วัยหมดประจำเดือน

วัยหมดประจำเดือน
ชื่ออื่นวัยหมดระดู, วัยทอง
สาขาวิชานรีเวชวิทยา
อาการNo menstrual periods for a year[1]
การตั้งต้นอายุ 49-52 ปี[2]
สาเหตุUsually a natural change, surgery that removes both ovaries, some types of chemotherapy[3][4]
การรักษาNone, lifestyle changes[5]
ยาMenopausal hormone therapy, clonidine, gabapentin, selective serotonin reuptake inhibitors[5][6]

วัยหมดประจำเดือน คือช่วงเวลาที่ผู้ที่เคยมีประจำเดือนจะไม่มีรอบประจำเดือนและไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก[1][7] ส่วนใหญ่มักเริ่มต้นที่อายุ 49-52 ปี[2] บุคลากรทางการแพทย์มักนิยามวัยหมดประจำเดือนว่าเริ่มต้นเมื่อผู้ที่เคยมีประจำเดือนเริ่มไม่มีประจำเดือนต่อเนื่องกันมากกว่า 1 ปี[3] นอกจากนี้ยังอาจนิยามโดยพิจารณาจากปริมาณฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่ได้อีกด้วย[8] ในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเอามดลูกออกแต่ยังเก็บรังไข่ไว้ อาจนับวัยหมดประจำเดือนว่าเริ่มตั้งแต่วันผ่าตัดหรือนับตั้งแต่วันที่ระดับฮอร์โมนเริ่มลดลงก็ได้[8] ผู้ที่ผ่าตัดเอามดลูกออกแล้วมักเริ่มมีอาการของวัยหมดประจำเดือนเร็วกว่าปกติ คือเริ่มที่อายุประมาณ 45 ปี[9]

เมื่อใกล้ถึงวัยหมดประจำเดือน รอบประจำเดือนมักเริ่มมาไม่สม่ำเสมอ[10][11] โดยแต่ละรอบอาจจะกินเวลานานกว่าหรือสั้นกว่าปกติ และอาจมีเลือดออกมากกว่าหรือน้อยกว่าปกติ[10] ในช่วงนี้มักมีอาการร้อนวูบวาบ กินเวลาตั้งแต่ 30 วินาทีไปจนถึงประมาณ 10 นาที อาจมีอาการเหงื่อออก ตัวสั่น ผิวแดง ร่วมด้วย[10] อาการเหล่านี้มักเป็นอยู่ประมาณ 1-2 ปี[7] อาการอื่นที่อาจพบร่วมด้วยได้แก่ ช่องคลอดแห้ง นอนหลับยาก และอารมณ์แปรปรวน[10] โดยมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละคน[7] ก่อนหน้านี้เคยเชื่อกันว่าการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของการเกิดโรคหัวใจ แต่ต่อมาพบว่าน่าจะเป็นความสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน[7] ในคนที่มีปัญหาสุขภาพบางชนิด เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือปวดประจำเดือน อาการเหล่านี้อาจดีขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน[7]

โดยทั่วไปแล้วการเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนมักเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ[4] บางรายอาจเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเร็วกว่าปกติจากการสูบบุหรี่[3][12] สาเหตุอื่นๆ เช่น การผ่าตัดเอารังไข่ออกทั้งสองข้าง และการใช้ยาเคมีบำบัด[3] ในระดับสรีรวิทยาแล้วการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนจะเริ่มต้นเมื่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่ผลิตจากรังไข่เริ่มลดลง[1] แพทย์สามารถตรวจวัดระดับฮอร์โมนเหล่านี้ได้จากเลือดหรือจากปัสสาวะ แต่ขั้นตอนนี้ไม่ใช่ขั้นตอนจำเป็นในการวินิจฉัยภาวะหมดประจำเดือน[13]

