วูกอวาร์
Grad Vukovar |
---|
City of Vukovar |
วูกอวาร์ - จัตุรัสฟรานโย ทุจมานริมแม่น้ำวูกา |
ธง ตราอาร์ม |
ที่ตั้งของเมืองวูกอวาร์ในเทศมณฑลวูกอวาร์-เซอร์เมีย |
ประเทศ | โครเอเชีย |
---|
เทศมณฑล | วูกอวาร์-เซอร์เมีย |
---|
การปกครอง |
---|
• นายกเทศมนตรี | Ivan Penava |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 100.26 ตร.กม. (38.71 ตร.ไมล์) |
---|
ความสูง | 108 เมตร (354 ฟุต) |
---|
ประชากร (2011) |
---|
• ทั้งหมด | 27,683 คน |
---|
เขตเวลา | UTC+1 (CET) |
---|
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (CEST) |
---|
Postal code | 32000 |
---|
รหัสพื้นที่ | (+385) 32 |
---|
ป้ายทะเบียนรถยนต์ | VU |
---|
เว็บไซต์ | http://www.vukovar.hr/ |
---|
วูกอวาร์ (โครเอเชีย: Vukovar; เซอร์เบีย: Вуковар) เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของเทศมณฑลวูกอวาร์-เซอร์เมีย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำดานูบซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างภูมิภาคสลาโวเนียทางตะวันออกของโครเอเชียกับภูมิภาคย่อยบาชกาที่เป็นส่วนหนึ่งของวอยวอดีนาในเซอร์เบีย มีประชากรราว ๆ เกือบสามหมื่นคน
ในอดีตวูกอวาร์เคยเป็นเมืองท่าริมแม่น้ำดานูบที่มีความเจริญเฟื่องฟูในระดับหนึ่ง หากแต่ในช่วงสงครามประกาศอิสรภาพของโครเอเชียได้ทำให้ฝ่ายชาวเซิร์บติดอาวุธในสลาโวเนียซึ่งต่อต้านรัฐบาลของโครเอเชียร่วมมือกับกองทัพร่วมของยูโกสลาเวียบุกเข้ามาทำลายล้างเมืองอย่างราบคาบและได้กระทำอาชญากรรมสงครามด้วยการสังหารชาวเมืองเชื้อสายโครแอตเป็นจำนวนมากในระหว่างสงคราม[1] ทำให้วูกอวาร์ได้ชื่อว่าเป็นเมืองซึ่งได้รับความเสียหายมากที่สุดในสงครามการประกาศอิสรภาพของโครเอเชียและถือกันว่าเป็นเมืองที่ถูกทำลายเสียหายจากสงครามอย่างเลวร้ายที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สำหรับชาวโครเอเชียวูกอวาร์จึงมีฐานะเป็นนครวีรชนเทียบเท่าสตาลินกราดของสหภาพโซเวียต และทุก ๆ ปีในวันที่ 18 พฤศจิกายน จะมีการวางพวงหรีดรำลึกถึงการแตกพ่ายของวูกอวาร์ต่อฝ่ายชาวเซิร์บเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1991[2]
เนื่องจากบทบาทของวูกอวาร์ในสงครามประกาศอิสรภาพของโครเอเชีย ทำให้แม้ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีความตึงเครียดระหว่างชาวเมืองสองฝ่ายคือ ชาวโครแอตซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่กับชาวเซิร์บ[3]ซึ่งมีอยู่ในเมืองราว ๆ 30% ในช่วงตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 ซึ่งรัฐธรรมนูญของโครเอเชียประกาศให้เมืองใดก็ตามที่มีประชากรเป็นชนเชื้อสายอื่นนอกเหนือจากชาวโครแอตรวมกันได้ถึง 30% จะมีสิทธิ์ในการใช้ภาษาของชนกลุ่มนั้นเป็นหนึ่งในภาษาราชการของเมืองด้วย วูกอวาร์จึงได้กลับมาเป็นเมืองซึ่งจุดประเด็นร้อนแรงขึ้นมาในโครเอเชียอีกครั้งเมื่อเหล่าทหารผ่านศึกของโครเอเชียที่เคยรบในสงครามเมื่อทศวรรษที่ 90 ไม่ยอมรับให้มีการใช้ภาษาเซิร์บเป็นภาษาราชการของเมืองอีกภาษาหนึ่ง และได้คอยทำการทุบทำลายหรือถอดป้ายชื่อสถานที่ราชการต่างๆในเมืองที่มีการเขียนด้วยตัวอักษรซีริลลิกของภาษาเซิร์บควบคู่กับอักษรละตินของภาษาโครเอเชีย[4][5]
ประวัติศาสตร์
อ้างอิง