความแข็งแกร่งเป็นหนึ่งเดียวพร้อมก้าวสู่ความสำเร็จสูงสุดร่วมกัน

โดยการแข่งขันรายการแรกที่สโมสรสโมสรวอลเลย์บอลบางกอกกล๊าส เข้าร่วมในปีแรก คือ วอลเลย์บอลดิวิชั่น 1 (โปรชาเลนจ์) ที่มีรอบการแข่งขันในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 ด้วยผลงานที่โดดเด่น ทีมบางกอกกล๊าสจึงสามารถทำผลงานยอดเยี่ยมได้แชมป์มาครอง และติดอันดับเลื่อนชั้นสู่การแข่งขันถ้วยสูงสุด วอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก 2014-2015 ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งและมั่นคงประจักษ์ต่อทุกสายตา และเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จที่จะมีมาอย่างต่อเนื่องของสโมสรวอลเลย์บอลบางกอกกล๊าส

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ทางสโมสรได้ประกาศยุติการทำทีมอย่างเป็นทางการ เนื่องจากทางสโมสรได้เล็งเห็นว่านโยบายการสนับสนุนให้เป็นกีฬาอาชีพที่แท้จริงยังไม่ชัดเจน ซึ่งไม่สอดคล้องกับการส่งเสริมการทำธุรกิจกีฬาวอลเลย์บอล[1] และได้โอนสิทธิ์การเข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีกในฤดูกาล 2018–19 ให้กับสโมสรวอลเลย์บอลหญิงแอร์ฟอร์ซ

รายชื่อผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ข้อมูลอัปเดต ณ มีนาคม พ.ศ. 2561

เกียรติประวัติและผลงาน

การแข่งขันระดับประเทศ

วอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก
วอลเลย์บอลไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก
  • ชนะเลิศ (2) : 2015, 2016
  • รองชนะเลิศ (1) : 2017, 2018
วอลเลย์บอลดิวิชัน 2 (โปรชาเลนจ์)
  • ชนะเลิศ (1) : 2014
วอลเลย์บอลอะคาเดมีลีก
  • อันดับที่ 3 (1) : 2016

การแข่งขันระดับนานาชาติ

วอลเลย์บอลชิงแชมป์สโมสรโลก
  • 2016 – อันดับที่ 7
วอลเลย์บอลชิงแชมป์สโมสรเอเชีย
  • 2015 ชนะเลิศ [2]
  • 2016 อันดับที่ 3 [3]

ผลการแข่งขันลีก

ลีก อันดับที่ จำนวนทีม แมตช์ ชนะ แพ้
ไทยแลนด์ลีก 2014–15 ชนะเลิศ 8 14 12 2
2015–16 ชนะเลิศ 8 14 14 0
2016–17 รองชนะเลิศ 8 14 12 2
2017–18 3 8 14 10 4

โค้ช

ผู้เล่นนำเข้า

ฤดูกาล หมายเลข ผู้เล่น ตำแหน่ง ประเทศ รายการที่ร่วมแข่งขัน
ไทยแลนด์ลีก ซูเปอร์ลีก ชิงแชมป์เอเชีย
เลก 1 เลก 2
2014–15 20 เหงียน ถิ หง็อก ฮวา ตัวบล็อกกลาง  เวียดนาม
21 อเล็กซานดรา เซอร์ซิซ ตัวตบตรงข้ามหัวเสา  เซอร์เบีย
6 นะโอะโกะ ฮะชิโมะโตะ ตัวเซต  ญี่ปุ่น
2015–16 20 เหงียน ถิ หง็อก ฮวา ตัวบล็อกกลาง  เวียดนาม
6 จัน ธิ ธาน ธุย ตัวตบตรงข้ามหัวเสา
4 จอร์แดน สก๊อตต์ ตัวตบตรงข้ามหัวเสา  สหรัฐอเมริกา
16 แอชลีย์ เฟรเซอร์ ตัวตบหัวเสา
2016–17 20 เหงียน ถิ หง็อก ฮวา ตัวบล็อกกลาง  เวียดนาม
16 แอชลีย์ เฟรเซอร์ ตัวตบหัวเสา  สหรัฐอเมริกา
2017–18 20 ซอนย่า มิคิสโควา ตัวตบตรงข้ามหัวเสา  เช็กเกีย
7 แอนนา มาเรีย สปาโน ตัวตบหัวเสา  กรีซ

อดีตผู้เล่น


อ้างอิง

  1. thairath. "แน่นอนแล้ว! บีจีวีซี ประกาศยุติการทำทีม". สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. thaipbs. ""บางกอกกล๊าส วีซี" คว้าแชมป์วอลเลย์บอลสโมสรหญิงชิงแชมป์เอเชีย". สืบค้นเมื่อ 4 January 2018.
  3. bugaboo.tv. "บางกอกกล๊าส วีซี ซิวอันดับ 3 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย". สืบค้นเมื่อ 4 January 2018.
  4. thairath. "สุดยิ่งใหญ่! 'บีจีวีซี' เปิดตัวสู้ศึกวอลเลย์บอลลีกฤดูกาล 2017-18". สืบค้นเมื่อ 4 January 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!