วัดใหญ่ท่าเสา |
---|
|
|
ชื่อสามัญ | วัดใหญ่ท่าเสา |
---|
ที่ตั้ง | ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000 |
---|
ประเภท | วัดราษฎร์ |
---|
นิกาย | เถรวาท (มหานิกาย) |
---|
เจ้าอาวาส | พระครูอุปถัมภูริทัต (พระไทย สปญฺโญ) |
---|
กิจกรรม | 433 ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000 |
---|
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดใหญ่ท่าเสา ตั้งอยู่ที่ถนนสำราญรื่น ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย[1] มีโบราณสถานและปูชนียวัตถุมากมาย ปัจจุบันวัดใหญ่ท่าเสาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 114 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2540 มีพื้นที่ได้รับประกาศเป็นโบราณสถานประมาณ 2 ไร่ 3 งาน 51 ตารางวา[2]
ประวัติ
อาณาเขตที่ตั้งวัด
- ที่ดินอันเป็นที่ตั้งวัด 1 แปลง มีเนี้อที่ 32 ไร่ 2 งาน 55 ตารางวา
- ที่ดินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ ตั้งอยู่หน้าวัดติดถนนสำราญรื่นจนถึงลำน้ำน่าน มีเนื้อที่ 11ไร่ 2 งาน 56 ตารางวา
อาณาเขตโบราณสถาน
วัดใหญ่ท่าเสาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 114 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2540 มีพื้นที่ได้รับประกาศเป็นโบราณสถานประมาณ 2 ไร่ 3 งาน 51 ตารางวา ครอบคลุมเขตพุทธาวาสที่เป็นที่ตั้งอุโบสถ หอไตรและศาลาการเปรียญทั้งหมด
ศาสนสถาน-โบราณสถาน
ศาสนสถาน
- วิหารหลวงพ่อเย็ก
- อาคารปฏิบัติธรรม
- กุฏิ
โบราณสถาน
- หอไตร
- อุโบสถ
- ศาลาการเปรียญ
ปูชนียวัตถุ-โบราณวัตถุ
ปูชนียวัตถุ
โบราณวัตถุ
- ยานมาศ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จัดแสดงอยู่ที่ศาลาการเปรียญ ยานมาศนี้เชื่อกันว่าเป็นยานมาศที่พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาอุทิศถวายบูชาพระมหาธาตุเมืองฝาง และอาจใช้เป็นยานมาศประจำตัวพระสังฆราชาเมืองสวางคบุรี (เมืองฝาง) เพราะที่มาของยานมาศนี้สันนิษฐานว่า นำมาจากวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถในราวสมัยรัชกาลที่ 4 โดยหลวงพ่อเย็ก อดีตเจ้าอาวาสวัดใหญ่ท่าเสาซึ่งได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสวางคบุรี
ในปี พ.ศ. 2444 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงตรวจพบว่าวัดท่าเสามียานมาศลักษณะเดียวกัน 2 หลัง[3] ปัจจุบันเหลือเพียงหลังเดียว โดยหลังที่จัดแสดงอยู่ในปัจจุบันได้ย้ายกลับมาจากศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ในปี พ.ศ. 2551
ข้อมูลจำเพาะ
- ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2423
อ้างอิง