โดยทั่วไปแล้วไม่จำเป็นต้องมีการรักษาสำหรับการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน[5] อย่างไรก็ดีอาการบางอย่างของภาวะนี้สามารถรักษาได้[5] เช่น อาการร้อนวูบวาบดีขึ้นได้ด้วยการงดสูบบุหรี่ งดกาแฟ และแอลกอฮอล์ เป็นต้น[5] การนอนในห้องนอนที่มีอากาศเย็นและการใช้พัดลมก็ช่วยได้เช่นกัน[5] ยาที่มีที่ใช้ในการรักษาอาการของวัยหมดประจำเดือนมีหลายชนิด เช่น ฮอร์โมนทดแทนสำหรับวัยหมดประจำเดือน โคลนิดีน กาบาเพนติน และ เอสเอสอาร์ไอ เป็นต้น[5][6] การออกกำลังกายช่วยแก้ไขปัญหาการนอนหลับได้[5] ก่อนหน้านี้มีการใช้ฮอร์โมนทดแทนกันอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันแนะนำให้ใช้เฉพาะในรายที่มีอาการมาก เนื่องจากมีข้อกังวลเรื่องผลข้างเคียง[5] การรักษาทางเลือกเพื่อบรรเทาอาการจากวัยหมดประจำเดือนยังไม่มีหลักฐานคุณภาพสูงเพียงพอที่จะแนะนำให้ใช้โดยทั่วไป[7] แต่มีหลักฐานบางส่วนบ่งชี้ว่าอาจใช้ไฟโตเอสโตรเจนช่วยได้[14]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 "Menopause: Overview". Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. 28 มิถุนายน 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2015.
  2. 2.0 2.1 Takahashi TA, Johnson KM (May 2015). "Menopause". The Medical Clinics of North America. 99 (3): 521–34. doi:10.1016/j.mcna.2015.01.006. PMID 25841598.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "What is menopause?". Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. 28 มิถุนายน 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2015.
  4. 4.0 4.1 "What causes menopause?". Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. 6 พฤษภาคม 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2015.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 5.8 "What are the treatments for other symptoms of menopause?". Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. 28 มิถุนายน 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2015.
  6. 6.0 6.1 Krause MS, Nakajima ST (March 2015). "Hormonal and nonhormonal treatment of vasomotor symptoms". Obstetrics and Gynecology Clinics of North America. 42 (1): 163–79. doi:10.1016/j.ogc.2014.09.008. PMID 25681847.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 "Menopause: Overview". PubMedHealth. 29 สิงหาคม 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2015.
  8. 8.0 8.1 Sievert, Lynnette Leidy (2006). Menopause : a biocultural perspective ([Online-Ausg.] ed.). New Brunswick, N.J.: Rutgers University Press. p. 81. ISBN 9780813538563. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017.
  9. International position paper on women's health and menopause : a comprehensive approach. DIANE Publishing. 2002. p. 36. ISBN 9781428905214. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กันยายน 2017.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 "What are the symptoms of menopause?". Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. 6 พฤษภาคม 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 มีนาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2015.
  11. "What Is Menopause?". National Institute on Aging. สืบค้นเมื่อ 2018-10-06.
  12. Warren, volume editors, Claudio N. Soares, Michelle (2009). The menopausal transition : interface between gynecology and psychiatry ([Online-Ausg.] ed.). Basel: Karger. p. 73. ISBN 978-3805591010. {{cite book}}: |first1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  13. "How do health care providers diagnose menopause?". Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. 6 พฤษภาคม 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2015.
  14. Franco OH, Chowdhury R, Troup J, Voortman T, Kunutsor S, Kavousi M, Oliver-Williams C, Muka T (June 2016). "Use of Plant-Based Therapies and Menopausal Symptoms: A Systematic Review and Meta-analysis". JAMA. 315 (23): 2554–63. doi:10.1001/jama.2016.8012. PMID 27327802.

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

แม่แบบ:Reproductive physiology

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!