อาการสะบักลอย |
---|
|
อาการสะบักขวาลอย |
อาการสะบักลอย (อังกฤษ: winged scapula) หรือ สะคาปูลาอะลาทา (scapula alata) เป็นอาการทางการแพทย์ของกระดูกที่ซึ่งกระดูกหัวไหล่หลุดออกจากหลังของผู้ป่วยเมื่ออยู่ในการจัดวางตำแหน่งที่ผิดปกติ
อาการนี้ส่งผลต่อการทำงานที่ต้องใช้ไหล่และแขนของผู้ป่วย เช่น การยก การดัง และการผลักวัตถุที่มีน้ำหนักมาก ในกรณีที่ร้ายแรงมากนั้น อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการเปลี่ยนเครื่องแต่งกายและสระผม ชื่อของอาการในภาษาอังกฤษ “winged scapula” นั้นมีที่มาจากลักษณะของหลังที่นูนขึ้นมาที่คล้ายกับปีก อันเกิดจากขอบมีเดียลของกระดูกสะบักติดและพุ่งออกมาบริเวณหลัง อาการสะบักหลุดยังส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อไหล่-แขน อันทำให้การเฟล็กซ์ และ แอ็บดักชั่น ของท่อนบนร่างกายทำได้ลดลง เช่นเดียวกับเกิดความเจ็บปวดและไม่มีแรง[1]
ความรุนแรงและการแสดงออกของอาการชึ้นอยู่กับบุคคลและกล้ามเนื้อและ/หรือเส้นประสาทที่ได้รับผลกระทบ[2][3]
ในกรณีส่วนใหญ่ของผู้ป่วย มักเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อเซอร์ราตัสแอนทีเรีย ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่เกาะอยู่บริเวณขอบด้านมีเดียลของกระดูกสะบัก และโดยปกติมีหน้าที่ยึดกระดูกสะบักเข้ากับซี่โครง นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการยกแขนเหนือศีรษะเมื่อหดตัว[4] เส้นประสาทลองธอราซิกเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อเซอร์ราตัสแอนทีเรีย ดังนั้นการเสื่อมสลายหรือการรบกวนเส้นประสาทนี้จะส่งผลให้เกิดอัมพาตของกล้ามเนื้อนี้[5] และเมื่อเกิดขึ้น จะส่งผลให้กระดูกสบักหลุดออกจากโครงซี่โครง ส่งผลให้เกิดลักษณะอาการแสดงดังที่เผ็นอยู่ ลักษณะอาการแสดงออกนี้จะยิ่งชัดเจนขึ้นหากให้ผู้ป่วต้านทานแรงผลักต่อแขน
อ้างอิง
- ↑ Martin RM, Fish DE (March 2008). "Scapular winging: anatomical review, diagnosis, and treatments". Current Reviews in Musculoskeletal Medicine. 1 (1): 1–11. doi:10.1007/s12178-007-9000-5. PMC 2684151. PMID 19468892.
- ↑ Lee SG, Kim JH, Lee SY, Choi IS, Moon ES (June 2006). "Winged scapula caused by rhomboideus and trapezius muscles rupture associated with repetitive minor trauma: a case report". Journal of Korean Medical Science. 21 (3): 581–4. doi:10.3346/jkms.2006.21.3.581. PMC 2729973. PMID 16778411.
- ↑ Giannini S, Faldini C, Pagkrati S, Grandi G, Digennaro V, Luciani D, Merlini L (October 2007). "Fixation of winged scapula in facioscapulohumeral muscular dystrophy". Clinical Medicine & Research. 5 (3): 155–62. doi:10.3121/cmr.2007.736. PMC 2111408. PMID 18056023.
- ↑ "Serratus Anterior". ExRx.net.
- ↑ Nath RK, Lyons AB, Bietz G (March 2007). "Microneurolysis and decompression of long thoracic nerve injury are effective in reversing scapular winging: long-term results in 50 cases". BMC Musculoskeletal Disorders. 8: 25. doi:10.1186/1471-2474-8-25. PMC 1831472. PMID 17343759.
แหล่งข้อมูล